วว. ชู "4 กลยุทธ์...SIEN" พุ่งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โดย สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าจะเติบโตอยู่ในช่วง 2.3-3.3% ซึ่งสะท้อนถึงการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2567 แม้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายด้านที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการผลักดันภาคส่งออกให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ยังต้องขับเคลื่อนการลงทุนโดยเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

วว. ชู "4 กลยุทธ์...SIEN" พุ่งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน. ) โดยมีนโยบายสำคัญ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) พัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต 2) ยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก 3) พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้า เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และ 4 พัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงาน วิจัย จะนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม วว. ชู "4 กลยุทธ์...SIEN" พุ่งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดังนั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวง อว. จึงได้จัดการประชุมระดมความคิด หน่วยงานกำกับดูแล พันธมิตรคู่ความร่วมมือ ลูกค้า คู่ค้า คู่เทียบ ชุมชน สังคม และสื่อมวลชน ร่วมกำหนด "บทบาทการดำเนินงานของ วว. ในอนาคต" พร้อมชู "4 กลยุทธ์ : S - I - E - N" เป็นแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรในระยะเวลา 4 ปี เพื่อนำ วทน. ไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตยั่งยืน ภายใต้แผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2568- 2571 มีขอบเขตประเด็นระดมความคิดเห็นในการทบทวน ได้แก่ การทบทวนวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ผลงานและบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Technology Roadmap) ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัย บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อรองรับการวิจัยและให้บริการกับภาคธุรกิจและประชาชน เพื่อเสริมแกร่ง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ประเทศไทยเติบโตทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน (23 มกราคม 2568 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ)

โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. ในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิด ซึ่งมีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า อว. มอบหมายให้ วว. เป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งเสริมให้ วว. มีบทบาทสร้างเยาวชนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านธุรกิจควบคู่กัน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสิ่งที่เป็นนโยบายหลักของกระทรวง อว. คือ ต้องมีการวางแผนที่จะ spin off มี joint KPI ทำร่วมกัน เช่น วว. อาจมีร่วมกับสถาบันวิจัย หน่วยงานภาคเอกชน มหาวิทยาลัย มีแผนที่จะช่วยเหลือเศรษฐกิจอย่างไร ช่วย SMEs โดยจะวัดร่วมกัน รวมถึงการผลิตกำลังคนด้วย ซึ่งประเทศไทยมีการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) จำนวนมาก จำเป็นต้องผลิตคนที่มีทักษะสูงร่วมกับมหาวิทยาลัยในการผลิตคนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในปีนี้ให้ได้ รวมทั้งการทำ Tech transfer และ Tech spin off ต้องอยู่ในแผนดำเนินงานเพื่อสร้างธุรกิจที่เกิด impact กับประเทศให้ได้

"...คณะบอร์ดของ วว. มีนโยบายกำกับทิศทางการดำเนินงานในช่วงปี 2567-2568 ดังนี้ 1) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของประเทศ 2) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 3) เร่งการพัฒนาบริการวิเคราะห์ทดสอบมูลค่าสูงที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อลดการส่งวิเคราะห์ทดสอบต่างประเทศของผู้ประกอบการ SMEs และ 4) ขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) ที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดและคุ้มค่า สามารถปรับตัวเพื่อสร้างความสามารถที่มีเอกลักษณ์ในการแข่งขันและสร้างคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่ง วว. ได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 ที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาศักยภาพขององค์กร โดยมียุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการพัฒนา BCG มูลค่าสูง การส่งเสริม SMEs ภาคอุตสาหกรรม การวิจัยพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมุ่งสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป..." ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าว

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวแสดงวิสัยทัศน์แนวทางการขับเคลื่อน วว. ในช่วง ปี 2568-2571 ภายใต้บริบทการแก้ไขเพิ่มเติม (ร่าง) พรบ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่) พ.ศ.... ซึ่งจะมีการประกาศใช้ในเร็วๆ นี้ว่า วว. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานตามแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 ที่กำหนดให้ วว. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ SMEs ร่วมกับรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืนโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) ภายใต้การพัฒนาความยั่งยืนตามกรอบ ESG Framework ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการกำกับดูแลที่ดี (Governance) โดย วว. ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ "สร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม SME และชุมชนผ่านระบบนิเวศ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน"

โดยในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า วว.มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินงานองค์กร ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก (S - I -E - N) ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 S : Science Technology and Innovation เร่งสร้างผลงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพี่อตอบโจทย์ประเทศ ในขอบข่ายอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 4 กลุ่ม ( 1.เกษตรและอาหาร 2.สุขภาพและการแพทย์ 3.พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 4.ยานยนต์สมัยใหม่) และครอบคลุม 10 ด้าน (1.นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ 2.นวัตกรรมอาหาร 3.นวัตกรรมพืชสมุนไพร 4.การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เชิงอุตสาหกรรม 5.เซลล์บำบัด 6.นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน 7.นวัตกรรมเศรษฐกิจสีเขียว 8.นวัตกรรมพลังงานสะอาด 9.เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และ 10.เทคโนโลยีระบบอัดประจุไฟฟ้าและระบบควบคุม)

กลยุทธที่ 2 I : Infrastructure การพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STI) ได้แก่ สถานที่ผลิตยาหมวดชีววัตถุ (ATMPs, Cell Therapy) ที่ได้รับการรับรองจาก อย. และ Stem Cell Plant มาตรฐาน PIC/S GMP ,Stem Cell Bank ISO IEC 20378 กำลังผลิต 1,200,000 เซลล์/ปี โดยจะสร้างเสร็จในปี 2568 ใช้ระบบบริหารจัดการโดย Contract Development and Manufacturing Organization (CDMO) 2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ (NQI) เพื่อรองรับอุตสาหกรรม EV ทั้งการทดสอบ (Testing) และการตรวจสอบ (Inspection) และ 3.การยกระดับโรงงานต้นแบบ เพื่อให้บริการทดลองผลิตในระดับโรงงานอุตสาหกรรม

กลยุทธ์ที่ 3 E : Ecosystem เสริมสร้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม ด้วยวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ 1.พัฒนาเทคโนธานีให้เป็น "นิคมวิจัยสำหรับเอกชน" และ 2. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับธุรกิจนวัตกรรม เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงพาณิชย์ สังคมและสาธารณประโยชน์

กลยุทธ์ที่ 4 N : Network สร้างเครือข่ายตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยครอบคลุม 1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และ 2.การพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 5 ภาค ผ่านความเชี่ยวชาญของเครือข่ายพันธมิตรและ วว.

"...(ร่าง) พรบ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่) พ.ศ.... มีสาระสำคัญคือ การแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบันให้สามารถดำเนินธุรกิจ ลงทุนหรือร่วมลงทุน และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาก พรบ. ผ่านการดำเนินงานของ วว. ได้แก่ 1) ลดการพึ่งพาเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล ในการดำเนินกิจการหรือการลงทุนโครงการวิจัยนวัตกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วทน. 2) ทำให้งานวิจัยที่มีคุณภาพสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยมีภาคเอกชนร่วมรับความเสี่ยงในการลงทุน 3) สามารถสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรม จากการที่ผู้ประกอบการร่วมทุนกับ วว. เป็นการพัฒนาสร้างผู้ประกอบการใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และ 4) สามารถพัฒนานวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้สอดคล้องนโยบายรัฐบาล "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม" สนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายประเทศ โดย "4 กลยุทธ์ : S-I-E-N" จะเป็นธงการดำเนินงานในกรอบระยะเวลา 4 ปี ซึ่ง วว. พร้อมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน..." ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุป

วว. พร้อมให้บริการ วทน. เพื่อเสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 หรือที่ระบบบริการลูกค้า "วว. JUMP"


ข่าวกระทรวงการอุดมศึกษา+ขับเคลื่อนเศรษฐกิจวันนี้

วว. ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันนักประดิษฐ์ พร้อมโชว์ผลงานนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG ด้วย วทน.

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจาปี 2568 ซึ่งสานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Event Hall 101 -104 ไบเทค บางนา โดยมีการแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า1,000 ผลงาน การมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ การเสวนาการฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการ มากกว่า100 หัวข้อ ภายใต้แนวคิด "สิ่งประดิษฐ์

การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โดย สำนักงา... วว. ชู "4 กลยุทธ์...SIEN" พุ่งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน — การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โดย สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสัง...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเ...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. จับมือ สอศ. ดันสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา พลิกโฉมการศึกษาไทย ด้วยกิจกรรม TVET Smart Idea2Innovation — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา ว...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...