อย. เผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากแป๊ะก๊วย

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--อย. อย. เผย ผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วยปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเพียงพที่จะยืนยันว่ารักษาโรคสมองเสื่อมได้ เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเข้าใจผิด หากร่างกายได้รับในปริมาณมาก อาจมีผลทำให้เลือดแข็งตัวยาก เพราะสารในใบแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกันของเกร็ดเลือด ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสรรพคุณองใบแป๊ะก๊วย (Girkgo biloba Extract) ว่าสามารถรักษาโรคสมองเสื่อมได้ ทำให้ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวซื้อหามาทานเพื่อรักษาโรค นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วย ในปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเพียงพอที่จะยืนยันแน่ชัดสามารถรักษาโรคสมองเสื่อมได้ และหากรับประทานผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วยในปริมาณมากๆ อาจมีผลทำให้เลือดแข็งตัวยาก เวลาเกิดบาดแผล เนื่องจากสารในใบแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกันของเกร็ดเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anti-coagulants) และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วย ได้แก่ ปวดศรีษะ วิงเวียน มึนงง อาการปั่นป่วนในทางเดินอาหาร อาการแพ้ทางผิวหนัง มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ง่วงซึม มีความผิดปกติของระบบประสาทและการนอนหลับผิดปกติ ผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วย มีทั้งที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ และเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งต้องขออนุญาตใช้ฉลาก กรณีที่เป็นยาแผนปัจจุบันซึ่งมีข้อบ่งใช้ในโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และการไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จัดเป็นยาอันตราย ซึ่งต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และไม่ให้มีการโฆษณาสรรพคุณยาต่อสาธารณะ หากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะไม่มีการระบุสรรพคุณใดๆในการรักษาหรือป้องกันโรค การโฆษณาต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน หากโฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หากนำไปขายตรง โดยโฆษณาสรรพคุณอันเป็นเท็จ ต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจเกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อสมอง เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง เช่น ไวรัส เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี1 หรือวิตามันบี12 เกิดจากการแปรปรวนของเมตาโบลิกของร่างกาย เกิดจาดการถูกกระทบกระแทกที่ศรีษะอยู่เสมอ และอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ ทั้งนี้ยังไม่พบว่ามีอาหารประเภทใดสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ ทางที่ดีที่สุด ขอให้ผู้บริโภครับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันได้ทางหนึ่ง ในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยผสมอยู่ ผู้บริโภคควรระมัดระวังการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และก่อนจะเลือกผลิตภัณฑ์ใดๆ มาบริโภค ควรใช้วิจารณญาณถึงผลดีผลเสียที่จะได้รับ หรือปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย--จบ-- -อน-

ข่าวอังกาบ เวสโกสิทธิ์+โรคสมองเสื่อมวันนี้

อย. เผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากแป๊ะก๊วย

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--อย. อย. เผย ผลิตภัณฑ์จากใบแป๊ะก๊วยปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเพียงพที่จะยืนยันว่ารักษาโรคสมองเสื่อมได้ เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเข้าใจผิด หากร่างกายได้รับในปริมาณมาก อาจมีผลทำให้เลือดแข็งตัวยาก เพราะสารในใบแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกันของเกร็ดเลือด ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสรรพคุณองใบแป๊ะก๊วย (Girkgo biloba Extract) ว่าสามารถรักษาโรคสมองเสื่อมได้ ทำให้ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวซื้อหามาทานเพื่อรักษา

อย. เตือนระวัง...อันตราย เด็กกินยาสีฟัน คิดว่าอร่อย..

กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--อย. อย. เตือนผู้ปกครอง ให้ดูแลขณะแปรงฟัน และใช้ยาสีฟัน อย่างถูกต้อง อย่าให้เด็กเผลอกินกลืนกินยาสีฟันเข้ไปเด็ดขาด เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ควรให้คำแนะนำเด็กอย่าหลงเชื่อโฆษณาที่สื่อให้เด็กอยากลิ้มลอง ...

อย.ปลุกจริยธรรม เปิดเวทีสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา"

กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--อย. อย.เปิดเวทีสัมมนาผู้เกี่ยวข้องกับการโฆษณา ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้โฆษณา และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และร่วมถกจรรยาบรรณการโฆษณา หวังสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายเพื่อลดปัญหาการกระทำผิด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544...

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือน "อย่างหลงเชื่อโฆษณาเครื่องสำอาง อ้าง อย.รับรอง"

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--อย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการกล่าวอ้าง ของผู้ผลิตเครื่องสำอางบางแห่งที่โฆษณาว่า ได้รับอนุญาตจาก อย. ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด แพทย์หญิงอังกาบ เวสโกสิทธิ์ รอง...

อย.เชิญชวนฟังสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา"

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--อย. อย.จัดสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา" เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจกฎระเบียบการโฆษณายาและหาแนวทางการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เชิญชวนผู้สนใจเข้ารับฟังได้ฟรีในวันที่ 22 ส.ค. 44 ห้องประชุมชั้น...

อย.จัดสัมมนา “ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา”

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--อย. เภสัชกรหญิงอังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับโฆษณามากขึ้น เพื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเองไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งในบางครั้งทำให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการบริ...

ระวังถูกหลอกจากการซื้อยาที่ขายไม่เป็นหลักแหล่ง

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--อย. อย.เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อพ่อค้าหัวใสที่เร่แจกยาฟรีตามตลาดนัดหรือตามแผงลอย โดยมีข้อแลกเปลี่ยนต้องซื้อผลิตภัณฑ์ยาอื่นด้วย เพราะเป็นการขายยาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจได้ยาปลอมเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะเป็นการขายยาที่...

อย. เตือนระวัง...ใช้วัตถุอันตรายไม่อ่านฉลาก อาจตายได้

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--อย. เตือนผู้บริโภค ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ควรอ่านฉลากให้ละเอียด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ฉลากแสดงข้อความครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพของผู้ใช้และบุคคลข้างเคียง ภญ...

อย. เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องสำอาง อ้าง อย.รับรอง

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--อย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือน ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการกล่าวอ้างของผู้ผลิตเครื่องสำอางบางแห่งที่โฆษณาว่า ได้รับอนุญาตจาก อย. และรับรองว่าตรวจสอบแล้วปลอดภัย ใช้ได้ผล เพราะเป็นการแอบอ้างชื่อ อย.ทำให้ผู้บริโภคเข้า...

ระวัง...ยาลูกกลอนอันตราย

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--อย. อย. เตือนประชาชน อย่าซื้อยาลูกกลอนไม่มีทะเบียนยามาใช้เอง รวมถึงอย่าหลงเชื่อคำบอกเล่าปากต่อปากว่ารักษาได้สารพัดโรค อาจได้รับอันตรายได้แนะถ้าเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์ หรือซื้อยาจากเภสัชกร ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า...