คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม "วิ่งสร้างเมือง วิ่งสร้างเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิ่งสร้างเมือง5" (Run For Better City วิ่งสร้างเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิ่งสร้างเมือง5) : ตอน Neighbor สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" วันอาทิตย์ที่ วิ่งสร้างเมือง กุมภาพันธ์ วิ่งสร้างเมือง568 นำรายได้ส่วนหนึ่งสนับสนุน "โครงการ KOME ห้องสุขาสาธารณะเรืองแสง" เพื่อเพิ่มพื้นที่สุขภาวะให้กับเมือง
นายพงษ์ศักดิ์ เหล่ามานะเจริญ นายกสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กิจกรรม "วิ่งสร้างเมือง 2025" (Run For Better City 2025) ตอน Neighbor 10330" เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องทุกปีโดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพที่งดงามให้กับสังคม ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาชีวิตของคนเมืองและสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดของการสร้างเมืองให้ยั่งยืน สอดคล้องกับวิชาชีพสถาปนิกที่เป็นผู้ออกแบบอาคารและสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ในชุมชนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย การปฏิสัมพันธ์และสภาพแวดล้อม โดยการจัดงานปีนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ 3,000 คน
นายนิเวศน์ วะสีนนท์ ประธานการจัดงาน ฯ กล่าวว่า แนวคิดการจัดงานในปีนี้คือ "Neighbor 10330" ที่หมายถึงเพื่อนบ้านนั่นก็คือเขตปทุมวันแห่งนี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและยังเป็นย่านใจกลางเมืองที่เป็นจุดสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการจัดงานฯ จึงนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดงาน สนับสนุนการร่วมออกแบบพัฒนาชุมชน ด้วยการจัดทำ "โครงการ KOME ห้องสุขาสาธารณะเรืองแสง" เพื่อเพิ่มพื้นที่สุขภาวะให้กับเมือง เป็นการร่วมสร้างเมืองของเราให้น่าอยู่ ตามวัตถุประสงค์หลักของการจัดงานวิ่งสร้างเมืองตลอดมา โดยนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของคณะฯ มีความตั้งใจในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อช่วยขับเคลื่อนสังคมและการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
นายปิตุพงษ์ เชาวกุล สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท Supermachine Studio ผู้ออกแบบ "โครงการ KOME ห้องสุขาสาธารณะเรืองแสง" กล่าวถึงแรงบันดาลใจการออกแบบว่ามาจาก "โคม" ที่นอกจากเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นแล้ว ยังส่งมอบความสว่างให้กับพื้นที่โดยรอบในยามค่ำคืน "KOME" จึงเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสะท้อนความใส่ใจของเมือง และความรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติของคนในชุมชน โครงการ "KOME" จะมีการตั้งทีมบำรุงรักษาจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน โดยแบ่งการทำความสะอาดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ทำความสะอาดทุกวันวันละ 3 ครั้ง 2. ทำความสะอาดเป็นประจำเดือนละครั้ง 3. ทำความสะอาดพิเศษปีละครั้ง ดังนั้น "KOME" ห้องสุขาสาธารณะจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องใช้ที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ดีและคุณภาพของพลเมืองด้วย
นายอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิกและผู้บริหารบริษัท T.R.O.P ผู้ออกแบบซุ้ม Start และ ซุ้ม Finish กล่าวว่า การออกแบบมีแรงบันดาลใจมาจากต้นจามจุรี สีชมพู ต้นไม้ใหญ่พื้นถิ่นในย่านนี้ ที่หยั่งรากลึกและให้ร่มเงากับชีวิตหลากหลายมายาวนาน การขยายกิ่งก้านเล็กใหญ่ในทิศทางต่าง ๆ เปรียบเหมือนผู้คนที่เติบโตกันไปได้มากมายหลากหลายรูปแบบ เพราะมีรากฐานที่แข็งแรงมั่นคงนั่นเอง
สำหรับรูปแบบกิจกรรม "วิ่งสร้างเมือง 2025" จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 โดยเส้นทางวิ่งเริ่มต้นจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไปยังพื้นที่โดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย่านชุมชนโดยรอบ พิพิธภัณฑ์สถานีรถไฟหัวลำโพง และสิ้นสุดเส้นทางวิ่งที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ โดยเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ 3 ระยะ แบ่งเป็น นาโนมาราธอน 2.5 กม. , ไมโครมาราธอน 5 กม. และ มินิมาราธอน 10 กม. ค่าสมัครแบบทั่วไปทุกระยะ 800 บาท จะได้รับเสื้อที่ระลึก, หมายเลขวิ่ง, เหรียญที่ระลึก และแบบ VIP ทุกระยะ 2,000 บาท จะได้รับเสื้อวิ่ง 2 ตัว 2 สี, กระเป๋าอเนกประสงค์, เหรียญที่ระลึก, หมายเลขวิ่ง (BIB) และเซ็ตอาหารอร่อย ๆ
ผู้สนใจร่วมกิจกรรม "วิ่งสร้างเมือง 2025" สามารถสมัครผ่านทาง https://race.thai.run/r4bc2025 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @R4BC และ Facebook: วิ่งสร้างเมือง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีวางพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และพิธีตักบาตร เนื่องในวันครบรอบ ๑๐๘ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ประธานการจัดงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ ๒๕๖๘ เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ เมื่อวันพุธที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา o๗.๐๐ น. ณ
สนจ. ชวนชาวพระเกี้ยว ร่วมงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ 2568 "๑๐๘ ปี จามจุรีประดับใจ" 26 มีนาคมนี้
—
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นำ...
คณะผู้จัดงาน "วิ่งสร้างเมือง 2025" มอบรายได้ 300,000 บาท ให้กรุงเทพมหานคร
—
คณะผู้จัดงาน "วิ่งสร้างเมือง 2025" (Run For Better City 2025) จัดโดย คณะสถาปัต...
คณะสถาปัตย์ฯ จุฬา ชวนร่วมงาน "วิ่งสร้างเมือง 2025" (Run For Better City 2025)
—
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิ...
สนจ. เชิญร่วมงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2567 "CU Power of One" รวมพลังสายใยจุฬาฯ ส่งต่อเพื่อสังคม
—
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)...
จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ "ไฮยีนา" ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
—
รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจาร...