ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน โดยพฤติกรรมการสูบบุหรี่นั้นเป็นปัจจัยอันตรายที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้บ่อยครั้ง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด มะเร็งปอด เป็นต้น ล่าสุด Health me, please by BDMS ซึ่งให้ข้อเท็จจริงเคลียร์ข้อสงสัย ไขทุกคำถามสุขภาพ ในช่วงรายการ เที่ยงทันข่าว เวลา เวลา 11.00 - 12.45 น. ทางพีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 ได้หยิบยกประเด็นเรื่องการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงโรคหัวใจน้อยกว่าสูบบุหรี่ธรรมดานั้น มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ออกมาเปิดเผยว่า ผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพ ณ เวลานี้ ไม่ได้มีเพียงแค่ฝุ่นละออง PM 2.5 เท่านั้น แต่ภัยจากควันจากบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้านั้น เป็นตัวจุดชนวนสร้างสารอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งมีผลต่อสุขภาพเราได้ด้วยเช่นเดียว โดยจะก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ เช่นกันหากมีการสะสมในปริมาณสารมากและเป็นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือแม้กระทั่งโรคทางเดินหายใจและปอด สารอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาไหม้ของเหลวในบุหรี่ไฟฟ้าจะดูดซึมเข้าไปกระตุ้นให้หลอดเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ยืดหยุ่น เปราะบาง อันจะก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด จนเกิดเป็นลิ่มเลือดเข้าไปอุดอันหลอดเลือด และอาจส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบได้
ทั้งนี้ นพ.ชาติทนง ได้ออกมาย้ำเตือนภัยของบุหรี่ไฟฟ้า โดยของเหลวอันเป็นสารประกอบต่างๆ ที่พบในบุหรี่ไฟฟ้านั้น แม้จะยังไม่มีสถิติหรืองานวิจัยระบุว่าไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีพิษร้ายแรงเช่นไร แต่ของเหลวที่ถูกเผาไหม้จากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา จะสามารถแทรกซึมเข้าไปในปอดส่วนลึกได้และรวดเร็ว เนื่องจากไอระเหยเหล่านั้นมีอนุภาคที่เล็ก จึงง่ายต่อการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงโรคหัวใจ ก็ควรงดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพราะอย่างน้อยก็จะตัดปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจนั้นมาจากบุหรี่
ปัจจุบันเทคโนโลยีในวงการแพทย์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีต โดนมีมิวัฒนาการที่ก้าวไปไกลมากขึ้น รวมถึงมีเทคโนโลยีที่แม่นยำ อาทิ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยการวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test) การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) หรือการตรวจวัดระดับแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary Calcium Score) การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมการทำงานของไต ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ระดับไขมันความหนาแน่นสูง-ต่ำ และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ทำให้เราทราบถึงความเสี่ยงและแนวโน้ม ที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจในอนาคต ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพจึงควรตรวจเช็กหัวใจกับแพทย์เป็นประจำทุกปี
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit