นางเลิศลักษณ์
ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการ
สำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด
โรคไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล กทม.ว่า
กรุงเทพมหานคร โดย สนพ.ได้เตรียมมาตรการเฝ้าระวัง พร้อมจัดทำแนวทางควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพต่าง ๆ โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด กทม.เฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางการรักษาโรค บริหารจัดการสำรองยาให้เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วย พร้อมจัดเตรียม
วัคซีนป้องกันควบคุมโรค ได้แก่ โรคหัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสให้กับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกันได้มอบหมายกลุ่มงานอนามัยชุมชนของโรงพยาบาลในสังกัดทั้ง 11 แห่ง ให้บริการเชิงรุกเผยแพร่ความรู้ เช่น การจัดกิจกรรม นิทรรศการแก่ประชาชนที่มารับบริการและประชาชนในพื้นที่โดยรอบโรงพยาบาลให้ตระหนักถึงการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมสถานพยาบาลของ กทม.โดยจัดบริการแผนกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ควบคู่กับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และแจ้งโรงพยาบาลในสังกัด กทม.ทั้ง 12 แห่ง ให้รับทราบแนวทางการจัดบริการ ซึ่งประชาชนสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกันได้ โดยฉีดที่แขนคนละข้าง หากฉีดไม่พร้อมกันสามารถฉีดเมื่อใดก็ได้ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการฉีดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ต้องเป็นประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 7 กลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) โรคอ้วน (ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร และผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้นอกจากนั้น สนพ.ยังได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้และประชาสัมพันธ์สร้างความความเข้าใจ ย้ำเตือนประชาชนต้องระมัดระวังดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและครบ 5 หมู่ สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ ล้างมือให้สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ป่วยควรพักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ควรเข้าไปที่ชุมชน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งเชิญชวนประชาชนให้มาฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่สามารถฉีดพร้อมกันได้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและความเสี่ยงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ติดต่อได้ที่หน่วยบริการ หรือสถานพยาบาลที่รับบริการเป็นประจำ หรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ "กระเป๋าสุขภาพ" แอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" (2) จองสิทธิการฉีดวัคซีนฯ ล่วงหน้าโรงพยาบาลสังกัด กทม.จองผ่านแอปพลิเคชัน "QueQ" หรือผ่าน "กระเป๋าสุขภาพ" แอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ได้ โดยระบบเริ่มเปิดให้บริการถึงวันที่ 31 ส.ค.66 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่สะดวกจองผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" สามารถ โทร.สายด่วน สปสช.1330 กด 8 เพื่อจองคิวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งนี้ การจองนัดหมายเข้ารับบริการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหน่วยบริการ หากไม่สามารถทำนัดหมายได้ กรุณาติดต่อสอบถามการเข้ารับบริการกับหน่วยบริการโดยตรง
HTML::image(