สพช.เชิญคนไทยร่วมใจประหยัดพลังงาน

กรุงเทพ--7 พ.ค.--สพช. ขอเชิญชวน ประชาชนคนไทยทุกท่าน แสดงพลังของคนไทย ร่วมใจประหยัดพลังงานในวันนี้ (7 พฤษภาคม 2541) เวลา 3 ทุ่ม ดับไฟบ้านละ 1 ดวง แล้วดูผลทางทีวีทุกช่องว่า 1 ดวง ของท่านช่วยชาติประหยัดได้อย่างไร จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ด้วยความร่วมมือของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ กรมตำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันจุดประกายปีรณรงค์อนุรักษ์พลังงาน (7 พฤษภาคม 2541) ทำไมต้องเป็นวันที่ 7 ในปีที่ผ่านมา วันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เป็นวันที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 14,506.30 เมกะวัตต์ ขณะที่ กฟผ. มีกำลังผลิตติดตั้ง 16,269.60 เมกะวัตต์ (ณ วันที่ 31 พ.ค. 2540) การเลือกจุดประกายในวันที่ 7 พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันก่อนวันที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เพื่อที่จะลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด การใช้ไฟฟ้าสูงสุดและการลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด บ่งบอกอะไร การใช้ไฟฟ้าสูงสุด มีความสัมพันธ์กับกำลังการผลิตติดตั้ง เพราะโดยปกติแล้วประเทศสมควรมีกำลังผลิตสำรอง 25% แต่ปัจจุบันเรามีกำลังการผลิตสำรองเพียงประมาณ 10% เท่านั้น การลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้ประเทศมีกำลังการผลิตสำรองมากขึ้น การใช้ไฟฟ้าที่สูงทำให้ต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ซึ่งทุกๆ 1 เมกะวัตต์ จะต้องใช้เงินลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ประเทศมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าต้องมีการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มถึงปีละไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท การลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้ประเทศลดความจำเป็นในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า และลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงพลังงานด้วย การใช้ไฟฟ้าในส่วนที่เกินปกติ ในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละวัน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการผลิตไฟฟ้าเสริมความต้องการ ทำให้ราคาต้นทุนไฟฟ้าช่วงดังกล่าวสูงกว่าปกติ เพราะต้องใช้โรงไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส หรือโรงไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า คิดเป็นค่าผลิตไฟฟ้าหน่วยละ 3.20 บาท (น้ำมันดีเซล 1 ลิตร ผลิตไฟฟ้าได้ 3 หน่วย : น้ำมันดีเซลลิตรละ 9.60 บาท) การลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำลง และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำไมต้องปิดไฟบ้านละ 1 ดวง การปิดไฟที่ไม่จำเป็นต้องใช้บ้านละ 1 ดวง อย่างพร้อมเพียงกัน จะเป็นการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างเห็นได้ชัดเจน จากจำนวนครัวเรือนในประเทศไทย 12 ล้านครัวเรือน หากปิดหลอดไฟแสงสว่างที่ใช้ไฟฟ้า 60 วัตต์ พร้อมกัน จะลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 720 ล้านวัตต์ หรือ 720 เมกะวัตต์ ซึ่งเท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนศรีนครินทร์รวมทั้งหมด หาก 12 ล้านครัวเรือน ปิดหลอดไฟขนาด 60 วัตต์ ที่ไม่ได้ใช้ให้ได้ 1 วัน จะสามารถประหยัดไฟได้ 17 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 37.4 ล้านบาท หรือ 13,651 ล้านบาทต่อปี พร้อมใจกันปิดไฟบ้านละ 1 ดวง ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 เวลา 21.00 น. อะไรจะเกิดขึ้นปิดไฟ 1 ดวง 60 วัตต์ 12 ล้านครัวเรือน จะลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ 720 เมกะวัตต์ หรือ ประมาณ 5% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ในการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ท่านจะเห็นการแสดงผลตัวเลขจากหน้าปัดมิเตอร์ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ว่าจากการร่วมใจกันปิดไฟที่ไม่จำเป็นจะลดการใช้ไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน การปิดไฟที่ไม่จำเป็นพร้อมกัน จะพิสูจน์ให้เห็นว่า พลังของคนไทยที่พร้อมจะร่วมกันช่วยชาติประหยัดนั้น สามารถทำได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เมื่อเห็นผลของการประหยัดไฟฟ้าจากการปิดไฟที่ไม่จำเป็นแล้ว หากเรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันในการประหยัดไฟโดยวิธีอื่นๆ อีก ก็จะสามารถช่วยชาติได้มาก 7 พฤษภาคม 2541 เวลา 21.00 น. ร่วมแสดงพลังของคนไทย ร่วมปิดไฟที่ไม่จำเป็น สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : เกษลักษณ์/สุวินี ศูนย์ประชาสัมพันธ์ "รวมพลังหาร 2" สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) 394/14 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 280 0951-57, 628 7745-53 ต่อ 142 โทรสาร 280 5821 website : www.nepo.go.th,www.kithandkin.com-- จบ--

ข่าวกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ+รณรงค์อนุรักษ์พลังงานวันนี้

บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...

กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีวาระรับทราบในหลักการการบริหารจัดการ...

กกพ. ย้ำหลักการตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างค่าฟ้าฟ้าใหม่ ปี 61

"กกพ."ย้ำชัด "ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่" รอบล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา เพื่อดูผลกระทบให้รอบด้านอย่างสมดุล พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า...