สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภาย ใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินโครงการโดย รศ.ดร เจริญชัย เอกมาไพศาล คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งนี้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง หรือ พนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ธุรกิจต้องปรับการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นในช่วงภาวะวิกฤต มีความหลากหลายในด้านบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำหลักบริหารแบบครอบครัวมาปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีมีความเห็นอกเห็นใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่ลูกจ้าง หรือพนักงานที่ต้องเจอมรสุมออกจากงานกลับถิ่นฐานจะต้องปรับตัวเองนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีความรู้ทักษะในการหารายได้ในยุคดิจิตอล
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์กรสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัย และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสนับสนุนภาคการผลิตและอุตสาหกรรม เพื่อเสริมศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ ซึ่งวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายภาคธุรกิจแทบตั้งหลักไม่ทัน ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งปิดกิจการ ลดพนักงาน รวมถึงปรับปรุงการบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายโครงการที่ทาง วช. ได้ให้การสนับหนุนเพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน รวมไปถึงงานวิจัยที่นำเสนอโดยทีมวิจัยจากคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้ให้ผู้ประกอบการและพนักงานลูกจ้างฝ่ามรสุมวิกฤตนี้ไปให้ได้
รศ.ดร. เจริญชัย เอกมาไพศาล อาจารย์คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยว่า เดิมทีธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เป็นรายได้หลักในการนำเม็ดเงินเข้าประเทศ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในหลากหลายอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะทั้งผู้ประกอบการและพนักงาน ซึ่งการจากลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เพื่อเจาะลึกหาข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการพูดคุยกับผู้ประกอบ และ พนักงานที่ได้รับผลกระทบ พบว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ที่วางโครงสร้างไว้ดีแม้จะต้องปรับตัวเองหลายด้านแต่ก็สามารถฝ่าวิกฤตไปได้ แต่มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลง ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าจากสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ลูกค้าน้อยลง รายได้ลดลงมาก เนื่องจากผู้บริโภคส่วนหนึ่งมีความกังวลด้านความปลอดภัยที่จะไปใช้บริการ จนกระทั่งต้องปิดกิจการ ต้องปรับการบริหารจัดการภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาดคุณภาพของอาหาร การควบคุมค่าใช้จ่าย ลดพนักงาน การปรับวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัวเห็นอกเห็นใจเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ผู้ประกอบการต้องมีทักษะ มีสติในการรับข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ ไม่วิตกกังวลกับความไม่แน่นอน ที่สำคัญมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางออนไลน์ในการสร้างรายได้ ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น
ในส่วนของพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มีจำนวนไม่น้อยต้องกลับถิ่นฐานเดิม และพยายามหารายได้มาเลี้ยงชีพ ซึ่งในกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีทักษะที่หลากหลายในยุคดิจิตอล การสร้างรายได้บนมือถือหรือที่เรียกว่าการขายของออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง การเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของตลาดในยุคปัจจุบัน ที่สำคัญคือการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ต้องรู้จักประมาณตน มีการวางแผนการดำเนินชีวิต ประหยัดรู้จักออม เพื่อสามารถนำเงินมาใช้ในคราวจำเป็นเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ เนื่องจากปัญหาแรงงานไทยจะประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เยอะมาก ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ซึ่งผลจากการวิจัยนี้เชื่อว่าเป็นองค์ความรู้ในการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน สินค้าและบริการ ต้องปรับกลยุทธ์รับมือเพื่อความอยู่รอด
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์
กสิกรไทยร่วม COP29 ผลักดันความมุ่งมั่นด้านสภาพภูมิอากาศของไทย หนุนใช้นวัตกรรมการเงินและการจัดการคาร์บอน
—
ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร...
บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน
—
นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...
สอวช. จับมือ NIDA ปลุกปั้น Festival ไทยให้รู้จักไปทั่วโลก ยกประเพณีสงกรานต์ 67 เป็นกรณีศึกษา หลังเงินสะพัด 1.4 แสนล้าน
—
สอวช. จับมือ NIDA ปลุกปั้น Festiv...
โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น
—
โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...
สายสีแดง เผยผลสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสาร ครึ่งปีหลัง 2567 ผู้โดยสารเชื่อมั่นคุณภาพงานบริการ และความปลอดภัยเป็นอย่างมาก
—
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนว...
ไทยเครดิต SME กล้าให้ ตอกย้ำจุดยืน STANDBY จัดอบรมหลักสูตร Micro MBA รุ่นที่ 1 เสริมแกร่งศักยภาพเจ้าของธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี
—
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน...
SME D Bank รับรางวัล Silver Award ประจำปี 2566 'นวัตกรรมตอบโจทย์การบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากร' ต้นแบบภาครัฐ-เอกชน
—
นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัด...
PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท
—
บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...