สถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน Computational Thinkingเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านครูสู่นักเรียน

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษาและมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดการบรรยายพิเศษและการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Programming Activity to develop Mathematical Thinking at Kindergarten and Primary school levels"  ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน Computational Thinkingเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านครูสู่นักเรียน

รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน  กล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า เป็นโอกาสที่ดี ที่ได้เรียนรู้ว่าสถานการณ์อัพเดทของโลก มีการที่จะต้องนำเรื่องของการพัฒนา programming thinking ผ่าน  programming activities นำเข้าสู่โรงเรียน ไม่ใช่การสอนรายวิชาแบบเดิมอีกต่อไป ทำอย่างไรจะสามารถร้อยเรียง Mathematical thinking โดยใช้ programming activities เข้าไปในรายวิชาต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก สถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน Computational Thinkingเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านครูสู่นักเรียน

จากนั้น Prof. Masami Isoda จาก University of Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ APEC and SEAMEO frameworks for designing programming activities in classrooms WITHOUT teaching programming language ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ครู นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) รวมถึงได้ฝึกปฏิบัติผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ช่วงการอบรม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในโรงเรียน

  • ช่วงที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับ problem posing in mathematics classroom for learning visible programming language
  • ช่วงที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับ challenge Robot Programming and how to make clear mathematical thinking

ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการและคุณครูจากโรงเรียนสันติธรรมวิทยา จังหวัดอุดรธานี คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา รวมถึง นักศึกษาฝึกสอน เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางออนไลน์ จำนวน 17 คน และ เข้าร่วม ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน จำนวน 54 คน

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สนับสนุนให้บุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ นักศึกษาฝึกสอน และผู้ที่สน ใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) รวมถึงได้แลกเปลี่ยน ฝึกปฏิบัติ เพื่อให้มีแนวทางในการนำไปจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน และยังเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับความรู้ รวมถึงทราบทิศทางการศึกษาของโลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปปรับใช้ในโรงเรียนต่อไป


ข่าวการอบรมเชิงปฏิบัติการ+ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์วันนี้

สถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน Computational Thinkingเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านครูสู่นักเรียน

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษาและมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดการบรรยายพิเศษและการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Programming Activity to develop Mathematical Thinking at Kindergarten and Primary school levels" ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ วิจัยครูอาเซียน กล่าว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพย... ขอเชิญชวนพยาบาลและบุคลากรสุขภาพเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ECG Interpretation and Nursing Care — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพยาบาลและบ...

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาต... มกอช. ติวเข้ม ยกระดับพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าสู่ระบบมาตรฐาน มกษ.7436-2563 — สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดการอบรมเชิงปฏิบั...

ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจหัวหิน จัดกิจกรร... Rak Robotics Mini Workshop — ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจหัวหิน จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการหุ่นยนต์ Rak robotics mini workshop ประเภททีมละ 2 คน ในวันที่...

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา ... กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมทักษะบุคลากร ยกระดับการสื่อสารงานวิจัยยุคใหม่สู่สาธารณะ — กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....