ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long -Term Rating) ของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SCBT ที่ 'A-' และ 'AAA(tha)' ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ พร้อมกันนี้ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น (Shareholder Support Rating: SSR) ที่ 'a-' สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย
ฟิทช์ได้ยกเลิกอันดับความแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR) เนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวมิได้มีนัยสำคัญเพียงพอในการติดตามวิเคราะห์อีกต่อไป ฟิทช์เชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของ SCBT จะมีความใกล้ชิดและผสานเข้ากับธนาคารแม่ซึ่งคือ Standard Chartered Bank (Singapore) (SCBS, 'A+'/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นมีเสถียรภาพ/'a') มากขึ้น เนื่องด้วยโครงสร้างธุรกิจของ SCBT ที่มุ่งเน้นลูกค้าในกลุ่มลูกค้าธุรกิจและสถาบันการเงิน ประกอบกับโครงสร้างการดำเนินงานของธนาคาร ที่ถูกเชื่อมโยงไว้กับธนาคารแม่แล้ว จึงยากที่ฟิทช์จะประเมินอันดับเครดิตของ SCBT จากฐานะการเงินเฉพาะของธนาคาร ดังนั้นการพิจารณาอันดับความแกร่งทางการเงินของธนาคารจึงอาจไม่มีนัยสำคัญ การยกเลิกการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อมุมมองในการประเมินอับดับเครดิตสากลของธนาคารที่พิจารณาจากอันดับเครดิตสนับสนุนจาก ผู้ถือหุ้นของธนาคารเป็นหลัก
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
การสนับสนุนจากธนาคารแม่: อันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBT พิจารณาจากอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น โดยฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ธนาคารแม่ หรือ SCBS จะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ (extraordinary support) แก่บริษัทลูกในไทยในกรณีที่จำเป็น
อันดันเครดิตภายในประเทศของ SCBT สะท้อนถึงโครงสร้างเครดิตของธนาคารเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่น ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศโดยฟิทช์ ฟิทช์เชื่อว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่มีปัจจัยพิจารณาจากการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นนั้น สอดคล้องกับอันดับเครดิตที่สูงที่สุดในประเทศ โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาวของ SCBT นั้นสูงกว่าอันดับเครดิตสากลสกุลงเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ 'BBB+'
การผสานงานที่ใกล้ชิดและบทบาทที่สำคัญ: อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของ SCBT สะท้อนระดับถึงการผสาน การทำงาน (synergy) กับธนาคารแม่ SCBS ที่อยู่ในระดับสูงและความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่ นอกจกนี้ธนาคารแม่ ยังถือหุ้นเกือบทั้งหมด (99.9%) ใน SCBT และมีการควบคุมการบริหารงานและการใช้ชื่อและสัญลักษณ์ทางการค้าร่วมกัน กับธนาคารแม่ SCBT ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจลูกค้าองค์กรในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้กับกลุ่ม ฟิทช์เชื่อว่า ด้วยความเชื่อมโยงที่ชัดเจนและใกล้ชิดกับธนาคารแม่ดังกล่าว การผิดนัดชาระหนี้ของ SCBT จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในด้านชื่อเสียงอย่างมากต่อ SCBS
มีบทบาทน้อยกว่าธนาคารอื่นในกลุ่มและข้อจำกัดในด้านเกณฑ์การกำกับดูแล: อันดับเครดิตสนับสนันจากผู้ถือหุ้นของ SCBT พิจารณาโดยปรับลดจากอันดับความแกร่งทางการเงินของธนาคารแม่ลง 1 อันดับ เนื่องจากธนาคารตั้งอยู่ในตลาดที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักสำหรับกลุ่ม (non-core market) และมีบทบาทสำคัญต่อกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดน้อยกว่า ธนาคารลูกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในประเทศของธนาคารแม่ในการสนับสนุนเงินทุนให้ธนาคารลูก ฟิทช์ใช้อันดับความแกร่งทางการเงินของธนาคารแม่แทนที่จะใช้อันดับเครดิตสากลระยะยาวเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating) ในการประเมินปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น เนื่องจากมองว่าอาจมีความไม่แน่นอนว่า SCBT จะได้รับประโยชน์จาก qualifying junior debt ของธนาคารแม่
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับตัวลดลงในความสามารถของ SCBS ที่จะให้การสนับสนุนแก่ SCBT (ซึ่งสะท้อนโดยอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBS) จะส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น และอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ SCBT ได้รับการปรับลดอันดับ
การปรับตัวลดลงของโอกาสที่ SCBS จะให้การสนับสนุนแก่ SCBT อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น และอันดับเครดิตสากลของธนาคารลูกได้รับการปรับลดอันดับ ตัวอย่างเช่น การลดสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารแม่ลงต่ำกว่า 75% พร้อมทั้งการลดลงของอำนาจควบคุมการบริหารงานและความเชื่อมโยงทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าเกิดขึ้นในระยะกลาง
การปรับลดเพดานอันดับเครดิต (country ceiling) ของประเทศไทยที่ 'A-' จะส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBT ถูกปรับลดอันดับ แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SCBT อาจได้รับการปรับลดอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศของธนาคารถูกปรับลดอันดับ อย่างไรก็ตามฟิทช์จะพิจารณาความแข็งแกร่งโครงสร้างเครดิตของ SCBT เปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศจากฟิทช์ด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของความสามารถหรือโอกาสที่ SCBS จะให้การสนับสนุนให้แก่ SCBT อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของ SCBT ได้รับการปรับเพิ่มอันดับ อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาวจะไม่ได้รับการปรับอันดับเพิ่มอันดับ หากไม่ได้มีการปรับเพิ่มเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทยที่ 'A-'
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้นอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศ ระยะยาวของ SCBT ได้รับการปรับเพิ่มอันดับ
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SCBT อยู่ในระดับที่สูงที่สุดแล้วจึงไม่สามารถปรับเพิ่มอันดับได้
อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น
อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของ SCBT มีความเชื่อมโยงกับอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBS
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ EBG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com/esg
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดของ SCBT มีดังนี้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit