ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผนังหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หากผลการตรวจระบุคราบหินปูนสะสมในปริมาณสูง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้
Calcium Score เกิดจากอะไร
การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามธรรมชาติในผู้ป่วยแต่ละราย ช้าเร็วต่างกันตามปัจจัยเสี่ยงที่บุคคลนั้นมี ทำให้เกิดการอักเสบซ้ำๆ ของหลอดเลือด และเกิดการสะสมของคราบหินปูนในบริเวณที่มีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
Calcium Score เป็นการให้คะแนนคราบหินปูน ที่วัดโดยใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า Multi-slice Computerized Tomography (CT) ซึ่งสแกนภาพหลายภาพของคราบหินปูนที่สะสมอยู่ที่เส้นเลือด การถ่ายภาพจะดูที่ระดับของคราบหินปูนที่สะสมอยู่ ซึ่งคราบหินปูนประกอบด้วยไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่นๆ ในเลือด ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาเกาะเพิ่มขึ้นกลายเป็นแผ่นหนาใหญ่ขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เส้นเลือดตีบลงอย่างช้าๆ โดยกระบวนการเสื่อมนี้อาจใช้เวลาหลายปี ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้เส้นเลือดเสื่อมมากน้อยแค่ไหน
เมื่อแคลเซียมหรือหินปูนสะสมมากขึ้นในผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดจะไหลผ่านจุดนั้นได้ช้าลงหรือในปริมาณน้อยลง เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่พอ ก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
ทำไมควรตรวจ Calcium Score
การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Calcium Score) ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ผู้ป่วยและแพทย์ นำไปสู่การวางแผนร่วมกัน ในการรักษาและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในอนาคต แม้คนไข้ยังไม่มีอาการของโรคในปัจจุบัน ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น
ใครบ้างที่ควรตรวจ Calcium Score
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจ Calcium Score
ผลการตรวจ Calcium Score แบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ
ข้อดีของการตรวจ Calcium Score
ตรวจ 'Calcium Score' VS 'EST' แตกต่างกันอย่างไร
การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน หรือที่เรียกว่า Exercise Stress Test (EST) เป็นการตรวจหาภาวะขาดเลือดในขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยเส้นเลือดที่ตีบมากจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยกว่าปกติ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงในขณะที่ออกกำลังกาย โดยการตรวจ EST จะพบความผิดปกติก็ต่อเมื่อเส้นเลือดหัวใจได้ตีบมากแล้ว
แต่การตรวจ Calcium Score (CAC) สามารถตรวจพบความเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ในบริเวณที่มีหินปูนไปเกาะบนผนังของเส้นเลือด โดยสามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะที่มีการตีบไม่มาก จึงช่วยในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้ ซึ่งนำไปสู่การรักษาเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เหมาะสมต่อไป
Calcium Score กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
ยิ่ง Calcium Score สูง ยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจในอนาคต เมื่อแพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในระดับปานกลางขึ้นไป ก็จะให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ในการบริหารและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือ Heart Attack ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ฝากถึงผู้ป่วยโรคหัวใจ และคนที่ยังไม่เป็นให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพหัวใจ
"เรามีหัวใจดวงเดียว เป็นอวัยวะสุดท้ายที่จะหยุดทำงานก่อนที่เราจะถูกประกาศว่าเสียชีวิต จึงถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน จึงควรใส่ใจดูแลอวัยวะนี้ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราและเทคโนโลยีในปัจจุบันจะสามารถเอื้ออำนวยได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเราเองและคนที่เรารัก เพราะการลดความเสี่ยงโรคที่สามารถป้องกันได้ เป็นการลงทุนกับชีวิตที่คุ้มค่ามาก เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐที่สุดแล้ว"
บทความโดย นพ. อุฬาร วงศ์แกล้วหัวหน้าแพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit