ผลงานส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบ จนทำให้ชุมชนสามารถ "แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ" ขยายสู่การ "สร้างอาชีพ" "สร้างสวัสดิการชุมชน" เป็นต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์ที่สร้างประโยชน์หลายด้าน ทำให้ "วิโรจน์ คงปัญญา" ได้รับการเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิสัมมาชีพเป็น "ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ" ประจำปี กลุ่มออมทรัพย์566 ด้วยผลงานด้านการเงินและสวัสดิการชุมชน
"การออม" ถือเป็นแนวทางสำคัญตามหลักสัมมาชีพที่ว่าด้วยการประกอบอาชีพสุจริต มีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ ไม่เบียดเบียนตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เหมือนอย่างที่ "วิโรจน์ คงปัญญา" ประธานวิสาหกิจชุมชนกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ยึดถือ
เขามีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนดังกล่าวมีการออมอย่างเป็นระบบ และ "ริเริ่ม" ผลักดันนโยบายของกลุ่มออมทรัพย์ ให้พัฒนาจากการออมทรัพย์เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไปสู่การสร้างความสามารถในการผลิตและสวัสดิการชุมชน
"คิดค้น" วิธีการบริหารระบบการเงิน การให้เงินกู้ การติดตามสมาชิก มีระบบบัญชีที่ได้รับมาตรฐาน
ขยายสู่การพัฒนาอาชีพที่มั่นคง สร้างเศรษฐกิจที่หลากหลายให้กับชุมชน ขยายสมาชิกกลุ่มไปสู่พื้นที่ในอำเภออื่นๆ
ประการสำคัญ สามารถดำเนินการมาได้อย่างมั่นคงเป็นเวลาราว 40 ปี จนถือเป็นโมเดลการบริหารกลุ่มออมทรัพย์
ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์ "แห่งแรก" และ "แห่งเดียว" ในพื้นที่ภาคใต้ จากกรมพัฒนาชุมชนตั้งแต่ปี 2554 เพื่อเป็นพื้นที่ถ่ายทอดโมเดลการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ให้กับเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยเปิดอบรมปีละ 1 ครั้ง
จากศักยภาพในการจัดการเงินออมของชุมชน "วิโรจน์" ยังได้ขยายสู่การเชื่อมโยงในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการการศึกษา สุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันให้สมาชิก จนถือเป็นชุมชนต้นแบบในการดูแลตนเองอีกแห่งหนึ่ง
ย้อนกลับไปถึงเหตุที่ทำให้ "วิโรจน์" เกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนผลไม้ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ก็เนื่องจาก "บ้านดอนคา" เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 38 กิโลเมตร ปัญหาระยะทาง ทำให้แม้ชุมชนจะพอมีเงินเก็บออม แต่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปฝากเงินกับธนาคาร ประกอบกับในปี 2526 มีตัวอย่างการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นในหมู่บ้านใกล้เคียง คือ "บ้านอ้ายเขียว" จึงเป็นแรงจูงใจให้ "บ้านดอนคา" ริเริ่มที่จะจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ด้วยเช่นกัน
จากสมาชิกเริ่มแรก 37 คน เงินสะสมก้อนแรก 2,857 บาท จัดตั้งเป็น "กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา" เมื่อ 4 เมษายน 2526 โดยใช้ศาลาข้างทางเป็นที่ทำการ กลุ่มออมทรัพย์ที่ดำเนินการกันเองโดยชาวบ้านได้ขยายตัวขึ้น และ "วิโรจน์" ได้เข้ามาเป็นประธานกลุ่มคนที่ 3 จัดตั้งเป็น "วิสาหกิจชุมชนกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา" ขึ้น เมื่อ 19 ธันวาคม 2548 พร้อมดำรงตำแหน่งประธานวิสาหกิจชุมชนฯ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกองทุนออมทรัพย์ฯ แห่งนี้ มียอดเงินฝาก (ม.ค.-ต.ค.2566) ราว 150 ล้านบาท มีกำไรจากการบริหารจัดการและกิจการอื่นๆ ในแขนงของกลุ่ม ประมาณปีละ 10 ล้านบาท มีสมาชิกกว่า 14,000 คน และบริหารจัดการสาขาในอีกสอง 2 อำเภอ คือ อำเภอนบพิตำและอำเภอท่าศาลา
ในฐานะประธานกลุ่มฯ "วิโรจน์" ถือเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนผลักดันนโยบาย เพื่อสร้างรูปแบบการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์ที่ได้มาตรฐาน จากเดิมที่ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการการออม เขาได้จัดให้มีมาตรฐานระบบบัญชีที่เป็นสากล จ้างผู้ตรวจสอบบัญชีมาตรวจสอบ นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวมข้อมูล และมีความโปร่งใส ในทุกเดือนจะแสดงสถานะบัญชีให้สมาชิกรับรู้ทั่วกัน
สิ่งเหล่านี้ทำให้การดำเนินการเติบโตแบบก้าวกระโดด นำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้สมาชิก ทั้งด้านการให้เงินกู้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การนำเงินออมไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้ การจัดสวัสดิการในระดับปัจเจก ครัวเรือนและชุมชน
โดยวิสาหกิจฯ แห่งนี้จัดระบบการระดมเงินและการกู้ยืมของสมาชิกให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้จ่ายของสมาชิกซึ่งเป็นคนในภาคชนบท แทนการกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยสูง
ประกอบด้วย เงินกู้สำหรับการประกอบอาชีพ เช่น วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร, เงินกู้เพื่องานพิธีกรรม เช่น งานบวช แต่งงาน, เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน และเงินกู้เพื่อซื้อสินค้าอุปโภค เช่น มอเตอร์ไซค์ ทีวี รถยนต์
สำหรับการกู้เงินเพื่อกรณีต่างๆ วิสาหกิจฯ จะกำหนดงวดการชำระคืนพร้อมคุณสมบัติเบื้องต้นว่าด้วยการออม และประเภทของการกู้ยืม เช่น กรณีกู้ยืมฉุกเฉิน (ซึ่งมีวงเงิน ไม่เกิน 3,000 บาท สมาชิกจะค้ำประกันด้วยสมุดเงินฝาก) กรณีการกู้สามัญ จะต้องมีสมาชิก 2 คนค้ำประกัน และบางกรณีจะต้องมีหลักทรัพย์ประกอบ
แต่หากเป็นการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน จะเป็นการกู้แบบจำนอง คือ วิสาหกิจเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นก่อนแล้วให้สมาชิกผ่อนชำระตามวิธีการของการออม/การชำระคืน
วิสาหกิจแห่งนี้ได้จัดวางมาตรการในการติดตามหนี้ในกรณีที่สมาชิกขาดส่งเงินตามกำหนด โดยกำหนดมาตรการไว้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การส่งจดหมายเตือน การให้กรรมการติดตาม การให้ทนายแจ้งเป็นหนังสือ การให้ทนายความเจรจาตกลง และดำเนินฟ้องคดีต่อศาล
ปรากฏว่า ตั้งแต่มีการจัดตั้งกลุ่ม มีผู้ที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ทั้งสิ้น 65 ราย แต่ไม่มีรายใดที่จะต้องอาศัยการตัดสินโดยศาล
นอกเหนือจากวางระบบการกู้ยืมเงินที่ประสิทธิภาพแล้ว วิสาหกิจฯ บ้านดอนคา ยังได้จัดสรรเงินมาลงทุน ซึ่งถือเป็นการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับชุมชน เช่น การร่วมลงทุนและร่วมบริหารในกิจการโรงแป้งขนมจีน, การร่วมลงทุนกับเทศบาลตำบลทอนหงส์ ในกิจการโรงปุ๋ยชีวภาพ, การร่วมลงทุนกับกลุ่มเกษตรกรในกิจการโรงรมยางพาราและอบแห้ง เป็นต้น
ด้านสวัสดิการแก่สมาชิก จะมีครอบคลุมตั้งแต่สวัสดิการคลอดบุตร ทุนการศึกษาให้เยาวชน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการบำเหน็จผู้ชรา สวัสดิการกรณีสมาชิกเสียชีวิต พิธีฌาปนกิจศพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปันผล การร่วมพัฒนา สร้างสาธารณประโยชน์ให้แก่ชุมชนอีกด้วย
ในการจัดสรรกำไร จะแบ่งออกเป็นกรณีต่างๆ โดยเป็นการปันผลต่อสมาชิกตามการถือหุ้น 60 % เป็นสวัสดิการสำหรับสมาชิก 20 % ตอบแทนกรรมการ 10 % สำรองตามกฎหมาย 5 % และเป็นกำไรสะสมที่สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อการลงทุนต่างๆ 5 %
หลักการบริหารจัดการวิสาหกิจฯ กลุ่มออมทรัพย์ของ "วิโรจน์" มี 5 ประการ คือ
การบริหารงาน 5 ประการ ซึ่งรวมเอาหลักคุณธรรม 5 ประการมารวมไว้ด้วยนั้น ถือเป็นกลไกการบริหารที่บ่งชี้ถึงการคำนึงถึงหลักสัมมาชีพของ "วิโรจน์ คงปัญญา" ที่ถือเอาการประพฤติปฏิบัติชอบในการประกอบอาชีพเป็นหลักการสำคัญ ทำให้กลุ่มออมทรัพย์บ้านดอนคา จากที่มีขึ้นเพื่อการออมทรัพย์เสมือนมีธนาคารเป็นของตนเองในชุมชน เติบโตไปสู่การสร้างกิจการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อสมาชิก และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่สุด จนกลายเป็นโมเดลสร้างชุมชนเข้มแข็งจากการออมและ ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้
สถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน จ.เชียงใหม่ ถือเป็นชุมชนที่มีโมเดลบริหารจัดการการเงินที่ดี สร้างการออม สร้างเงินทุนประกอบอาชีพ และจัดสวัสดิการที่ดีแก่สมาชิก จึงเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ประเภท การเงินและสวัสดิการชุมชน ปี 2566 ที่มอบโดยมูลนิธิสัมมาชีพ สถาบันการเงินชุมชนแห่งนี้ยังโดดเด่นด้าน "ระบบการบริหารจัดการ" โดยสร้าง "การมีส่วนร่วม" และแบ่งบทบาทการทำงานฝ่ายต่างๆ อย่างชัดเจน นำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อมูลสมาชิก ระบบบัญชี การเงิน ทำให้การบริหารมีความโปร่งใส
'วิโรจน์ คงปัญญา' ปราชญ์ฯ ต้นแบบสัมมาชีพ สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วย 'การออม"
—
ผลงานส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบ จนทำให้ชุมชนสามารถ "แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ" ขยายส...
มูลนิธิสัมมาชีพ ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศล เพื่อมูลนิธิสัมมาชีพ ประจำปี 2568
—
มูลนิธิสัมมาชีพ ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศล เพื่อมูลนิธิ...
"มูลนิธิสัมมาชีพ" มอบรางวัล "ต้นแบบสัมมาชีพ" ปี 2567 เชิดชูเกียรติ บุคคล-เอสเอ็มอี-วิสาหกิจชุมชน-ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ยึดแนวทางสัมมาชีพ-สร้างสังคมยั่งยืน
—
มูลนิธิสัมม...
มูลนิธิสัมมาชีพยกย่อง 3 ปราชญ์ชาวบ้าน เตรียมมอบรางวัล 'ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ' 17 ธ.ค. นี้
—
มูลนิธิสัมมาชีพคัดเลือก 3 บุคคลรับรางวัล "ปราชญ์ชาวบ้าน...
มูลนิธิสัมมาชีพมอบรางวัล 'เกรียงไกร' ประธาน ส.อ.ท.บุคคลต้นแบบสัมมาชีพ ปี'67เตรียมจัดงานมอบรางวัล 17 ธ.ค. นี้
—
คณะกรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ มีมติเอกฉันท์เลือ...
มูลนิธิสัมมาชีพ-ททท.-ชุมชนเกาะลัดอีแท่น-สวนหลังบ้าน ร่วมจัด มหกรรมท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว คิกออฟ 10 ชุมชนทั่วไทย หวังกระจายรายได้ท้องถิ่น
—
มูลนิธิสัมมาชีพ...
"มูลนิธิสัมมาชีพ" มอบรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ปี 66 เชิดชู "คน-องค์กร" นำสังคมสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
—
"มูลนิธิสัมมาชีพ" มอบ 15 รางวัล "ต้นแบบสัมมาชีพ" ปี 2...
"เทิร์นทูอาร์ต" แปลงวัสดุเหลือใช้ สู่ "โปรดักท์ดีไซน์" ช่วยโลก-ชุมชน
—
คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์งานศิลปะจากเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อจัดการกับปัญหาใหญ่ในขณะนี้ จนก...