คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ผศ.ดร.กฤษฎา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม และ ผศ.ดร.รุ่ง กิตติพิชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เปิดงาน โครงการ "ยกระดับเยาวชนด้วยศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกลสู่อุตสากรรมไทย 5.0" โดยจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ เรื่อง "การเตรียมความพร้อมรถยนต์...สู่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน" โดยมี อาจารย์อนุชา จันทร์สนิท ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาเป็นเกียรติในงาน มุ่งยกระดับศักยภาพบุคลากรครูผู้สอนและนักศึกษาอาชีวะรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
ผศ.ดร.รุ่ง กิตติพิชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมรถยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมและพลังงานนั้น ต้องขับเคลื่อนพัฒนาองค์ความรู้ในหลายภาคส่วนไปด้วยกัน ตั้งแต่ภาคการศึกษาซึ่งผลิตบุคลากรในทุกระดับ ภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี และภาคประชาชนผู้ใช้ยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจากคณะกรรมการ ABET ถึง 6 หลักสูตร ได้ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง จ.ราชบุรี จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ เรื่อง "การเตรียมความพร้อมรถยนต์...สู่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน" วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันการศึกษาอาชีวะทางด้านวิศวกรรมยานยนต์และแนวโน้มของยานยนต์ยุคใหม่ในอนาคต นำความรู้และทักษะที่ได้รับมาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกระดับให้นักศึกษาอาชีวะ ปวช.ปี 1-3 สามารถเข้าสู่การเรียนรู้ภาคปฎิบัติร่วมกับภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในอนาคตได้ต่อไป
ในประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่มีการเติบโตของอุตสาหกรรมอู่ต่อรถยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ราชบุรี เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมนี้และมีอู่ต่อรถยนต์จำนวนหลายสิบแห่ง สร้างงานสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง นอกจากนี้ ตลาดดัดแปลงรถยนต์เก่าทั่วประเทศจากใช้น้ำมันระบบสันดาปภายในให้เป็นระบบไฟฟ้า เปิดโอกาสกว้างแก่ผู้ประกอบการอู่รถยนต์ที่ต้องปรับตัวในการตอบโจทย์การลดใช้น้ำมันและลดปัญหามลพิษ อีกทั้งราคาไม่แพงและเข้าถึงง่าย ตลอดจนตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมใช้รถยนต์พลังไฟฟ้า ในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้มุ่งเน้นนักศึกษาอาชีวะซึ่งจะเป็นแรงงานในอนาคต ได้เรียนรู้การทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น 1. แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) ทำหน้าแปลงพลังงานแสงที่ได้รับเป็นพลังงานไฟฟ้า 2. ตัวควบคุมประจุการชาร์จ (Charger) ทำหน้าที่ประจุพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจากแผงโซล่าเซลล์เข้าไปยังแบตเตอรี่ 3. แบตเตอรี่ (Battery) สำหรับกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจากแผงโซล่าเซลล์ 4.ตัวควบคุมมอเตอร์ (Motor Controller) ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการจ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปยังมอเตอร์เพื่อควบคุมความเร็วและแรงบิดของมอเตอร์ 5. มอเตอร์ (Motor) ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลเพื่อขับเคลื่อนตัวรถยนต์
นอกจากนี้ ยังเสริมความรู้ด้านการตรวจเช็ครถยนต์และการบำรุงรักษารถยนต์ระบบสันดาปภายในซึ่งยังคงใช้งานไปอีกหลายปีให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยเน้นการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา เพื่อแก้ไขได้ตรงจุด โดยสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาเครื่องยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น รถสตาร์ทไม่ติด การทำงานของเครื่องยนต์ ส่วนประกอบของมอเตอร์สตาร์ท การตรวจสอบระบบจุดระเบิด การทำงานของระบบปั๊มเร่งในคาร์บูเรเตอร์ การตรวจสอบและซ่อมโซลินอยด์ การวัดกำลังอัดในกระบอกสูบเครื่องยนต์ การหาจุดขัดข้องของไดสตาร์ท เป็นต้น โดยมี นายปัญญา เส็งแดง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และนายอภินพ พรศรี งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ ผศ.ดร.กฤษฎา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม และ อาจารย์จารุวรรณ พูพะเนียด ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ เปิดโครงการ "รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อการศึกษาไทยยุค 5G" ในงานเปิดบ้านวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนได้เรียนรู้และประสบการณ์ใน EV ยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคม ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษที่
วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...
วิศวะมหิดล จัดแข่งขันเยาวชนปฎิบัติการปัญญาประดิษฐ์ AI PLUS เพื่อชีวิตยั่งยืน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศวกรรมศาสตร...
วิศวะมหิดล พัฒนาศักยภาพบุคลากรอาชีวะ "การเตรียมความพร้อมรถยนต์...สู่เทคโนโลยีพลังงานทดแทน"
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธ...
วิศวะมหิดล ร่วมกับ สยามไอโอที พัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อระบบ SMART FARM ในโรงเรียน
—
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนสู่วิถีดิจิทัลและสมาร์ทฟาร์ม คณะวิศวกรร...
วิศวะมหิดล นำดิจิทัลพัฒนา ระบบสารสนเทศสหกรณ์ ในโรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์
—
ประเทศไทยยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การพัฒนาและการจัดการในโรงเรียนยุค...
วิศวะมหิดล ถ่ายทอดความรู้ทางวิศวกรรมเรื่อง การซ่อมบำรุง-ดูแลรักษาครุภัณฑ์ แก่ รร.และชุมชน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากร...
วิศวะมหิดล ช่วยสังคมส่งมอบ ตู้ชาร์จโทรมือถือพลังแสงอาทิตย์ รุ่นอักษรเบรลล์ ให้แก่ รพ.ปากพลี จ. นครนายก
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิศวกรรม...
วิศวะมหิดล จัดการแข่งขันเยาวชน AI in Everyday Life พลังเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
—
เยาวชนเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่...
วิศวะมหิดล พัฒนาครูสู่ระบบ Smart Farmer เพื่อการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ค...