วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำนิสิตเก่าวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจไทย ยุค IMF

กรุงเทพ--10 ก.พ.--ล็อกซเล่ย์ นายธงชัย ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการจัดการอภิปราย เรื่อง "นักวิทยาศาสตร์ กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยุค IMF" ว่า ในฐานะของนิสิตเก่า และด้วยบทบาทของนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ที่ทำงานช่วยเหลือสังคม ทั้งรับราชการ และเอกชน ได้ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมากมาย และในสภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศประสบกับปัญหา คณะวิทย์ฯ และนิสิตเก่าจึงเห็นว่า น่าจะมีการระดมสมองคุยกันเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กันบ้าง"โดยปกติเราจะได้ยินแต่นักการตลาด นักเศรษฐศาสตร์ มาพูดคุยกันถึงเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่การอภิปรายวันนี้เราจะได้มุมมองที่ต่างกันออกไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ผมคิดว่าท่านผู้อภิปรายแต่ละท่านสามารถพูด และวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน และมีเหตุผล อีกทั้งเศรษฐกิจไทยในยุด IMF นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน และช่วยเหลือกัน" นายธงชัย กล่าว นายณรงค์ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหารกลุ่มแพน ในเครือบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจภาคเกษรตรกรรมมองดูเหมือนกับว่ายังแข็งแกร่งต่อเศรษฐกิจในยุคนี้ เพราะ ข้าวสามารถส่งได้หมื่นตัน ราคาน้ำตาลและน้ำมันพืชก็สูงขึ้น แต่สภาพความเป็นจริงแล้วภาคเกษตรกรรมของไทยล่มสลายมานานแล้วเกษตรกรไม่เคยได้อะไรจากการขึ้นราคาของราคาตลาดเลย คนที่ได้คือพ่อค้าคนกลางเท่านั้น เศรษฐกิจไทยมีปัญหาอยู่ในขณะนี้เหมือนเป็นโรค ซึ่งประเทศไทยตายเพราะหมอ ซึ่งหมอที่ว่านี้คือ นักเศรษฐศาสตร์สมัยเก่าที่พยายามแก้ปัญหาด้วยการขึ้นดอกเบี้ย การตึงสภาพคล่อง จึงเป็นผลให้ธุรกิจขาดทุน และส่งผลให้ธนาคาร และสถาบันการเงินขาดทุนไปด้วย" นายณรงค์ กล่าว ข้อเสนอแนะในแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม นายณรงค์ กล่าวว่า " ต้องอาศัยภูมิปัญญา และการชี้นำในการพัฒนาจากภาคอุตสาหกรรมเกษตรจากต่างประเทศ และต้องผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลก แต่ไม่สมควรผลิตตามการชี้นำของตลาดโลก และควรผลิตในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกินความต้องการ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของ ภาคเกษตรล่มสลาย" อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยนั้นจัดเป็นประเทศที่มีต้นทุนในการผลิตสูงเมื่อเทียบกับตสาหกรรมการเกษตรของบางประเทศ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไทยขาดทุน เพราะต้นทุนสูง ซึ่งนายณรงค์ เสนอว่าควรจะหาวิธีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้นจากเดิม และควรใช้สารเคมีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต ซึ่งเกษตรกรก็ยังคงจนเช่นเดิมจึงจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือจากภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างเช่น อเมริกา และยุโรป ที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นได้ให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรกรรม ในทรรศนะของนายณรงค์ การเกษตรมีเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ เกษตรแบบธรรมชาติ คือ การพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้นทุนต่ำ ยั่งยืน และดินจะดีน้ำจะชุ่ม ส่วนเกษตรฝืนธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับพันธุ์ ซึ่งต้นทุนจะสูง ไม่ยั่งยืน และดินจะเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ในวาระสุดท้าย นายณรงค์ กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตจะต้องเกื้อหนุนสังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะต้องพัฒนาควบคู่กันไป จะเน้นเฉพาะภาคอุตสาหกรรมอย่างเดียวไม่เอาเกษตรกรรมเลยก็ไม่ได้ จะพัฒนาแต่เกษตรกรรม ไม่สนใจอุตสาหกรรม และภาคบริการเลยก็ไม่ได้เช่นกัน ทุกอย่างต้องพัฒนาควบคู่กันไป นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยขนอร์อินดัสตรี จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในยุค IMF ว่า บริษัทต่าง ๆ จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงทางด้านการบริหาร และการปฏิบัติการอยู่ตลอดเวลาในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ อีกทั้งการวางแผนทางด้านเศรษฐกิจ และมองสภาพการณ์ในอนาคต รวมไปถึงการวางกลยุทธ์ในการร่วมทุนกับต่างชาติ ซึ่งการจับมือกับต่างประเทศจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม นายธีระจิตต์ ยังเสนอแนะว่า ในแวดวงอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ โดยสภาฯ จะเป็นผู้ประสานงานให้กับภาครัฐบาล และเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการผลิต การส่งออก และการทำงานจนบรรลุผล ทางด้านนายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ที่ปรึกษาสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ภาคพาณิชยกรรม และบริการ ยุค I MF ว่า จากการมองภาพของยุคธุรกิจในอดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ยุค ด้วยกัน 1.ยุคเกษตรกรรม เป็นยุคที่มีดินถูก แรงงานถูก มีทรัพยากรมาก ซึ่งประเทศอื่นผ่านยุคนี้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยยังมีอยู่ 2. ยุคอุตสาหกรรม ยุคแสวงหา วัตถุดิบ Knowledge น้ำมัน 3. ยุคปัญญา เป็นยุคใหม่ ในโลกโลกาภิวัฒน์ ต้องการปัจจัย 3 อย่าง คือ ทรัพย์สินทางปัญญา (IT) สื่อมวลชน ค่าเงินในตลาดโลก อย่างไรก็ตามนายไกรฤทธิ์ ยังเสนอแนะแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทยในยุค IMF ในประเทศไทยซึ่งอยู่ใน 3 ยุค ระยะสั้น นักวิทยาศาสตร์ ต้องเป็นนักจัดการ เพื่อจัดการตัวเองให้ได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนแลูรู้ด้านการบริหารและการจัดการเป็น ทั้ง Planning Maker และ Control ระยะกลาง นักวิทยาศาสตร์ ต้องเป็น Inveter ต้องเป็นักประดิษฐ์สิ่งแปลก โดยเฉพาะตัวเองต้องเปลี่ยนแปลง และมี Idea ใหม่ระยะยาว นักวิทยาศาสตร์ ต้องเป็น Developer ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุง สำรวจตัวเองอยู่ตลอดเวลา--จบ

ข่าวสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์+บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัดวันนี้

CEO กลุ่มบริษัทบางจาก รับรางวัลนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รับรางวัลนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีเด่น ประจำปี 2566 ในงาน"คืนเหย้า วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 2566" จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชัยวัฒน์ เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี 2526 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด

สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญร่วมงาน "วิทยาคืนเหย้า พี่เก่าพบน้อง" 55

สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตเก่าทุกท่านเข้าร่วมงาน"วิทยาคืนเหย้า พี่เก่าพบน้อง" 55ในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17.00 น. ณ ตึกฟิสิกส์ 1โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น...

ภาพข่าว: นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ดีเด่น

นางสาวพิศมัย เจนวนิชปัญจกุล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี 2552 จากสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์...

ภาพข่าว: ผู้ว่าการ วว. ได้รับประกาศเกียรติคุณ... นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น

ดร.ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล ที่ปรึกษาสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบโล่ประกาศเกียรติคุณนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ดีเด่น ให้แก่ ดร. นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ...

วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำนิสิตเก่าวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจไทย ยุค IMF

กรุงเทพ--10 ก.พ.--ล็อกซเล่ย์ นายธงชัย ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการจัดการอภิปราย เรื่อง "นักวิทยาศาสตร์ กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยุค IMF" ว่า ในฐานะของนิสิตเก่า ...

จุฬาฯ จัดแข่งขันเดินวิ่งเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี

กรุงเทพ--28 ต.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดให้มีการแข่งขัน "เดิน-วิ่ง 80 ปี จุฬา" ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน...

จุฬาฯจัดแถลงข่าวงาน "เดิน-วิ่ง 80 ปี จุฬาฯ"

กรุงเทพ--24 ต.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีงาน "เดิน-วิ่ง 80 ปีจุฬาฯ" ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ...

จุฬาฯจัดแถลงข่าวงาน "เดิน-วิ่ง 80 ปี จุฬาฯ"

กรุงเทพ--20 ต.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีงาน "เดิน-วิ่ง 80 ปีจุฬาฯ" ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ...