ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆได้ต่อไปอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์สู่การค้นพบยาใหม่เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันโรคอุบัติใหม่ที่โลกกำลังเผชิญ

ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลองรัตน์ โนรี อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนรายวิชาออนไลน์"Protein Technologies and Applications" ที่อยู่ในโปรแกรม MAP-C (Mahidol Apprenticeship Program Curriculum) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นหนึ่งในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน

รายวิชาออนไลน์ "Protein Technologies and Applications" มีความโดดเด่นที่เทคนิคการสอนคุณภาพซึ่งใช้ได้ผลกับผู้เรียน โดยได้มีการใช้ "กระดานออนไลน์" ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ Microsoft Whiteboard และ Google Jamboard เพื่อเป็น "สื่อนำความคิด" ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถติดตามเนื้อหาด้วยความเข้าใจ และนึกภาพตามได้ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเริ่มจากกระดานออนไลน์ที่ว่างเปล่า แล้วจึงค่อยเขียนข้อสรุปและคำสำคัญต่างๆ พร้อมวาดภาพประกอบ จนออกมาเป็นรูปเป็นร่างที่สมบูรณ์

นอกจากนี้ ผู้สอนยังเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง "Higher - Order Thinking Skills" ตามทฤษฎี"Bloom's Taxonomy of Objectives" ของนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน Benjamin Samuel Bloom (1913 - 1999)

ซึ่งเป็นโมเดลที่ใช้ต่อยอดพัฒนาการทางปัญญาจากขั้นกลาง- ขั้นสูงสุด ในการฝึกทักษะการเรียนรู้จากการวิเคราะห์(Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินค่า(Evaluation) มาเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานของรายวิชาออนไลน์ "Protein Technologies and Applications" ที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจในเนื้อหาของการเรียนการสอนได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

จุดเด่นของหลักสูตรฯ อยู่ที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ผ่านโจทย์ที่ผู้สอนกำหนด ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง (Problem - Based Project) จากการออกแบบและผลิตโปรตีนเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังตัวอย่างที่ผ่านมาที่ได้ให้ผู้เรียนออกแบบและผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งพัฒนาจากโปรตีน (Protien-Based COVID-19 Vaccine)

โดยได้ให้แต่ละทีมนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์นวัตกรรมเริ่มตั้งแต่ที่มา ความสำคัญ เหตุผลในการออกแบบกระบวนการผลิต การรับรองมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางการตลาด ตลอดจนให้แต่ละทีมได้อภิปรายเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของตัวเองกับทีมคู่แข่ง เพื่อให้ได้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ทิ้งท้ายด้วยมุมมองต่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลองรัตน์ โนรี แนะนำว่า ควรจะมีการทบทวน วิเคราะห์ และปรับปรุงเพื่อลดขั้นตอนที่เกินจำเป็นซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบได้ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ประเทศไทยเรามีความพร้อมอยู่แล้วทั้งทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติ หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนที่ตรงจุด เพียงพอ และต่อเนื่อง จะทำให้เกิดพลวัตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

เปิดลงทะเบียนที่ https://graduate.mahidol.ac.th/MAP-2021/MAP-C.php และติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ทาง https://mahidol.ac.th

สัมภาษณ์และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร.0-2849-6210


ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell"

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 (เวลา 09.00-12.00 น.)ณ MaSHARES Co-Working Space สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลหรือทาง FB LIVE ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Highlight Topic - นโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์- การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวปะการัง- นวัตกรรม 'เพอรอฟสไกต์'

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...