มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส (Universiti Teknologi PETRONAS หรือ UTP) ลงนามในข้อตกลงด้านทุนวิจัยกับบริษัท โททาลเอนเนอร์ยี่ส์ อีพี มาเลเซีย (TotalEnergies EP Malaysia) เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีการตรวจจับด้วยไฟเบอร์ออปติกที่ทันสมัยมาใช้สำหรับการตรวจสอบของเหลวที่กักเก็บไว้ใต้ดิน
ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความเข้าใจและการจัดการของเหลวใต้ผิวดิน ซึ่งรวมถึงการกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนระบบแหล่งน้ำมันและก๊าซ โดยใช้การถ่ายภาพระบบตรวจจับความถี่คลื่นเสียงด้วยไฟเบอร์ออปติก (Distributed Acoustic Sensing (DAS) Imaging) เทคโนโลยีการตรวจจับคลื่นไหวสะเทือนด้วยไฟเบอร์ออปติก การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และการแสดงข้อมูลให้เห็นเป็นภาพ (Data Visualisation) โดยใช้แมชชีนเลิร์นนิง
ผู้ลงนามข้อตกลงในนามของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาสคือ รองอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม อับดุล มูตาลิบ (Professor Ts Dr Mohamed Ibrahim Abdul Mutalib) ขณะที่ผู้แทนของโททาลเอ็นเนอร์ยีส์คือ คุณซาวิเยร์ ฟอเกอราส์ (Xavier Faugeras) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท
นอกจากนี้ ผู้บริหารบริษัทปิโตรนาส ได้แก่ คุณโมฮัมเหม็ด ฟิรูซ์ อัสนัน (Mohamed Firouz Asnan) รองประธานอาวุโส กลุ่มการบริหารปิโตรเลียมมาเลเซีย (Malaysia Petroleum Management หรือ MPM) และคุณอัซมีร์ ซามรี (Azmir Zamri) ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ฝ่ายสำรวจทรัพยากร MPM ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม
ศ.ดร.โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม กล่าวว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นยินดีที่ได้ดำเนินโครงการวิจัยนี้ร่วมกับโททาลเอ็นเนอร์ยี่ส์ บริษัทพลังงานชั้นนำที่ผลิตและจำหน่ายพลังงานหลากหลายประเภทในระดับโลก
"ความร่วมมือดังกล่าวจะรวบรวมความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของทั้งสองฝ่ายโดยมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีการตรวจจับด้วยไฟเบอร์ออปติก ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการเก็บข้อมูล การสร้างภาพใต้ผิวดิน และการแปลภาพโดยมีคลาวด์คอมพิวติงเป็นตัวช่วย ซึ่งจะส่งผลให้ได้โซลูชันที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตรวจสอบของเหลวใต้พื้นผิวดิน" เขากล่าว
"ความร่วมมือนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำการศึกษาด้านเทคโนโลยี และเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกจากนี้ยังสนับสนุนแผนริเริ่มเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของปิโตรนาส เพื่อมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emission หรือ NZCE)"
"ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาสมีบทบาทสำคัญในการสำรวจนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อรองรับสถาบันของเราในอนาคต เราตั้งเป้าที่จะเป็นผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมผ่านความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับมาตรฐาน" ศ.ดร.โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม กล่าวเสริม
ในขณะเดียวกัน คุณฟอเกอราส์กล่าวว่า "โททาลเอ็นเนอร์ยี่ส์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส สำหรับโครงการวิจัยในหัวข้อที่เป็นความหวังของอุตสาหกรรมอย่างการตรวจสอบด้วยไฟเบอร์ออปติก และในช่วงเวลาที่เราจำเป็นต้องรับมือกับความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาชั้นยอดในมาเลเซีย"
นอกจากพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือแล้ว ในวันเดียวกันนั้น ยังมีกิจกรรมแนะนำมหาวิทยาลัยและการเยี่ยมชมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส โดยคณะผู้แทนจาก Petroleum Arrangement Contractors (PAC) ที่ดำเนินงานในมาเลเซีย ประกอบด้วย บริษัทเอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์พลอเรชัน แอนด์ โปรดักชันมาเลเซีย จำกัด (ExxonMobil Exploration and Production Malaysia Inc.), บริษัท เอ็นเควสต์ ปิโตรเลียม โปรดักชัน มาเลเซีย จำกัด (EnQuest Petroleum Production Malaysia Ltd.), บริษัท เฮสส์ เอ็กซ์พลอเรชัน แอนด์ โปรดักชัน มาเลเซีย จำกัด (Hess Exploration and Production Malaysia B.V.), บริษัท เจดสโตน เอ็นเนอร์จี (พีเอ็ม) จำกัด (Jadestone Energy (PM) Inc.), บริษัท มูบาดาลา เอ็นเนอร์จี (Mubadala Energy), บริษัท ปิโตรแฟค (มาเลเซีย-พีเอ็ม304) จำกัด (Petrofac (Malaysia-PM304) Limited), บริษัท เอสเค เอิร์ททอน จำกัด (SK Earthon Co. Ltd.), บริษัท โททาลเอ็นเนอร์ยี่ส์ อีพี มาเลเซีย (TotalEnergies EP Malaysia), บริษัท โพสโค อินเตอร์เนชันแนล เอ็กซ์พลอเรชัน แอนด์ โปรดักชัน มาเลเซีย จำกัด (POSCO International E&P Malaysia Sdn.), บริษัท ซี ฮิบิสคัส จำกัด (Sea Hibiscus Sdn. Bhd.), บริษัท ฮิบิสคัส ออยล์ แอนด์ ก๊าซ มาเลเซีย จำกัด (Hibiscus Oil & Gas Malaysia Limited), บริษัท เชลล์ (Shell), บริษัท เจเอ็กซ์ นิปปอน ออยล์ แอนด์ ก๊าซ เอ็กซ์พลอเรชัน (มาเลเซีย) จำกัด (JX Nippon Oil & Gas Exploration (Malaysia) Limited), บริษัท อินเตอร์เนชันแนล ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชัน มาเลเซีย จำกัด (International Petroleum Corporation Malaysia B.V.), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP), บริษัท ซาปุระโอเอ็มวี อัปสตรีม (ซาราวัก) จำกัด (SapuraOMV Upstream (Sarawak) Inc.) และโคโนโคฟิลิปส์ มาเลเซีย (ConocoPhillips Malaysia)
นี่เป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มของปิโตรนาสเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาสกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาสกำลังเตรียมแรงงานให้พร้อมสำหรับภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมทั้งสองจึงเป็นการเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมได้มีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน และมีบทบาทอย่างจริงจังในการพัฒนาและหล่อหลอมนักศึกษาให้เป็นบุคลากรที่อุตสาหกรรมต้องการ
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาส (Universiti Teknologi PETRONAS หรือ UTP) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศมาเลเซีย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปิโตรนาสเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่รอบรู้ มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเยี่ยม
ทางมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตมากกว่า 22,000 คน จากกว่า 60 ประเทศ และได้กลายเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของภูมิภาคในการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถ
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาระดับปูพื้นฐานมากกว่า 1,200 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่า 4,300 คน และนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีกว่า 1,100 คน จากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
ทางมหาวิทยาลัยดำเนินกิจกรรมการวิจัยอย่างครอบคลุมโดยร่วมมือกับบริษัทปิโตรนาส รวมถึงสถาบันและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 6 สาขา ได้แก่ การเสริมสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง การวิเคราะห์สุขภาพ การเก็บกู้ไฮโดรคาร์บอน การจัดการสิ่งปนเปื้อน และระบบอัตโนมัติ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.utp.edu.my
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1999132/DSC5651_1.jpg
คำบรรยายภาพ - จากซ้าย: คุณโมฮัมเหม็ด อิบราฮิม อับดุล มูตาลิบ, คุณโมฮัมเหม็ด ฟิรูซ์ อัสนัน, คุณอัซมีร์ ซามรี และคุณซาวิเยร์ ฟอเกอราส์ ในพิธีลงนามข้อตกลง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit