RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร จัดเวทีเสวนา "Beyond Just Marketing" เผย 5 แนวคิดของผู้นำด้านการตลาด ให้เป็นนักสร้างการเติบโต พร้อมแนะหลักสูตร Marketing Transformation Xponential ส่งเสริมทักษะสำหรับผู้บริหารด้านการตลาดยุคใหม่
RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ผู้ก่อตั้งและออกแบบหลักสูตร MTX หรือ Marketing Transformation Xponential จัดงานเสวนา "MTX2 Xclusive Session" ในหัวข้อ "Beyond Just Marketing" โดยได้รับเกียรติผู้บริหารชั้นนำด้านการตลาดร่วมให้มุมมองด้านการตลาดยุคใหม่ที่นักการตลาดไม่สามารถทำแค่การตลาด แต่ต้องเป็น Growth Leader หรือ 'นักสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ'
จากรายงานของ J.P. Morgan พบว่าความท้าทายที่ธุรกิจได้เจอในปี 2566 มีหลากหลายอย่างที่ได้ฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจไว้ทั้งระดับองค์กรขนาดใหญ่และองค์กรขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาค่าเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ในหลายธุรกิจและการชะลอตัวด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค ล้วนทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจหรือนักการตลาดต้องเร่งหาทางออก เร่งสร้างแคมเปญหรือธุรกิจใหม่ๆเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ที่กำลังจะส่งผลระยะยาวต่อธุรกิจในอนาคต สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารการตลาดต้องเข้าใจหน้าที่ใหม่ของนักการตลาด คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล เทคโนโลยี และเครื่องมือได้เหมือนกัน
โดยงานเสวนาในครั้งนี้ RISE ได้รับเกียรติผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศมาร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงกลยุทธ์ รวมถึงให้คำแนะนำในการสร้างการเติบโตและนำองค์กรสู่ความสำเร็จด้วยแนวคิดด้านการตลาดของโลกยุคใหม่เพื่อให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในเซสชั่น 'Wisdom from Transformation: Moving People towards the Future' ซึ่งเป็นหัวข้อพิเศษของงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณปัทมาวลัย รัตนพล หัวหน้าคณะที่ปรึกษาบริหาร ของบมจ. เอส แอนด์ พี ซินดิเคท / อาหารและเครื่องดื่ม และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ที่มีประสบการณ์ทรานส์ฟอร์มแบรนด์ในเครือในหลากหลายอุตสาหกรรม มาร่วมฉายภาพของโลกการตลาดยุคใหม่ในฐานะของผู้บริหารที่เข้าใจที่แม้ไม่ได้มีตำแหน่งการตลาดโดยตรง แต่นำเรื่องของการตลาดมาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต พร้อมให้นิยามของคำว่า "การตลาด" ในรูปแบบใหม่ซึ่งเน้นที่การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจเป็นหลัก โดยได้สรุปสาระสำคัญเป็น 5 ข้อ ที่จะมาเปลี่ยนแนวคิดของผู้นำและผู้บริหารการตลาดผ่านนิยามใหม่ของการเป็นผู้นำของงานด้านการตลาด ดังนี้
1. ชื่อตำแหน่งงานไม่ได้บ่งบอกแค่สถานะ แต่คือผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวังจากเรา
ชื่อตำแหน่งของผู้บริหารไม่ได้เป็นเพียงสถานะที่ระบุความสำคัญของเราต่อองค์กร แต่เป็นความรับผิดชอบที่ผู้บริหารต้องแบกรับ โดยมีผลลัพธ์ที่ต้องขับเคลื่อนให้สำเร็จเป็นมาตรวัด หากเปรียบในเชิงการตลาด อาจกล่าวได้ว่า ชื่อตำแหน่งถือเป็นเครื่องหมายการค้า หรือ Branding ส่วนตัวของเรา โดยมีความสามารถเป็นเหมือนผลิตภัณฑ์หรือ Product ที่จะต้องขับเคลื่อนให้ตรงตามสิ่งที่เราได้สร้างความเชื่อมั่นเอาไว้ ดังนั้น การที่ผู้บริหารด้านการตลาดจะประสบความสำเร็จได้จึงต้องตั้งคำถามอยู่เสมอว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่เน้นไปที่ผลลัพธ์ตามที่ชื่อตำแหน่งการันตีเราเอาไว้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยสะท้อนการทำงานทุกอย่างของเรา เช่น หากเราต้องการทำแคมเปญการตลาด เพียงเพราะอยากทำหรือทำตามสมัยนิยม ก็จะไม่ถือว่าเราสามารถบรรลุความสำเร็จได้อย่างแท้จริง หน้าที่ของผู้บริหารจึงเป็นการยึดกุมกุญแจสำคัญอย่างการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับทุกสิ่งที่เราทำเอาไว้ เพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างแท้จริง
2.แก่นหลัก 3 ประการของการตลาด ยังคงเป็น Customer, Employee และ Performance
สิ่งแรกที่ผู้บริหารทุกคนควรต้องทำความเข้าใจคือ Customer Expectation หรือ "ความคาดหวังของผู้บริโภค" ที่ต้องรู้ให้ลึกเข้าไปว่าพวกเขากำลังต้องการอะไรจากแบรนด์ของเรา เพื่อมอบสิ่งนั้นให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เพราะยุคปัจจุบันเราไม่สามารถมองว่าลูกค้าคือพระเจ้าได้อีกต่อไป หากแต่ให้มองพวกเขาเป็นเหมือนแฟนคลับที่พร้อมจะมอบทุกอย่างให้หากตกหลุมรักแบรนด์เราไปแล้ว ซึ่งคนที่มีบทบาทอย่างมากในการทำให้เกิดความรู้สึกนี้คือ Employee หรือพนักงาน เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากที่สุด และเป็นเสมือนนักการตลาดด่านหน้าตัวจริง เป็นเหมือน Brand Ambassador ที่เข้าใจความคาดหวัง ปัญหาและความต้องการของลูกค้ามากที่สุด และเป็นผู้ที่ส่งต่อความเชื่อใจเพื่อสร้างความรักให้กับแบรนด์หรือ Brand Love ได้ ดังนั้น โจทย์สำคัญของผู้บริหารจึงเป็นการทำอย่างไรให้พนักงานสามารถส่งมอบ "Memorable Customer Experience" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้บริหารต้องออกไปเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องเจอด้วยตัวของตัวเอง และส่วนสุดท้ายที่ผู้บริหารและคนทำงานด้านการตลาดต้องใส่ใจคือ Performance หรือผลลัพธ์ โดยจะต้องเป็นการสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจได้จริง รวมถึงต้องเข้าใจถึงการผลกระทบและความสำคัญ (Impact & Priority) ของการทำการกิจกรรมทางการตลาดทุก ๆ อย่าง เช่น เป้าหมายสำคัญอาจต้องเป็นการทำให้ลูกค้ากลับซื้อซ้ำหรือ Repeat Purchase มากกว่าการได้ยอดไลค์เพียงผิวเผิน เพราะสุดท้ายเงิน หรือรายได้ของธุรกิจก็จะเป็นสิ่งที่สะท้อน Performance ของตัวของคุณเอง
3.คนมี 3 ประเภทหลักๆ คือผู้ที่อ่านประวัติศาสตร์ของผู้อื่น ผู้ที่มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ และผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา จงพยายามเป็นคนอย่างสุดท้าย
ผู้นำหรือผู้บริหารการตลาดจะต้องเข้าใจว่า ณ ปัจจุบันเรากำลังเป็นผู้อ่านหรือผู้ที่กำลังศึกษาประวัติศาสตร์ของผู้อื่น เป็นผู้ที่กำลังมีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์หรือความสำเร็จของคนอื่น หรือกำลังเป็นผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา หากในตอนนี้ผู้นำหรือผู้บริหารการตลาดสามารถทำความเข้าใจได้ว่าเราอยู่ในจุดไหนของคนสามประเภทนี้ เราจะสามารถมองเห็นแนวทางในการดำเนินงานและการทำกิจกรรมต่างๆที่มีคุณค่าให้กับองค์กรและตัวเองมากขึ้นได้ ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือ จะทำอย่างไรที่ผู้บริหารจะสามารถเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ได้ เพราะสิ่งนี้เองที่จะเป็นตัวมาตรวัดความสำเร็จของคุณ หากคุณยังเป็นผู้ที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์อยู่ ก็อาจจะเริ่มจากการเปลี่ยนตัวเองเข้ามาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกับผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์สูง นำพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่เป็นการก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างความสำเร็จ เพื่อที่คุณจะสามารถเรียนรู้ เก็บประสบการณ์และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดสู่การเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ได้เอง
4.ผู้นำที่ดีคือผู้ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจผ่านการสื่อสารได้
แน่นอนว่าทักษะการสื่อสารและการมอบหมายงานเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้นำด้านการตลาด แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพต่อการทำงานคือการที่ผู้นำจะต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นได้ด้วย เพราะเพียงแค่ที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าใจงาน แต่ไม่มี "ใจ" ให้กับงานมีความหมายเท่ากับการที่ผู้บริหารยังไม่สามารถส่งมอบความเชื่อ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีทักษะในการสื่อสารที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับพนักงาน และผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ทุกคน "มีใจ" ในเป้าหมายและงานที่ทำอยู่ รวมถึงช่วยให้พวกเขาถ่ายทอดหรือสานต่อความเชื่อมั่นขององค์กรออกไปสู่สายตาของลูกค้าได้
5.Transformation คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเอง ไม่ใช่การเปลี่ยนเครื่องมือหรือวัฒนธรรมขององค์กร
คำว่า Transformation สำหรับผู้นำหรือผู้บริหารการตลาด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองให้สามารถขับเคลื่อนความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงสามารถแสวงหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อการเติบโตได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแค่เพียงเครื่องมือ (Tools) หรือวัฒนธรรมองค์กร (Culture) เดิมของธุรกิจที่มีอยู่ แต่คำว่า "Transformation" คือการเปลี่ยนวิธีคิดของตัวผู้บริหารเองที่จะต้องมีทัศนคติที่สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยน พัฒนาตัวเอง และพัฒนาทักษะ (Adopt, Adapt, Equip และ Reskill) ด้านเทคโนโลยีและความรู้การตลาดที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่จะเปลี่ยนแนวคิดนี้ได้คือ เป้าหมายที่ชัดเจน และความกระหายในการสร้างการเติบโต ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการทรานส์ฟอร์มและสร้างความสำเร็จขององค์กรต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีศิษย์เก่า MTX จากรุ่นที่ 1 มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้และความรู้ใหม่ที่ได้รับจากหลักสูตร MTX ครั้งที่ผ่านมา ทั้ง คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ Head of Mother & Child and Homecare Marketing จาก บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน), ดร. ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Group Chief Operating Officer จาก บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ คุณปิธน วิทยศรีเจริญ Managing Director ของ Digital Health Venture จาก บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) โดยทั้งสามต่างมีภูมิหลังของอาชีพที่แตกต่างกัน ทั้งในฐานะผู้บริหารด้านการตลาดที่ต้องมาลุยงานที่ต้องดูแลธุรกิจภาพรวมมากขึ้น ผู้บริหารที่ต้องดูแลงานภาพใหญ่ขององค์กรและเป็นคนสำคัญในการทรานส์ฟอร์มองค์กรให้อยู่รอด และผู้บริหารที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้าง 'New S-curve' หรือธุรกิจใหม่ ให้กับองค์กร ซึ่งทั้งหมดต่างได้มาสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้แบบพิเศษในหลักสูตรนี้ และได้ทรานส์ฟอร์มตัวเองในแบบที่แตกต่างกันออกไป
โดย ดร. ลิสา เล่าถึงประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรนี้เอาไว้ว่า "ต้องเกริ่นก่อนว่า ส่วนตัวไม่ได้มาจากสายงานด้านการตลาด แต่อยู่ในส่วนที่ต้องช่วยองค์กรในการทรานส์ฟอร์ม ทั้งเพื่อให้ก้าวทันธุรกิจอื่นและเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจให้มากที่สุดคือ 'ลูกค้า' ซึ่งคนที่ใกล้ชิดกับพวกเขามากที่สุดคือฝ่ายการตลาด ทำให้การเข้ามาเรียนในหลักสูตร MTX ช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของ Marketing มากขึ้น และทำให้เราเชื่อมโยงจุดต่างๆ ในการปรับองค์กรได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม"
ขณะที่ ปิธน วิทยศรีเจริญ เสริมว่า "ส่วนตัวมีพื้นหลังด้านการศึกษาและการทำงานมาในสายวิศวกรรมเป็นหลัก และแม้ที่ผ่านมาจะเคยเรียนใน Business School มาแล้ว แต่วิชาหนึ่งที่ไม่ชอบเรียนคือวิชาการตลาดหรือ Marketing จนกระทั่งปัจจุบันที่เข้ามาทำงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจมากขึ้น ทำให้สิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยคืองานด้านการตลาด เพราะงานของเราเป็นการผลักดันผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีหรือ Tech-product ให้มีคนเข้ามาใช้มากที่สุด ทำให้เราต้องเข้าใจเรื่องความต้องการของคน ที่เริ่มจากบุคคลภายในองค์กรของเราที่ถือเป็น Internal Customer ไปจนถึงบุคคลภายนอกที่อยากให้มาใช้ผลิตภัณฑ์เรา ซึ่งหลักสูตรนี้ทำให้เราเข้าใจการสร้างสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างมาก"
ด้าน เสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ กล่าวว่า "แม้ส่วนตัวจะมีพื้นฐานการทำงานมาจากสายงานด้านการตลาด แต่ปัจจุบันได้รับโจทย์ที่ต้องเพิ่มบทบาทของตนเองมาดูแลธุรกิจในภาพรวมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการมองหาโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจ โดยไม่ละทิ้งคุณค่าที่แบรนด์มีอยู่ และการทรานส์ฟอร์มสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ไม่ถูกดิสรัปจากแบรนด์อื่น นอกจากนี้ เรายังอยู่ในบทบาทที่ต้องเป็นผู้คอยดูแลการจัดสรรความรู้ให้กับบุคลากรด้านการตลาดภายในองค์กร ทั้งสองส่วนนี้จึงต้องการทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการอัพเดทสิ่งที่รู้อยู่เดิมให้เท่าทันกับโลกปัจจุบัน ซึ่งเราได้รับสิ่งเหล่านั้นอย่างเต็มที่จากหลักสูตรนี้"
ในวันที่การตลาดรูปแบบเดิมไม่สามารถสร้าง "ผลลัพธ์ที่ดี" ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้นำและผู้บริหารการตลาดต้องเปลี่ยนตัวเองอย่างไรในยุค Marketing is No More
ปัจจุบันการทำการตลาดแบบในตำราอาจไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้ การสร้างแคมเปญการตลาดที่ประสบความสำเร็จล้วนเกิดจากการลองผิดลองถูกเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ ทั้งในแง่ของผลลัพธ์ ต้นทุน และผลกระทบ การสร้างความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียวอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการทำงานร่วมกันกับการมีแบรนด์ผู้เป็นพันธมิตรธุรกิจที่ร่วมด้วยช่วยกันสร้างความสำเร็จ หรือการนำเสนอคอนเทนต์แบบถี่ อาจได้ผลลัพธ์น้อยกว่าการสร้างคอนเทนต์ที่เป้นไวรัล (Viral) เพียงคอนเทนต์เดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากประสบการณ์และการทำการตลาดนอกตำราที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจต่างต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
โดย "บี-สโรจ เลาหศิริ" และ "จั๊ก-กรกนก เชาว์ปรีชา" สองไดเรคเตอร์ของหลักสูตร MTX ก็ได้ให้คำแนะนำถึงสิ่งที่ผู้นำและผู้บริหารด้านการตลาดต้องเรียนรู้เพื่อการปรับตัวสู่การตลาดยุคใหม่ เอาไว้ว่าทุกวันนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากแต่ยังต้องมีความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันโลกยุคใหม่อยู่เสมอ รวมถึงต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการพลิกแพลงกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องแลกมาด้วยระยะเวลาการเรียนรู้ (Learning Curve) ที่กระชับลง จากความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงสภาวะแวดล้อมและเครื่องมือต่างๆ เช่นปัจจุบัน ผู้บริหารทุกคนจึงต้องมีความตื่นตัวในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
เบื้องหลังการออกแบบหลักสูตร MTX ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทรานส์ฟอร์มและพัฒนาทักษะของผู้บริหารด้านการตลาดโดยเฉพาะ
ไรส์ (RISE) สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ผู้นำด้านการสร้างนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการทรานส์ฟอร์มในองค์กรชั้นนำระดับประเทศมาอย่างมากมาย รวมถึงขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มในกลุ่มผู้บริหารและผู้นำองค์กรผ่านหลักสูตร DTX - Digital Transformation Xponential อย่างต่อเนื่อง ได้มองเห็นความสำคัญในการทรานส์ฟอร์มของกลุ่มผู้บริหารและผู้นำด้านการตลาด จึงร่วมมือกับ คุณบี-สโรจ เลาหศิริ ที่ปรึกษาด้าน Marketing Transformation ชั้นนำของประเทศ ผู้เป็นอดีตหัวหน้าฝ่าย Marketing Transformation ของบริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด มหาชน อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ของ Rabbit's Tale ดิจิทัลเอเจนซี่ชื่อดังสัญชาติไทย และ คุณจั๊ก-กรกนก เชาว์ปรีชา นักการตลาดสายผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Marketer) ตัวจริง ที่ผ่านประสบการณ์ประยุกต์ใช้แนวคิดทางการตลาดรูปแบบต่างๆ สู่การใช้งานจริงในองค์กร อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการหลักสูตร ABC หรือ Academy of Business Creativity มาจัดทำหลักสูตร Marketing Transformation Xponential หรือ MTX เพื่อสร้างทักษะสำหรับผู้บริหารด้านการตลาดให้พร้อมรับมือกับโลกของ Marketing แห่งอนาคต พร้อมได้รับคำปรึกษาใกล้ชิดจากหมอคิด-นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง RISE อีกทั้งยังเป็นไดเรคเตอร์ของหลักสูตร Digital Transformation Xponential (DTX) หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทยอีกด้วย
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยถอดรื้อแนวคิดทางการตลาดแบบดั้งเดิมที่มีออกไป ด้วย 10 หัวข้อที่จะมาทรานส์ฟอร์มวิธีคิดทางการตลาดในทุกมิติ ครอบคลุมทั้งหัวข้อเรื่อง Marketing Transformation, MarTech, Data, Commerce Transformation รวมถึงเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืนอีกด้วย โดยหลักสูตรถูกออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นลงมือทำจริงผ่านวิธีคิดแบบ Experiential Workshop รวมถึงเรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง (Case Study) โดยวิทยากรที่เป็นผู้บริหารขององค์กรระดับประเทศจำนวนกว่า 30 คน โดยหลักสูตรนี้จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 14 กันยายน - 23 พฤศจิกายน 2566 นี้
ดูรายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมหลักสูตรได้ที่ mtx.riseaccel.com
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit