อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจถึงแก่ชีวิต

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เบรคธรู พีอาร์ แพทย์เตือนคนไทยเอาใจใส่หัวใจให้มากขึ้น ชี้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แนะให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขแต่เนิ่นๆ เผยวิทยาการสมัยใหม่รักษาให้หายขาดโดยใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง โรงพยาบาลในเมืองไทยก็รักษาได้ รศ. นายแพทย์เกียรติชัย ภูริปัญโญ แพทย์ที่ปรึกษา และรองผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจหรือไม่" ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะหรือโรคที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ อาจช้าหรือเร็วกว่าคนปกติซึ่งมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที มีจังหวะสม่ำเสมอ และมักไม่รู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ ยกเว้นเวลานอนตะแคง บางครั้งอาจรู้สึกว่าหัวใจเต้นตุบๆ ในคนที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ น้อยรายที่รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นสะดุด หรือวูบหายไป อาจรู้สึกใจสั่น หรือมีอะไรมาตอดที่บริเวณหัวใจ หรือหัวใจเต้นแรงกว่าปกติ บางครั้งเต้นเร็ว จนทำให้มีการสั่นบริเวณหน้าอก ถ้าหัวใจเต้นเร็วหรือช้ามากๆ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน รศ. นายแพทย์เกียรติชัยกล่าวว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ, หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และหัวใจเต้นช้า-เร็วผิดจังหวะ สาเหตุเกิดจากมีจุดหรือบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ในกรณีมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ หรือมีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง หรือเหนื่อยมาก ขณะที่มีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ Electrocardiogram ซึ่งจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจอาจไม่พบความผิดปกติทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้แพทย์อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter Monitoring ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าในเครื่องเล่นเทปหรือแผ่นดิสก์ ขนาดเล็กเท่ากับหรือเล็กกว่าเครื่องเล่นเทปหรือ CD แบบพกพา ผู้ป่วยสามารถพกพาเครื่องดังกล่าว ในการดำเนินชีวิตตามปกติ เครื่องจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อนำไปวิเคราะห์จะสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แน่นอนขึ้น "ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหลายๆ วันเป็นครั้ง การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบพกพาติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง อาจไม่พบความผิดปกติ เนื่องจากใน 24 ชั่วโมงที่ตรวจนั้นหัวใจเต้นปกติ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจที่เรียกว่า Transtelephonic Monitoring โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา ให้ผู้ป่วยวางไว้บริเวณหน้าอกและกดปุ่มเพื่อให้เครื่องบันทึกเฉพาะเมื่อมีอาการ เครื่องมือ ดังกล่าวจะสามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 4-5 นาทีติดต่อกันและสามารถส่งผลผ่านโทรศัพท์ไปเพื่อบันทึกเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ จึงเรียกว่า Transtelephonic" รศ. นายแพทย์เกียรติชัย กล่าว สำหรับการรักษา หากผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความเครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น และถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณีหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะเกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้า ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 95 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงผ่านสายสวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวใช้วิธีการเจาะหลอดเลือดบริเวณต้นขา สอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตำแหน่งได้แล้วก็ผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุผ่านสายสวนหัวใจไปยังตำแหน่งดังกล่าว กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ นั้นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อนและทำให้อุณภูมิที่ปลายสายสวนหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 37 เป็น 55 (เท่ากับน้ำอุ่นๆ) ทำให้ทางลัดวงจรไฟฟ้าดังกล่าวถูกทำลายไป ปัจจุบัน การรักษาวิธีนี้สามารถทำได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในประเทศไทย ผู้ป่วยร้อยละ 90-95 สามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องรับประทานยาอีกเลย และมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาต่ำเพียงร้อยละ 1-2 ในขณะรักษาผู้ป่วยมักไม่เจ็บปวด เนื่องจากให้ยานอนหลับ โดยพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น เสนอข่าวในนามโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเบรคธรู พีอาร์ รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ คุณศิริพร ศรีสันต์ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 310-3000 ต่อ 1196 คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง เบรคธรู พีอาร์ โทร. 719-6446-8--จบ-- -อน-

ข่าวเกียรติชัย ภูริปัญโญ+หัวใจเต้นผิดจังหวะวันนี้

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจถึงแก่ชีวิต

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เบรคธรู พีอาร์ แพทย์เตือนคนไทยเอาใจใส่หัวใจให้มากขึ้น ชี้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แนะให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขแต่เนิ่นๆ เผยวิทยาการสมัยใหม่รักษาให้หายขาดโดยใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง โรงพยาบาลในเมืองไทยก็รักษาได้ รศ. นายแพทย์เกียรติชัย ภูริปัญโญ แพทย์ที่ปรึกษา และรองผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจหรือไม่" ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ว่าหัวใจ

ภาพข่าว: “เวชธานี เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน” ครั้งที่ 4

โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111 ส่งเสริมคนไทยวิ่งออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ-สมอง จัดกิจกรรม “เวชธานี เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน” ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2553 ตั้งแต่เวลา 06.00-19.00 น. พร้อมจัดแถลงข่าว โดยมี ศ.คลินิก นพ.เอาชัย...

ภาพข่าว: “เผยกุญแจช่วยชีวิต ผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ-สมอง”

โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111 จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “เผยกุญแจช่วยชีวิต ผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ-สมอง” โดยมี ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ นพ.ยรรยง ทองเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาท และ นพ.วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์ แพทย์หัวหน้า...

ซุบซิบ: นายแพทย์เกียรติชัย ภูริปัญโญ อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

แม้จะเหนื่อย เพราะคนไข้เยอะมากแค่ไหน คุณหมอคนเก่งอย่าง นายแพทย์เกียรติชัย ภูริปัญโญ อายุรแพทย์หัวใจ ยังสละเวลามาตรวจคนไข้โรคหัวใจที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพเช่นเคย คนไข้ที่คิดถึงฝีมือและความอารมณ์ดี ใส่ใจคนไข้ของคุณหมอ...

“รักหัวใจ...ดูแลหัวใจให้แข็งแรง” ครั้งที่ 2

โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111 ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหาร ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “รักหัวใจ...ดูแลหัวใจให้แข็งแรง” ครั้งที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 08.30-13.30 น. โดยได้รับเกียรติบรรยายให้ความรู้โดย ศ.นพ.เกียรติชัย...

ศุภาลัย จับมือ รพ.กรุงเทพ จัดสัมมนา “สมาร์ท สดใส หัวใจแข็งแรง”

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดสัมมนาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ในหัวข้อ “สมาร์ท สดใส หัวใจแข็งแรง” วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2552 เวลา 9.00-12.00 น. ณ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 โดยได้รับ...

ศุภาลัย จับมือ รพ.กรุงเทพ สัมมนา “สมาร์ท สดใส หัวใจแข็งแรง”

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดสัมมนาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ในหัวข้อ “สมาร์ท สดใส หัวใจแข็งแรง” วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2552 เวลา 9.00-12.00 น. ณ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์...

ภาพข่าว: เวชธานีเปิดศูนย์หัวใจ-ศูนย์สมองและระบบประสาทครบวงจร

ฯพณฯพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี (ยืนกลาง)ให้เกียรติเป็นประธานเปิดศูนย์หัวใจ-ศูนย์สมองและระบบประสาทครบวงจรโรงพยาบาลเวชธานี โดยมีชาคริต ศึกษากิจ กรรมการผู้จัดการ (ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วยศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ...

ศูนย์หัวใจกรุงเทพและศูนย์สมองกรุงเทพขอเชิญค้นหาสาเหตุของอาการ และการรักษาในการบรรยายเรื่อง "วูบ สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม"

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--รพ.กรุงเทพฯ หากคุณหรือคนใกล้ชิดเกิดอาการ "วูบ" โดยไม่ทราบสาเหตุบางครั้งมีอาการร่วมกับการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม หมดสติ แขนขาอ่อนแรงชั่วขณะอย่ารอช้า...อาจ...

โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดบรรยายเรื่อง "วูบ"สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม”

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--เบรคธรู พีอาร์ ทุกคนอาจเกิดอาการ “วูบ” ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งอาจวูบร่วมกับการวิงเวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ แขนขาอ่อนแรงชั่วขณะอาการเช่นนี้ไม่ควรรอช้า อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของหัวใจหรือสมองซึ่งอาจนำไปสู่การ...