สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเตือนเกษตรกร 20% มีสารพิษสะสมในร่างกายในระดับไม่ปลอดภัย

กรุงเทพ--25 มิ.ย.--สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขห่วงเกษตรกร รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสะสมในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วยถึงเสียชีวิตได้ ระบุผู้ใช้สารเคมีเกือบ 20% มีผลการตรวจเลือดหาสารต่อต้านพิษอยู่ใน เกณฑ์ไม่ปลอดภัย ชี้สาเหตุส่วนใหญ่เกษตรกรขาดความระมัดระวัง ไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ถูกวิธี นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพในประเทศไทยที่เสนอต่อองค์การอนามัยโลกในปี 2538 พบว่า มีผู้ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั่วประเทศ 3,360 คนเสียชีวิต 20 คน ซึ่งส่วนมากจะพบในช่วงเพาะปลูกในฤดูฝน (มิ.ย.-ต.ค.) และฤดูแล้ง (ม.ค.-มี.ค.) และในปี 2539 กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ตรวจหาระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นต่อต้านสารพิษที่ได้รับเข้าไปในเกษตรกรทั่วประเทศจำนวน 465,420 คน พบว่าเกษตรกรที่มีผลการตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยถึง 84,760 คน คิดเป็นร้อยละ 18.21 ของผู้รับการตรวจทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่า มีการนำเข้าสารเคมีต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทุกปี สารเหล่านี้มีโอกาสแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมและตกค้าง ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมได้ หากมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง และไม่มีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 63 ตัวอย่างในปี 2537 พบว่าสาร DDT ตกค้างอยู่ในน้ำถึงร้อยละ 81 ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อเกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมีโดยตรง และผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้น ในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน นายแพทย์ชูชัย กล่าวเสนอแนะแก่ผู้ใช้สารเคมีว่า ควรมีความรู้ในการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย โดยการสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดขณะใช้สารเคมี เพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ผิวหนัง การใช้หน้ากากหรือผ้าปิดปาก จมูก ป้องกันการสูดดมสารเคมีเข้าไป การหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นสารเคมีกลางแดดร้อนจัด การไม่สูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะใช้สารเคมี หรือควรรีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายหลังการใช้สารเคมีทุกครั้ง มิฉะนั้นอาจได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย จนเกิดอาการเฉียบพลัน เช่น หน้ามืด วิงเวียน ใจสั่น อาเจียน หากรุนแรงอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ และหากสารเคมีสะสมในร่างกายทีละน้อย ก็อาจเกิดอาการเรื้อรัง เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย (หรืออาการของผู้แพ้สารเคมี) เป็นต้น นอกจากนั้นการชะล้างสารเคมีลงสู่แม่น้ำลำคลอง จะทำให้แหล่งน้ำนั้นมีสารเคมีตก้างเจือปน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้อีกต่อไป เกษตรกรจึงควรล้างสารพิษอย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากข้างขวดอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้สารเคมีในปริมาณมากเกินไป และอาจหาวิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ เช่น ใช้สะเดา จะปลอดภัยทั้งแก่ตัวเองและสิ่งแวดล้อม--จบ--

ข่าวสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข+สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขวันนี้

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเตือนเกษตรกร 20% มีสารพิษสะสมในร่างกายในระดับไม่ปลอดภัย

กรุงเทพ--25 มิ.ย.--สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขห่วงเกษตรกร รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสะสมในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วยถึงเสียชีวิตได้ ระบุผู้ใช้สารเคมีเกือบ 20% มีผลการตรวจเลือดหาสารต่อต้านพิษอยู่ใน เกณฑ์ไม่ปลอดภัย ชี้สาเหตุส่วนใหญ่เกษตรกรขาดความระมัดระวัง ไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ถูกวิธี นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพในประเทศไทยที่เสนอต่อองค์การอนามัยโลกในปี 2538 พบว่า มีผู้ป่วยจากสาร

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับ โรช ไทยแ... สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จับมือ โรช ไทยแลนด์ ลงนาม MOU หนุนการพัฒนาระบบสุขภาพให้ชาวไทย — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับ โรช ไทยแลนด์ ลงนาม MOU เพื่อการพ...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดเว... สวรส. ถกบทเรียนวิจัยแก้วิกฤตโควิดกับการขับเคลื่อนนโยบาย สู่มาตรการลดช่องว่างสังคมไทย — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้...

เปิดทำเนียบสร้างสรรค์สังคมรณรงค์ป้องกันเอดส์

กำหนดการเข้าพบนายกรัฐมนตรี“เปิดทำเนียบสร้างสรรค์สังคมรณรงค์ป้องกันเอดส์”ภายใต้โครงการพัฒนาการสื่อสารสาธารณะและขับเคลื่อนสังคมเพื่อป้องกันเอดส์โดยความร่วมมือจากคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์สำนักงานหลักประกันสุขภาพ...