Life ชีวิต คำสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งหนึ่งในนั้นคือการมีลมหายใจ เข้า ออกเป็นวินาที แต่หากถามคนทั่วไปว่าอยากมีชีวิตอย่างไร ทุกคนจะตอบว่าอยากมีชีวิตที่มีสีสัน อยากตื่นเช้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์ ดูพระอาทิตย์ขึ้น แต่งตัวสวย ๆ ออกไปเที่ยว ไปหาอะไรทานอร่อย ๆ กับเพื่อน อยากไปเดินเล่นชายทะเลใส่ชุดว่ายน้ำสวย ๆ ใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อน กับแฟน กับครอบครัวที่รัก ซึ่งก็คือ" ชีวิตชีวา" และในบทความนี้ นพ.ปิยศักดิ์ ทหราวานิช แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเต้านมและเสริมสร้างเนื้อเต้านม ศูนย์ศัลยกรรม (General Surgery Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้มาบอกเล่าเรื่อง Life After Breast Cancer ให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ถึงแนวทางการผ่าตัดรักษาและแนวทางการใช้ชีวิตหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม เพื่อคลายความกังวลให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมว่าจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติต่อไปในอนาคต
หากวันหนึ่งมาตรวจเต้านม หมอแจ้งว่ามีก้อนต้องสงสัยมะเร็งต้องเจาะพิสูจน์ ชีวิตชีวาที่มีนั้นก็เริ่มมีเมฆฝนหม่นหมอง กินไม่ได้นอนไม่หลับ ตื่นมาก็หดหู่ไม่แจ่มใสเหมื่อนมีพายุฝนในชีวิตทุกวัน พอถึงวันนัดฟังผล เสียงฟ้าคำรามก็ดังไปทั่ว มันเครียดมันสุดจะบรรยาย และแล้วเมื่อหมอพูดว่า "ผลชิ้นเนื้อตรวจพบว่าเป็นเนื้อร้าย" ฟ้าก็ผ่าลงกลางกบาลอย่างจัง หัวชา หน้าชา ตัวชา ร้องไห้ในใจหนักมาก ชีวิตที่มีชีวาคงไม่มีอีกแล้ว
แล้วชีวิตแบบลมหายใจจะมีได้อีกนานไหม? อย่าตัดเต้านมได้ไหม? (พึ่งมีแฟน พึ่งแต่งงาน) ชีวิตคู่คงพังหมดแน่!
ผมอยากให้คนไข้ทุกคนตั้งสติแล้วฟังให้ดีว่า "การผ่าตัดรักษามุ่งเน้นให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีชีวิตชีวา" ไม่ใช่แต่ให้มีชีวิตรอด (Save life) เท่านั้น
'ถ้าต้องผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม กับทางเลือกที่มากขึ้นในยุคปัจจุบัน'
อยากให้คนที่เป็นมะเร็งเต้านมมีกำลังใจและศรัทธาในการรักษา อยากให้มีมายด์เซ็ตว่ามะเร็งเต้านมรักษาได้ ซึ่งปัจจุบัน สถิติผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 0 มีโอกาสหายถึง 99% ระยะที่ 1 โอกาสหาย 90% ระยะที่ 2 โอกาสหาย 80-85% แต่สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มจากการวินิจฉัยที่ถูกต้อง มีผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านรังสีที่บ่งบอกว่ารอยโรคอยู่ตรงไหน เมื่อสรุปว่าเป็นเนื้อร้ายก็เข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งนวเวชมีทีมสหสาขาที่จะดูว่าคนไข้ควรรักษาตามลำดับขั้นอย่างไรผ่าตัด ใช้ยา ฉายแสง หรือเคมีบำบัด
แต่ปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้น เช่น ถ้าก้อนเนื้อใหญ่ แต่คนไข้ต้องการสงวนเต้า ก็ทำได้ โดยให้ยาเพื่อให้ขนาดก้อนเล็กลงก่อน เพื่อให้ผ่าตัดแล้วยังเหลือเต้านมในสภาพได้รูปทรงสวยงาม หรือกรณีมีรอยโรคหลายจุดซึ่งจำเป็นต้องตัดทั้งเต้า แต่คนไข้ไม่ต้องการเสียเต้า เราก็จะคว้านเนื้อเต้านมข้างในออก เก็บผิวหนัง หัวนม ลานหัวนม แล้วนำเนื้อเยื่อของคนไข้ หรือซิลิโคน ใส่เข้าไปทดแทนเนื้อเต้านมที่นำออกไปนั้น หรือแม้แต่การผ่าตัดเพื่อป้องกัน ซึ่งจะทำในกรณีที่ตรวจพันธุกรรมพบว่ามียีนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมก็จะนำเทคนิคการผ่าตัดนี้มาใช้ ทั้งนี้ที่นวเวชก็สามารถตรวจพันธุกรรมรวมถึงการผ่าตัดเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน
"โรงพยาบาลนวเวช" มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่ดี และเข้าถึงง่าย (Accessible Quality Healthcare) พร้อมดูแลสุขภาพของทุกคนอย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์เฉพาะทาง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม (General Surgery Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 02 483 9999 I www.navavej.com
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิง สถิติปัจจุบันพบ 30-40 คนต่อประชากร 100,000 คน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายพบได้เพียง 1% ของมะเร็งในผู้ชาย และพบมากในช่วงอายุ 45-50 ปี สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันทั้งกรรมพันธุ์ และความผิดปกติอื่นที่เกิดขึ้นเองภายหลัง บทความให้ความรู้โดย พญ.ชุตินันท์ วัชรกุล แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษาของเต้านม แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลนวเวช ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นสาระความรู้
Life After Breast Cancer แนวทางการใช้ชีวิตหลังรักษามะเร็งเต้านม
—
Life ชีวิต คำสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งหนึ่งในนั้นคือการมีลมหายใจ เข้า ออกเป็นวินาที แต...
รพ.นวเวช ร่วมกับวาโก้ สนับสนุนผู้หญิงไทยห่างไกลมะเร็งเต้านม มอบคูปองส่วนลดตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ตลอดเดือนตุลาคม 2565
—
"โรงพยาบาลนวเวช" โรงพยาบาลย่านเกษ...
งานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต"
—
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัส...
รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ
—
รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...
ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน
—
นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...
5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...
รพ.บางมด ก้าวสู่ รพ.ความงามและการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร Bangmod Aesthetic Hospital ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความงามระดับเอเชีย
—
โรงพยาบาลบางมด โดย นพ.สุรสิทธ...
วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ
—
โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...
โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน
—
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...