ไบเออร์ได้เริ่มโครงการ Bayer ForwardFarming ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มระดับโลกที่ประเทศอินเดีย โดยเป็นโครงการ ForwardFarms ใหม่ล่าสุดจากทั้งหมด 29 แห่งทั่วโลก ForwardFarm แต่ละแห่งถือเป็นสัญญาณของการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนที่ให้พื้นที่เกษตรกร นักวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับการทำงานร่วมกันและแบ่งปันความรู้ Bayer ForwardFarm ในประเทศอินเดียจะแสดงเทคนิคในการทำการเกษตรที่ล้ำสมัยและปรับให้เข้ากับความต้องการของเกษตรกรรายย่อยกว่า 150 ล้านรายในประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การเพาะปลูกข้าวอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการปฏิรูปเกษตรกรรม
Natasha Santos หัวหน้าฝ่ายดูแลด้านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนและเชิงกลยุทธ์ที่ไบเออร์ กล่าวว่า "สิ่งสำคัญที่เราดำเนินการคือเพื่อสร้างคุณค่าให้กับเกษตรกร เราตื่นเต้นที่จะได้นำโครงการ Bayer ForwardFarming ไปใช้ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก เราส่งเสริมและให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรรายย่อยโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความยั่งยืนและผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับพวกเราทุกคน"
การทำนาหว่าน การปลูกข้าวโดยการหว่าน: แนวทางที่ครอบคลุมและนำไปสู่ระบบการปฏิรูปเกษตรกรรม
สำหรับไบเออร์แล้ว การปฏิรูปเกษตรกรรมเป็นรูปแบบการผลิตพืชผลที่เน้นไปที่ผลลัพธ์เป็นหลัก ซึ่งคำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพดินเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายหลักเป็นการเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัว รวมถึงการบรรเทาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษาหรือฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์น้ำ และการเพิ่มผลผลิต การนำวิธีปฏิบัติหลายอย่างเกี่ยวกับเกษตรกรรมฟื้นฟูมาใช้ร่วมกันมีจุดมุ่งหมายในท้ายที่สุดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในแง่ของเศรษฐกิจและสังคมให้กับเกษตรกรและชุมชน
การปฏิรูปเกษตรกรรมในประเทศอินเดียมีศักยภาพค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในด้านการเพาะปลูกข้าวเนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ความต้องการในการสร้างระบบในการเพาะปลูกข้าวที่ยั่งยืนและอยู่รอดได้ในทางเศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การผลิตข้าวไม่เพียงแต่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย การทำนาหว่าน (Direct Seeded Rice (DSR) ของไบเออร์เป็นตัวอย่างที่ครอบคลุมและจับต้องได้มากที่สุดของการนำระบบการปฏิรูปเกษตรกรรมไปใช้จริง โดย DSR เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์เกือบทุกอย่างของการปฏิรูปเกษตรกรรมที่ไบเออร์กำลังให้ความสำคัญ เช่น การปรับปรุงคุณภาพดิน การลดปริมาณการใช้น้ำ และการเพิ่ม ความสามารถ ในการฟื้นตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
การปรับเปลี่ยนจากการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีการดำนาไปเป็นการทำนาหว่าน DSR ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำได้สูงสุด 30-40 เปอร์เซ็นต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลงสูงสุด 45 เปอร์เซ็นต์ และช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาแรงงานที่หาได้ยากและราคาแพงลงได้สูงสุด 40-50 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะในประเทศอินเดีย การทำเช่นนี้อาจช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้สูงสุดถึง 82 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และลดการใช้น้ำลงได้สูงสุดถึง 1.67 แสนล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2583 การนำระบบ DSR มาใช้สอดคล้องอย่างมากกับแนวทางของไบเออร์ต่อการปฏิรูปเกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปไบเออร์ได้มอบระบบด้านการดูแลพืชผลที่ปรับให้ตรงกับความต้องการให้แก่เกษตรกร
ผ่านโครงการ DirectAcres flagship project ของไบเออร์ ซึ่งมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุด ผลิตภัณฑ์อารักขาพืช เครื่องมือดิจิทัล บริการด้านการใช้เครื่องจักรในการเกษตร และโซลูชันด้านวิทยาการพืชไร่ ความพยายามเหล่านี้ได้รับการขับเคลื่อนโดยพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรจะมีกำไรจากการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยการปฏิรูปดังกล่าว
ปีที่แล้ว เกษตรกรชาวอินเดีย 5,000 รายได้ทำการปลูกข้าวแบบการทำนาหว่านได้สำเร็จในพื้นที่ 8,600 เฮกตาร์ ในโครงการ DirectAcres ไบเออร์จะให้การสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยกว่า 1 ล้านคนในประเทศอินเดียผ่านโครงการ DirectAcres ภายในปี 2573 นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะนำโครงการ DirectAcres ไปใช้ในประเทศที่มีการเพาะปลูกข้าวประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยจะเริ่มที่ประเทศฟิลิปปินส์
โซลูชันที่ออกแบบเพื่อการเกษตรของอินเดียโดยเฉพาะ
Ved Prakash Saini พันธมิตรรายแรกของ ForwardFarm ในประเทศอินเดีย ได้แสดงมุมมองในเชิงบวกเกี่ยวกับความร่วมมือในครั้งนี้ "ผมคาดหวังว่าการทำการปฏิรูปการเกษตรที่ไบเออร์แนะนำผ่านโครงการ Bayer ForwardFarming จะนำไปสู่ผลผลิตทางการเกษตรและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมากพร้อมกับทำให้การทำการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น การใช้เทคนิคการปลูกข้าวโดยการทำนาหว่านและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพของพืชไร่ ลดการใช้น้ำ และเพิ่มประสิทธิผลได้ ผมตั้งตารอที่จะได้เห็นประโยชน์เหล่านี้ด้วยตัวเองในขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความสามารถในการฟื้นตัวและอนาคตที่รุ่งเรืองสำหรับการเกษตร"
Bayer ForwardFarm ในอินเดีย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 18 เฮกตาร์ มีความพิเศษเนื่องจากเป็นที่รวบรวมด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้มีการนำวิธีปฏิบัติต่อไปนี้มาใช้
Simon Wiebusch ประธานบริษัทไบเออร์ในภูมิภาคเอเชียใต้ กล่าวว่า "ที่ไบเออร์ เรามองเห็นอนาคตของการปฏิรูปการเกษตรที่จะฟื้นฟูและส่งเสริมเรื่องของสิ่งแวดล้อม การเปิดตัวโครงการ Bayer ForwardFarming ในประเทศอินเดียถือเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องนี้ เราได้เสนอรูปแบบต่างๆที่ปรับให้เหมาะสมกับเกษตรกร เครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่ทันสมัย มาตรการเชิงรุกในการดูแลอย่างมีความรับผิดชอบ และการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ให้แก่เกษตรกร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลผลิต และปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตทางการเกษตรไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เรามุ่งมั่นส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้วิธีปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อสร้างภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ได้ในประเทศอินเดีย"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit