ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จในการผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจรเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน แก้ปัญหาความขาดแคลนในการใช้รักษาผู้ป่วยโรคตาและโรคอื่นๆ
ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากโครงการ "ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์" โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ม.วลัยลักษณ์ โดยเยื่อหุ้มรกที่ผลิตมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมเนื้อเยื่อบุผิว ยืดอายุเซลล์ต้นกำเนิด ยับยั้งการอักเสบ และไม่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปลูกถ่าย ใช้ในการรักษาโรคตาบางชนิด และสามารถใช้ปิดแผลไฟไหม้ในบริเวณอื่นนอกเหนือจากตาได้อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และจักษุแพทย์ ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า "การใช้เยื่อหุ้มรกเพื่อการรักษาทางการแพทย์อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความพร้อมของอุปกรณ์ และสารเคมีที่มีราคาสูง ผนวกกับต้องมีความพร้อมของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ปัจจุบันยังพบปัญหาการขาดแคลนเยื่อหุ้มรกบ่อยครั้ง เนื่องจากหน่วยงานที่มีความพร้อมในการผลิตเยื่อหุ้มรกยังมีจำนวนน้อย รวมถึงการขนส่งทำได้ยาก และต้องจัดเก็บภายใต้ความเย็น -80 องศาเซลเซียสตลอดเวลา"
อย่างไรก็ตามถือเป็นความโชคดีของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เมื่อมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน จึงสามารถผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกอย่างครบวงจรได้ นับเป็นแห่งที่ 2 ในภาคใต้ ที่สามารถดำเนินการได้ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาวะความขาดแคลนเยื่อหุ้มรกและช่วยพัฒนามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยของ จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ตอนบน และทั่วประเทศ โดยได้รับการติดต่อขอรับบริการไกลถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว
"ความพิเศษของเยื่อหุ้มรก คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะไม่คิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติหลายประการช่วยให้แผลหายดีขึ้น แพทย์จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยออกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในแง่ของการรักษาโรคตา โดยการผ่าตัดที่ใช้บ่อยสุดคือ ต้อเนื้อ ภาวะแผลไฟไหม้หรือสารเคมีเข้าตา และภาวะอื่นๆ ที่มีการสูญเสียเยื่อบุตา แผลกระจกตาที่เสี่ยงต่อการทะลุ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการฯ ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์, ภาควิชาจักษุวิทยา ม.สงขลานคริทร์, และหน่วยเภสัชกรรม รพ.สงขลานครินทร์ ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จในครั้งนี้" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า กล่าว
ทั้งนี้ โครงการฯ เปิดรับสั่งจอง "แผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์" แล้วที่ชั้น 3 อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันและเวลาราชการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-7567-2587 เว็บไซต์: สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://riie.wu.ac.th/?p=20436 หรือ เว็บไซต์: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://www.wu.ac.th/th
นักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ประกอบด้วย นายกรวิชญ์ ด้วงฉีด นางสาวนันทน์ณิชา หยังหลัง นางสาวจีรณัชย์ ฤทธิเดช และนางสาวณิชาดา ตันติบรรพกุล ภายใต้ชื่อทีมป้าข้างบ้าน ฝ่าด่าน 20 ทีมจากทั่วประเทศ คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการ Thailand Youth Policy Initiative (TYPI) เวทีประกวดนโยบายและนวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางจิตในชุมชน ผ่านการจัดทำร่างนโยบายสาธารณะและนวัตกรรมทางสังคม ในหัวข้อ "Community Mental Wellbeing" ซึ่งสมาพันธ์นิสิตนักศึกษา
ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกรักษาโรคตา สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน
—
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ประสบความสำเ...
ม.วลัยลักษณ์ แถลงเตรียมจัดกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 ตุมปังเกมส์ ทัพนักกีฬา 63 สถาบัน กว่า 7,000 คน เข้าร่วม
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ...
ก้าวอีกขั้น นีโอ คอร์ปอเรท ผนึก ม.วลัยลักษณ์ ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย
—
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO โดย ...
ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้
—
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...
เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์
—
เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี
—
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า
—
ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศ...
มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...
โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...