การตรวจภายในเป็นการตรวจเช็คหาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เกี่ยวกับประจำเดือน ตกขาว ความผิดปกติต่างๆ ของระบบสืบพันธ์และทำการตรวจเพื่อวินิจฉัย และวางแผนการรักษา รวมทั้งแนะนำการดูแลสุขภาพของสตรี การตรวจเริ่มตั้งแต่การดูความผิดปกติจากภายนอกและการตกขาว ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก และรังไข่ รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย การตรวจภายในสามารถบ่งบอกความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานได้ เช่น เนื้องอกมดลูก, โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เนื้องอกรังไข่, การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานและยังสามารถมาคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย
กรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติแนะนำให้ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคนควรได้รับการตรวจภายในเพื่อคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตรวจหามะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจที่อายุประมาณ 30 ปี แต่ถ้ามีความผิดปกติแนะนำให้มาตรวจทันที นอกจากนี้อาการทั่วไปที่ผู้หญิงมักคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เช่น ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว อาจเป็นเรื่องที่ผิดปกติได้ จึงควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง
เพราะหากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคและมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ คุณผู้หญิงทั้งหลายจึงควรดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น และมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
การเตรียมตัวก่อนไปรับการตรวจภายใน ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ และการใช้ยาเหน็บที่บริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลาอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง โดยผู้ที่มีประจำเดือนไม่สามารถเข้ารับการตรวจภายในได้ ก่อนตรวจแพทย์จะมีการสอบถามซักประวัติ เพื่อนำมาใช้ในการประเมินอาการร่วมกับผลตรวจ เช่น
- เรื่องปัญหาสุขภาพทั่วไป
- ระยะเวลาในการมีประจำเดือน มามากน้อยแค่ไหน?
- มีอาการตกขาวผิดปกติและมีอาการคันที่อวัยวะเพศหรือไม่
- มีอาการปวดประจำเดือนไหม? เคยมีเพศสัมพันธ์หรือมีบุตรมาก่อนหรือไม่?
โดยสามารถทราบผลตรวจได้ภายในวันเดียว หรือในกรณีของผู้ที่เข้ารับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีแปปสเมียร์ อาจใช้เวลา 1 สัปดาห์ การตรวจภายในใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 10 นาที
การตรวจภายในเป็นการตรวจเช็คหาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เกี่ยวกับประจำเดือน ตกขาว ความผิดปกติต่างๆ ของระบบสืบพันธ์และทำการตรวจเพื่อวินิจฉัย และวางแผนการรักษา รวมทั้งแนะนำการดูแลสุขภาพของสตรี การตรวจเริ่มตั้งแต่การดูความผิดปกติจากภายนอกและการตกขาว ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก และรังไข่ รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย การตรวจภายในสามารถบ่งบอกความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานได้ เช่น เนื้องอกมดลูก, โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่,
ปวดท้องทุกเดือน ตรวจ "ช็อกโกแลตซีสต์" หรือยัง?
—
ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว โรคนี้เกิดจากเซลล์...
MAY is Pelvic Pain Awareness โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดแคมเปญส่งสารรณรงค์สร้างการตระหนักรู้ "ปวดท้องน้อย" พูดสิ พูดได้ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงต้องระวัง
—
MAY is Pelv...
ภาพข่าว: โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จัดกิจกรรม“หญิงยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ” (Modern Women give attention to health)
—
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จัดกิจกรรม"หญิงยุคใหม่ใส่ใ...
วัยรุ่น วัยทำงาน...ใครปวดท้องประจำเดือนบ่อยครั้ง โปรดระวัง 'โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่’
—
"ปวดท้องประจำเดือน" เป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้หญิงห...
ปวดประจำเดือนรุนแรง ภัยเงียบของสาวโสด
—
ผู้หญิงไทยจำนวนมากไม่รู้ว่าอาการปวดประจำเดือน หรือ "เมนส์" ที่รุนแรง บางครั้งถึงขั้นนอนซม เป็นลม ไม่ได้เป็น...
หมดกังวลหายห่วง “โรคช็อกโกแลตซีส” เมื่อผ่าตัดผ่านกล้อง 3 มิติ
—
ช็อกโกแลตซีส เป็นซีสที่รังไข่ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเดียวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาเหตุ...