กองทุน ววน. โดย สกสว. บพข. จับมือ มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่าย 23 หน่วยงาน ลงนาม MOU ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการท่องเที่ยวไทยบนเส้นทางรถไฟ
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และภาคีเครือข่ายรวม 23 หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคตโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัย "การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ - ลำปางไปยังพิษณุโลก)" ที่สนับสนุนทุนวิจัยโดย กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ผ่านช่องทางระบบออนไลน์ร่วมกันกับเครือข่ายทั่วประเท
ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานที่มีระบบการบริหารจัดการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ วิจัยและพัฒนา ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ทำหน้าที่บริหารจัดการแผนงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 และสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยเส้นทางรถไฟไปใช้ประโยชน์ นับว่าเป็นผลงานที่มีศักยภาพสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวมูลค่าสูงของประเทศเป็นอย่างมาก
ขณะที่ ในปี 2567 สกสว.และบพข.มีแผนการส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ผ่านมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4 แห่งร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
1) ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกและ สุโขทัย) แผนงานวิจัย "การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ส่วนขยาย (เชียงใหม่ - ลำปาง ไปยัง สวรรคโลก)" โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2) ภาคใต้ (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช) แผนงานวิจัย "การเชื่อมโยง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางศักยภาพของภาคใต้บนฐานอัตลักษณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หาดใหญ่ - สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราชและตรัง)" โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3) ภาคอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย) แผนงานวิจัย "การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงในเส้นทางอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย)" โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4) ภาคอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี) แผนงานวิจัย "การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้าง มูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรมและความเชื่อในเส้นทางอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี)" โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
"สกสว. และ บพข.เป็นหน่วยงานสำคัญของรัฐในการจัดทำแผนพัฒนาการวิจัย บริหารจัดสรรงบประมาณการวิจัย รวมทั้ง มีระบบติดตามการใช้ประโยชน์จากการวิจัยของประเทศ จึงได้จัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 สนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์/เชิงสาธารณประโยชน์ หรือ Research Utilization : RU เพื่อเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรถไฟของประเทศไทย จำนวน 25 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางแสวงหาประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟ ราว 5,000 คน ใน 19 จังหวัดเป้าหมายทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง มีมูลการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ราว 475 ล้าน ภายในปี 2570 หรือ เฉลี่ยจังหวัดละ 25 ล้านบาท" ผู้แทน ผอ.สกสว. กล่าวสรุป
การผนึกกำลังกับการรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว 6 จังหวัดภาคเหนือ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และภาค 6 รวมทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ที่ร่วม MOU ในวันนี้ สามารถบูรณาการความร่วมมือเพื่อมุ่งยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟและบนเส้นทางรถไฟ ผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ อาหารท้องถิ่น สุนทรียทางดนตรี การออกแบบ/ดีไชน์เครื่องแต่งกาย สินค้าและผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกที่เข้ากับการเดินทาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งมรดกทางธรรมชาติของประเทศไทยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้ง ยังได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น สร้างโอกาสในการทำงานและสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นตามเส้นทางรถไฟดังกล่าว
โดยมี 23 หน่วยงานร่วมลงนาม MOU ดังนี้ 1.การรถไฟแห่งประเทศไทย 2.จังหวัดลำปาง 3.จังหวัดลำพูน 4.จังหวัดเชียงใหม่ 5.จังหวัดแพร่ 6.จังหวัดอุตรดิตถ์ 7.จังหวัดพิษณุโลก 8.กรมการท่องเที่ยว 9.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำปาง 10.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน 11.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 12.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ 13.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ 14.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พิษณุโลก 15.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลำปาง 16.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ 17.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ 18.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก 19.ตำรวจภูธรภาค 5 20.ตำรวจภูธรภาค 6 21.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 22.สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ 23.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit