ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ โดยในปี เอเชียแปซิฟิกโรคสมองเสื่อม5โรคสมองเสื่อม คาดว่าจำนวนผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 6โรคสมองเสื่อม ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็น โรคอัลไซเมอร์.เอเชียแปซิฟิก พันล้านคน* ซึ่งมีการเรียกกลุ่มประชากรนี้ว่า "สึนามิสีเงิน" (Silver Tsunami) และจะกลายเป็นหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาคนี้ พร้อมกับมีการคาดการณ์ล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้น จากข้อมูลนี้ทำให้ ดร. แกรี่ สมอล สมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านโภชนาการของ Herbalife อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักโรคอัลไซเมอร์ พร้อมเรียนรู้วิธีรับมือเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์
การเปลี่ยนแปลงของสมองเมื่ออายุมากขึ้นและภัยคุกคามจากอัลไซเมอร์
เมื่อเราอายุมากขึ้น สมองของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการทำงานของจิตใจที่จะพัฒนาตามไปด้วย โดยสามารถแบ่งความเปลี่ยนแปลงออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
โรคอัลไซเมอร์มักถูกเรียกว่า "โรคที่มองไม่เห็น" เนื่องจากมีอาการแรกเริ่มที่หลายคนมักมองข้าม เช่น การหลงลืมเพียงเล็กน้อยหรือมีปัญหาในการจดจ่อ ซึ่งมักถูกมองข้ามว่าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงตามอายุทั่วไป แต่ความเข้าใจนี้อาจไม่ใช่เสมอไป โรคอัลไซเมอร์สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการ บางครั้งอาจเริ่มมีสัญญาณให้เห็นนานถึง 20 ปีก่อนที่อาการจะปรากฏ และเมื่อมีอาการ สมองอาจเสียหายรุนแรงไปแล้ว ดังนั้นการตรวจพบและการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญมาก
แนวทางป้องกันโรคด้วยโภชนาการและอาหารเสริม
หนึ่งในแนวทางที่มีศักยภาพที่สุดในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์คือการดูแลโภชนาการ โดยมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า อาหารที่เรารับประทานมีผลอย่างมากต่อสุขภาพสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคหัวใจและโรคสมองเสื่อมบ่งชี้ว่า การใช้แนวทางโภชนาการแบบองค์รวมอาจเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โดยการปรับอาหารให้เน้นไปที่อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ รวมทั้งปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้กระฉับกระเฉงมากขึ้น จะทำให้สามารถควบคุมความอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพสมองและสุขภาพโดยรวมได้
อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารบำรุงสมองอย่าง สารต้านอนุมูลอิสระ กรดไขมันโอเมก้า 3 และสารอาหารจำเป็นอื่นๆ สามารถสนับสนุนการทำงานของสมองและลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้
แนวทางการดูแลสมองแบบองค์รวม
นอกจากโภชนาการแล้ว ยังมีวิธีการเพิ่มเติมที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาและเสริมสร้างการทำงานของสมองเมื่ออายุมากขึ้นได้อย่าง การออกกำลังกายเป็นประจำที่ช่วยทั้งเรื่องการรักษาสุขภาพร่างกายและรักษาสุขภาพสมอง เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท และเพิ่มความยืดหยุ่นของการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพสมอง โดยผู้สูงวัยสามารถออกกำลังกายง่าย ๆ เช่น การเดินหรือการฝึกแบบต้านแรง รวมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ ซึ่งมีผลเชื่อมโยงกับโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย การกระตุ้นสมองผ่านกิจกรรมที่ท้าทาย เช่น การอ่าน การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือการเล่นเกมเชิงกลยุทธ์ ช่วยเสริมความทนทานของสมองและพัฒนาจิตใจ โดยงานวิจัย*****พบว่า ผู้ที่ทำกิจกรรมเหล่านี้บ่อยๆ มีแนวโน้มที่จะรักษาและพัฒนาความจำได้ดี รวมทั้งความเร็วในการประมวลผล ความสนใจ และการรับรู้ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งการกระตุ้นสมองจะช่วยกระตุ้นวงจรประสาทและสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้
นอกจากนี้ สุขภาพจิตยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ถูกมองข้าม ทั้งความเครียดเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ในทางกลับกัน อารมณ์และความสัมพันธ์ทางสังคมที่แข็งแกร่งจะช่วยป้องกันโรค ดังนั้น การสนับสนุนสุขภาพจิตในผู้สูงอายุผ่านการให้คำปรึกษา การทำกิจกรรมทางสังคม และการฝึกฝนสติสามารถช่วยรักษาการทำงานของสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ
แม้ "สึนามิผู้สูงวัย" จะใกล้เข้ามา แต่การเพิ่มขึ้นของโรคอัลไซเมอร์ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตาม เราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งออกกำลังกายทั้งร่างกายและสมองอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการดูแลสุขภาพจิตไปพร้อมกัน
หากต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม หรือติดตามเคล็ดลับด้านสุขภาพ โปรดติดตาม Facebook/HerbalifeThailandOfficial หรือ Instagram/HerbalifeThailandOfficial
หลายคนมักมองข้ามอาการเช่น นอนละเมอ ท้องผูกเรื้อรัง มือสั่น แต่รู้หรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณร้ายของ "โรคพาร์กินสัน" หนึ่งในกลุ่ม "โรคสมองเสื่อม" ที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์ และที่น่าตกใจกว่านั้นคือ โรคนี้ไม่ได้เป็นแค่โรคของผู้สูงอายุอีกต่อไป เพราะหลายคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อยโดยไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่ากำลังป่วยอยู่ นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและโรคพาร์กินสันจากโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงการเกิดโรคพาร์กินสันว่า "โรคนี้เกิดจากการเสื่อมสภาพของ
เนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
—
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดกับผู้คนนับล้านทั่วโลก โดยด้านอ...
สูงวัยรู้ทันอัลไซเมอร์ ดูแลสุขภาพสมองทุกวันได้ด้วยตัวเอง
—
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ โดยในปี 2050 คาดว่าจำนวนผู้ส...
ซินโครตรอนไทยร่วมโปรเจกต์สร้างแผนที่สามมิติสมองครั้งแรกของโลก
—
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคทางประสาทหลายๆ โรค เช่น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเม...
ทีเซลส์ ร่วมกับ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ หัวข้อ "การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์"
—
ทีเซลส์ ร่ว...
เตรียมพร้อม ป้องกัน อาการหลงลืม ในภาวะโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
—
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมที่พบได้ในผู้สู...
กรมการแพทย์พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมครบวงจร
—
โรคสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (geriatric syndrome) ที่พบมากขึ้นและกำลังเป็นปัญหาทางส...
การประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์เผยไลฟ์สไตล์รักสุขภาพอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์
—
บรรดาผู้เชี่ยวชาญร่วมอภิปร...