ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประสบจากอุบัติการณ์ "โรคกุ้งตายด่วน" ยกบ่อภายในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องของชะตากรรมแต่สามารถพิสูจน์ได้โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้วว่า สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยการใช้ "องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์"
รองศาสตราจารย์ ดร.โสรยา จาตุรงคกุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับโมเลกุล สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สามารถคว้ารางวัลศึกษาวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 28 พ.ศ.2564 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จากการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไขความลับต้านโรคกุ้งตายด่วน(EMS - Shrimp Early Mortality Syndrome) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) และโรค "กุ้งตัวแดงดวงขาว" (White spot disease) ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคทั้งสองชนิดในกุ้งขาวส่งผลให้กุ้งที่ติดเชื้อไม่สามารถที่จะกินอาหารได้ตามปกติและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ผู้วิจัยได้เลือกใช้อาหารเสริม "โพรไบโอติกส์" (Probiotics) คุณภาพ ซึ่งผ่านการศึกษาและทดลองในระดับยีนหรือพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการร่วมกับนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เป็นเวลาครึ่งทศวรรษ จนเห็นผลพิสูจน์ได้แล้วว่าสามารถป้องกันโรคได้ถึงร้อยละ 70 ด้วยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่ค้นพบ
โดยเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ถึง 3 เรื่อง เตรียมขยายผลจากงานวิจัยต่อยอดสู่ระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรฟาร์มกุ้งอย่างกว้างขวางต่อไป ในเบื้องต้นศึกษาในกุ้ง แต่ต่อไปจะขยายผลสู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ปลา ต่อไปอีกด้วย
การกู้วิกฤติโรคกุ้งตายด่วน ด้วยการเลือกใช้อาหารเสริมโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการในระดับยีนแล้วว่าสามารถป้องกันโรคได้ คาดว่าจะสามารถช่วยจุดประกายแห่งความหวังของเกษตรกรไทยที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นจนสามารถกลับไปยังจุดสูงสุดของปริมาณการส่งออกกุ้งที่ประเทศไทยเคยทำได้เป็นอันดับหนึ่งถึง 5 แสนตันต่อปีได้ แม้ในปัจจุบันจะทำได้เพียง 3 แสนตันต่อปี แต่ก็จะสามารถทำให้ประชาชนได้มั่นใจในผลิตผล "กุ้งปลอดโรค" ที่จะนำไปสู่การมีอาหารปลอดภัย ความมั่นคงในการผลิต และคุณภาพชีวิตที่ดีจากการมีทั้งเศรษฐกิจ และสุขภาพที่ดีของมวลมนุษยชาติต่อไปได้ในที่สุด
ซึ่งโพรไบโอติกส์จำเป็นต่อทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ โดยเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ดีมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งหากเลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะสมในสัตว์น้ำแล้ว พบว่านอกจากจะทำให้สัตว์น้ำปลอดโรคแล้ว ยังเป็นการช่วยบำบัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้น้ำในบ่อเลี้ยงเน่าเสียได้อีกด้วย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 (เวลา 09.00-12.00 น.)ณ MaSHARES Co-Working Space สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลหรือทาง FB LIVE ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Highlight Topic - นโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์- การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวปะการัง- นวัตกรรม 'เพอรอฟสไกต์'
ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
—
สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...
ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน
—
โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...
ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ
—
เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...
คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้สนใจ เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการ Mahidol AI Talk#2
—
คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญ...
ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA"
—
กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...
ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรม "น้ำยาทำละลายโปรตีนโปรลามีนส์" ใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบ่งชี้โรคภูมิแพ้กลูเตนในแป้งข้าวสาลี
—
ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้พบมากขึ้นทั่...
ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก
—
ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...