กรุงเทพ--3 ต.ค.--กรมการประกันภัย
นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ณ สิ้นปี 2539 พบว่าธุรกิจประกันชีวิต มีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการยกเลิก หรือ ขาดอายุ (Lapse) จำนวน 538,451 กรมธรรม์ จากจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยที่มีผลบังคับเมื่อสิ้นปี 6,935,678 กรมธรรม์ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.76 ของกรมธรรม์ที่มีผลบังคับทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 2538 คือ ร้อยละ 7.22
สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการยกเลิกหรือขาดอายุในปี 2539 แยกออกตามประเภทของการประกันภัย ได้ดังนี้
ประเภทของการ กรมธรรม์ที่มีการ กรมธรรม์ที่มีผล การยกเลิกหรือขาดอายุของกรมธรรม์เมื่อ
ประกันภัย ยกเลิกหรือขาด บังคับสิ้นปี เปรียบเทียบกับกรมธรรม์ที่มีผลบังคับสิ้นปี
อายุ ของแต่ละประเภท (คิดเป็น%)
1. สามัญ
- ตลอดชีพ 99,025 1,249,981 7.92
- สะสมทรัพย์ 248,017 2,796,508 8.87
- เฉพาะกาล 4,425 248,232 1.78
- อื่น ๆ 18 4,267 0.42
รวม 351,485 4,298,988 8.182. อุตสาหกรรม 185,102 2,628,107 7.043. กลุ่ม 1,864 8,583 21.724. รวม 538,451 6,935,678 7.78
เมื่อเปรียบเทียบจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการยกเลิกหรือขาดอายุ กับจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับเมื่อสิ้นปีของการประกันชีวิตประเภทต่าง ๆ พบว่าการประกันชีวิตประเภทกลุ่ม มีการยกเลิกหรือขาดอายุมากที่สุด คือ ร้อยละ 21.72 รองลงมา คือ ประเภทสามัญ ร้อยละ 8.18 และประเภทอุตสาหกรรม ร้อยละ 7.04 ตามลำดับ
"การยกเลิกหรือขาดอายุของกรมธรรม์ประกันชีวิต ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการยกเลิกหรือขาดอายุของกรมธรรม์ประกันชีวิตในปีแรก ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับเงินคืนจากบริษัทประกันภัยเลย เพราะบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการออกกรมธรรม์รายใหม่ และหักเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต ดังนั้น กรมการประกันภัยจึงขอแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่า ไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้ทำไว้แล้วและไปซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ เพราะจะทำให้เสียประโยชน์จากการทำประกันชีวิต เนื่องจากการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบกำหนด ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนน้อยกว่าจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระไป เพราะบริษัทต้องหักเป็นค่าใช้จ่ายดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น และการเริ่มทำประกันชีวิตใหม่นั้น จะทำให้การได้รับเงินเมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดช้าออกไป รวมทั้งการที่ผู้เอาประกันภัยทำประกันชีวิตใหม่ อายุก็จะมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้จำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะต้องชำระสำหรับกรมธรรม์ใหม่สูงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย" นายพิพรรธน์ฯ กล่าว--จบ--