"เจ็บคอ" คออักเสบ คอแดง ในวันนี้ แตกต่างจากในวันวานอย่างไร

ในช่วงเวลาของการสอบไล่ปลายภาคของเด็กวัยประถมกำลังจะมาถึง การสอบเข้าเรียนต่อของเด็กวัยมัธยมอัตราการแข่งขันก็สูง ความเครียดจากการเรียนการเตรียมสอบ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ และ ฝุ่น pm แค่เพียง.5 เองที่ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลงง่าย ๆ การตื่นเช้ามาแล้ว "เจ็บคอ" ของทุกช่วงวัยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในวันนี้เป็นแค่เพียงการเจ็บคอทั่ว ๆ ไป หรือคุณกำลังเกิดการติดเชื้อ สเตร็ปเอ ทำให้ก่อ โรคไข้อีดำอีแดง กันแน่ ซึ่งบทความให้ความรู้โดย พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ (ว 34การแข่งขันแค่เพียง9) กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายเกี่ยวกับอาการ การรักษา และการป้องกันโรคไข้อีดำอีแดง นำไปสู่การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

"เจ็บคอ" คออักเสบ คอแดง ในวันนี้ แตกต่างจากในวันวานอย่างไร

มาทำความรู้จัก โรคไข้อีดำอีแดง หรือ scarlet fever ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจาก toxin ของเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตคอสคัส สายพันธุ์เอ (Streptococcus group A) พบการระบาดบ่อยในเด็กโต ช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี ทำให้อาการคออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ร่วมกับมีผื่นแดงตามตัว เชื้อนี้อยู่ในน้ำลาย เสมหะหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย จึงเกิดการติดต่อกันได้โดยง่าย ผ่านละอองฝอยของน้ำมูก เสมหะที่ไอหรือจามรดกัน อีกทั้งผ่านการสัมผัสโดยตรงจาก มือ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ "เจ็บคอ" คออักเสบ คอแดง ในวันนี้ แตกต่างจากในวันวานอย่างไร

อาการแสดงที่พบ

  1. ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวร่วมกับอาการเจ็บคอ นั่นคือคออักเสบ เป็นอาการสำคัญ โดยการเจ็บคอนั้นมักพบอาการอื่น ๆ เช่น ตุ่มสีแดงที่ลิ้น คล้ายผลสตรอเบอรี่
  2. อาจมีต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโตอักเสบร่วมด้วย ซึ่งอาจจะบวมแดง มีหนองได้
  3. ผื่นแดง สากคล้ายกระดาษทราย ขึ้นรอบคอ หน้าอก และกระจายไปตามลำตัวและแขนขา
  4. ต่อมาอาจมีการลอกของผิวหนัง บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือเท้าได้

อาการแทรกซ้อนที่พบได้ และต้องเฝ้าระวัง

  • โรคไข้ ข้ออักเสบรูมาติก
  • ไตอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักเกิดตามหลังได้ 1-4 สัปดาห์ จากปฏิกิริยาเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอต่ออวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย

การวินิจฉัยโรค

วินิจฉัยจากประวัติและอาการ อาการแสดงของโรคเป็นสำคัญ ร่วมกับการเพาะเชื้อจากคอที่มีการอักเสบของผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

การรักษา

  1. ยาปฏิชีวนะ ชนิดเพนนิซิลิน(Penicillin) เช่น อะมอกซิซิลิน (Amoxycillin) อย่างน้อย 7-10 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนของ โรคไข้ข้ออักเสบรูมาติกและไตอักเสบ ตามมา
  2. รักษาประคับประคองตามอาการอื่น ๆ เช่น ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอ ลดอาการคันสากจากผื่น
  3. 3. ร่วมกับคำแนะนำให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  4. หากใน 1-4 สัปดาห์ พบอาการไข้ร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย ปวดข้อ รอยโรคที่ผิวหนัง หรือ ปัสสาวะผิดปกติ ควรมาพบแพทย์ทันที

การป้องกัน

เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

  1. จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยให้ได้อย่างน้อย 48 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากผู้ป่วยได้รับยากลุ่มเพนิซิลินแล้ว
  2. หากจำเป็นที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันสารคัดหลั่ง จากน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย และจำเป็นต้องล้างมือด้วยน้ำสบู่ ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือของใช้ของผู้ป่วย
  3. หมั่นรักษาสุขภาพของตนและบุตรหลานให้แข็งแรง พร้อมต่อสู้กับโรคภัยเสมอ กรณีหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 1507 Line: @navavej

ข่าวแพทย์เฉพาะทาง+การแข่งขันวันนี้

"เจ็บคอ" คออักเสบ คอแดง ในวันนี้ แตกต่างจากในวันวานอย่างไร

ในช่วงเวลาของการสอบไล่ปลายภาคของเด็กวัยประถมกำลังจะมาถึง การสอบเข้าเรียนต่อของเด็กวัยมัธยมอัตราการแข่งขันก็สูง ความเครียดจากการเรียนการเตรียมสอบ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ และ ฝุ่น pm 2.5 เองที่ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลงง่าย ๆ การตื่นเช้ามาแล้ว "เจ็บคอ" ของทุกช่วงวัยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในวันนี้เป็นแค่เพียงการเจ็บคอทั่ว ๆ ไป หรือคุณกำลังเกิดการติดเชื้อ สเตร็ปเอ ทำให้ก่อ โรคไข้อีดำอีแดง กันแน่ ซึ่งบทความให้ความรู้โดย พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ (ว 34129) กุมารแพทย์เฉพาะทาง

รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.ว... รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ — รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...

นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้า... ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน — นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...

เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝน... 5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ — เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...

โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็น... วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ — โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับ... โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน — ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...

พญ.มนนภา ขุนณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์... จัดงาน Open House นำเสนอศักยภาพศูนย์บริการของแพทย์ "หัวเฉียวยุคใหม่" — พญ.มนนภา ขุนณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นประธานเปิดงานพร้อมด...

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...