The Active ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ เปิดพื้นที่ Policy Dialogue หาทางออกแก้ฝุ่น PM2.5

The Active ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีฯ เปิดพื้นที่ระดมความเห็นทุกภาคส่วน ร่วมเสนอทางออกแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ผ่าน Policy Dialogue "ฝ่าทางตัน วาระฝุ่น" 2568 เพื่อจัดการปัญหาฝุ่นและหมอกควันไฟตั้งแต่ต้นทาง

The Active ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ เปิดพื้นที่ Policy Dialogue หาทางออกแก้ฝุ่น PM2.5

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส โดยศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ หรือ The Active ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาลมหายใจกรุงเทพมหานคร กทม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไข ปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) จัดเวที Policy Forum : Policy Dialogue ฝ่าทางตัน วาระฝุ่น 2568 เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ร่วมออกแบบกลไก ปรับวิธีสื่อสาร จัดการปัญหาฝุ่นและหมอกควันไฟตั้งแต่ต้นทาง ณ ไทยพีบีเอส The Active ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ เปิดพื้นที่ Policy Dialogue หาทางออกแก้ฝุ่น PM2.5

เจน ชาญณรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานทุน มูลนิธิอานันทมหิดล และรองประธานสภาลมหายใจกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้ศึกษาปัญหาฝุ่น โดยเฉพาะที่มาจากไฟป่า เพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญคือแอปพลิเคชัน "ตามไฟ" www.tamfire.net ซึ่งใช้ติดตามการลุกลามของไฟอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากแอปฯ นี้เป็นผลจากความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนและมหาวิทยาลัย โดยเมื่อ 5 ปีที่แล้ว พบว่า ไฟป่าเปรียบเสมือน "วาฬตัวใหญ่" ของการเผาในที่โล่ง ซึ่งประเทศไทยยังพบกองไฟจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ บางกองมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่กรุงเทพฯ และในแต่ละปี ประเทศไทยมีไฟในลักษณะนี้เกิดขึ้นประมาณ 3,000 - 4,000 กอง

ขณะที่ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง ฝุ่นในพื้นที่ กทม. ว่าฝุ่นเมืองมีความซับซ้อนกว่าฝุ่นนอกเมือง เพราะมีหลายแหล่งซับซ้อน นอกจากสภาพดินฟ้าอากาศ ยังมีเรื่องป้าย โฆษณาใหญ่ อาคารสูง ตรอกที่อับลม การทำงานของสภาลมหายใจจะเป็นการรวมตัวของประชาชนตื่นรู้ อยากศึกษาที่มาและร่วมเก็บข้อมูล โดยมีนักวิชาการประมวลออกมาเป็นความรู้ มีนักสื่อสารช่วยนำข้อมูลออกไปเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมเสนอว่า ให้มี "มิสเตอร์ฝุ่น" เป็นคนกลางตามเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะลมเปลี่ยนทิศตามช่วงเวลา ป่าแห้งตามช่วงเวลา ดังนั้นการให้คนในพื้นที่สามารถอ่านและเข้าใจข้อมูลทิศทางลมเพื่อบอกได้ว่าฝุ่นที่เข้ามาพื้นที่เกิดจากแหล่งจุดไหน เพื่อนำไปสู่การหารือร่วมกับเมืองต้นลม

พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เล่าถึงงาน ของ กทม. ว่า มีโครงการนักสืบฝุ่น ที่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาที่มาของฝุ่นจากองค์ประกอบทางเคมี จนพบว่าวันที่ฝุ่นน้อย มาจากฝุ่นภาคคมนาคม ส่วนวันที่ฝุ่นเยอะมาจากการเผา นำมาสู่การออกแบบการแก้ปัญหาที่ต้นตอ โดย กทม. มีข้อเสนอ 10 มาตรการถึงรัฐบาล ซึ่งมาจากการแก้ปัญหาที่อยู่นอกเหนืออำนาจ กทม. เช่น เรื่องการตรวจรถควันดำ เพราะไม่สามารถตรวจรถ 10 ล้อได้ เนื่องจาก กทม.ที่เป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม มีอำนาจตรวจได้เฉพาะรถ 4 ล้อ และขอให้เข้มงวดโดยเพิ่มมาตรฐานการตรวจวัด รวมถึงเรื่องโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีกฎกระทรวงอุตสาหกรรมที่ทำให้ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เต็มที่ ทั้งที่เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ กทม. แต่ไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการ หากในท้ายที่สุดสามารถดำเนินการให้ กทม.มีอำนาจจัดการก็จะช่วยให้การทำงานแก้ปัญหามลพิษเดินหน้าไปได้

นาตยา พรหมทอง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายสาธารณะภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า มีเครื่องมือ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งการแก้ฝุ่น ต้องมีกลไกการแก้ปัญหาในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชนขึ้นไป โดยให้ชุมชนเข้ามาร่วม และมีฝ่ายมิชาการ เข้ามาสนับสนุนเครื่องมือ ข้อมูล ทำให้ชุมชนที่อยู่ใกล้กับปัญหา ได้มีการออกแบบแนวทางแก้ปัญหา พัฒนาไปเป็นธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ได้ โดยสามารถอาศัยเงินจากกองทุนเพื่อดำเนินการได้

ทางด้าน รศ.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโฆษกคณะกรรมาธิการ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ เผยความคืบหน้า ว่า กมธ. ทำงานอย่างหนัก ทุกสัปดาห์ เร่งเพื่อให้เร็วที่สุด และมีคุณภาพ เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง 4 เรื่องคือ

  1. สิทธิของประชาชนในการมีอากาศสะอาดหายใจ ที่รัฐเพิ่งเฉย
  2. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ โดยใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษ
  3. มีการตั้งหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพเฉพาะจัดการปัญหา
  4. เรื่องงบประมาณ ที่จะมีการตั้งกองทุนอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ เพื่อใช้ในการปัญหาโดยตรง

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีนี้จะถูกรวบรวมและนำเข้าสู่แพลตฟอร์ม "Policy Watch" ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ พร้อมทั้งเชื่อมโยงทุกมิติ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ www.thaipbs.or.th/PolicyWatch


ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+กรุงเทพมหานครวันนี้

กรมอนามัย เดินหน้าส่งเสริมสุขภาพ LGBTQ+ เชิงรุกต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวชุดความรู้เพื่อความหลากหลายทางเพศ พ.ค.นี้

นพ.ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมงานเสวนาเชิงนโยบาย "การสร้างความร่วมมือเพื่อสุขภาวะคนข้ามเพศอย่างยั่งยืน" ในการประชุมระดับชาติ : สุขภาวะของคนข้ามเพศ (ข้ามเพศมีสุข) ครั้งที่ 2 พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนแวนชั่น กทม. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 โอกาสนี้

The Active ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีฯ เปิดพื... The Active ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ เปิดพื้นที่ Policy Dialogue หาทางออกแก้ฝุ่น PM2.5 — The Active ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีฯ เปิดพื้นที่ระดมความเห็นทุกภาคส่วน ร่ว...

มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ สช. อบจ.สงขลา ... มรภ.สงขลา ผนึก สช.-อบจ.สงขลา-ภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนระบบสุขภาพท้องถิ่น — มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ สช. อบจ.สงขลา และภาคีเครือข่าย ผนึกกำ...

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ... สสส. ผนึกกำลัง สช. ขับเคลื่อนงานการอยู่และตายดี ในงาน "มหกรรมสร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 4" — นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักสร้างเสริมระบ...

สสส. ผนึกพลัง 10 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน MOU บูรณาการทำงานเชิงรุก หนุนเสริมข้อมูลวิชาการ สร้างองค์ความรู้ ขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2565 ณ โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "บูรณาการดำ...

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบ... "อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก — "อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิ...

ในยุคปัจจุบันที่พบว่า แนวโน้มคนไทยที่มีโร... สาระดีๆ ที่ต้องแชร์ให้แม่อ่าน “ หยุดยาลดไขมัน อันตรายหรือไม่? ” — ในยุคปัจจุบันที่พบว่า แนวโน้มคนไทยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับความอ้วนหรือการมีไขมันสะสมในร...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ ... สวรส. หนุนวิจัยพัฒนาระบบสุขภาพคนกรุง — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข สำ...