Intania Expo 2025 งานเปิดบ้านครั้งยิ่งใหญ่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งกับงานเปิดบ้านสุดอลังการกับ Intania Expo สู่ความสำเร็จจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ5 ที่จะพาทุกคนมารู้จักตัวตนที่น่าหลงใหลของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้นทางที่นำพาทุกคนสู่เส้นทางชีวิตที่ไฝ่ฝัน และเติบโตสู่ความสำเร็จในอนาคต

Intania Expo 2025 งานเปิดบ้านครั้งยิ่งใหญ่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งาน Intania Expo 2025 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 - 30 มีนาคม 2568 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ธีม "Intaniaverse: Survive in THE COMIC WORLD มหากาพย์วิศวกรรม" ที่จะพาทุกคนร่วมทำภารกิจกอบกู้จักรวาลอินทาเนีย ไขปริศนาลึกลับช่วยปลดล็อก "ปราสาทแดง" ผ่าน 8 ดินแดนวิศวกรรม ประกอบไปด้วย

  1. Intania Hall of Legends ฮอลล์แห่งแรงบันดาลใจ พบปะบุคคลผู้สร้างแรงบันดาลใจในวงการทั้งศิษย์เก่าและผู้เชี่ยวชาญ
  2. Intania Innovation Land ปีกแห่งนวัตกรรม ชื่นชมผลงานและนวัตกรรมจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
  3. Intania Green Planet วิศวกรเพื่อโลก ความยิ่งใหญ่ที่วงการวิศวกรรมที่มีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่โลกของเรา
  4. Intania Information Core ศูนย์ข้อมูลแห่งจักรวาลอินทาเนีย สำรวจเส้นทางในสาขาวิชาต่างๆของวิศวกรรมศาสตร์
  5. Intania Club อาณาจักรแห่งชมรมวิศวะ แลกเปลี่ยนคลังข้อมูลประสบการณ์จากชมรมต่างๆโดยรุ่นพี่สู่รุ่นใหม่ พร้อมแสดงผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
  6. Intania Quest ดินแดนแห่งการเจาะลึก ดำดิ่งสู่แก่นภาควิชาวิศวกรรม สัมผัสประสบการณ์จริงผ่านภารกิจต่างๆจากสาขาภาควิชาต่างๆ
  7. Intania Insight ดินแดนแห่งพันธมิตร ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตในรั้วจุฬาฯ ทั้งด้านการเรียน และการใช้ชีวิต จากรุ่นพี่ของแต่ละภาควิชา
  8. Intania Arena สังเวียนวิศวะ ปะทะสมอง สัมผัสการแข่งขันอันดุเดือดจากเวทีการอันยิ่งใหญ่อย่าง Integral Bee, Innovation contest, Intania Metaverse และ Intania Hackathon

เข้ามาสัมผัสความเป็น วิศวะฯ จุฬาฯ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด เตรียมแค่ใจให้พร้อมก็พอแล้ว

สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมเพิ่มเติมได้จาก

Facebook: Intania Open House - เปิดบ้าน วิศวฯ จุฬาฯ

Instagram: @cuintaniaopenhouse

TikTok: IntaniaExpo


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+คณะวิศวกรรมศาสตร์วันนี้

รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 แรงสั่นสะเทือนส่งผลต่อประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายของอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะเขตเมืองที่ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนอย่างกรุงเทพมหานครย่อมมีโอกาสที่รอยแยกใต้พื้นดินจะเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคืออาจส่งผลให้ก๊าซเรดอนที่อยู่ใต้พื้นดินฟุ้งกระจายเข้าสู่ที่อยู่อาศัยและอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดิน

NT ปลื้มเปิดตัว NT Metaverse ศูนย์บริการใ... NT ร่วมกับ จุฬาฯ เปิดตัวแพลตฟอร์มศูนย์บริการ NT Metaverse — NT ปลื้มเปิดตัว NT Metaverse ศูนย์บริการในโลกเสมือน พร้อมโชว์ผลงานสนับสนุนทุนวิจัยและโครงสร้าง...

"วีบียอนด์" ร่วมกับมหาลัยวิทยาลัยชั้นนำระ... "วีบียอนด์" ร่วมกับมหาลัยวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ สร้างความยั่งยืนให้องค์กร — "วีบียอนด์" ร่วมกับมหาลัยวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ สร้างความยั่งยืนให้องค์ก...

กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งกับงานเปิดบ้าน... Intania Expo 2025 งานเปิดบ้านครั้งยิ่งใหญ่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย — กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งกับงานเปิดบ้านสุดอลังการกับ Intania Exp...

CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO... CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO หลักสูตรปริญญาโทสุดล้ำ — CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO ห...