ดาร์วินเฮลธ์เผยแพร่โครงการศึกษาค้นคว้ายารักษามะเร็งตั้งแต่ได้สารประกอบไปจนถึงขั้นคลินิกโดยใช้เช็คพอยท์เนื้องอก ชี้แจงแผนแม่บทเพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกแบบใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FD

ดาร์วินเฮลธ์DarwinHealth, Inc.) ( www.DarwinHealth.com ) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและการค้นพบยารักษามะเร็งในนิวยอร์ก เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นคว้าและทวนสอบยารักษามะเร็งที่บริษัทกำลังพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Current Protocols (Wiley Science) ทางออนไลน์ ณ วันที่ 9 กันยายน ดาร์วินเฮลธ์565 ในหัวข้อ "A Patient-to-Model-to-Patient (PMP) cancer drug and biomarker discovery protocol for identifying and validating therapeutic agents targeting tumor regulatory architecture." (โครงการศึกษาค้นคว้ายาและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับใช้รักษามะเร็งแบบ Patient-to-Model-to-Patient (PMP) เพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอก)

ลิงก์อ่านบทความดังกล่าว https://currentprotocols.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/cpz1.544

ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุในรายงานว่า โครงการแบบ Patient-to-Model-to-Patient (PMP) เบื้องหลังโครงการ/เทคโนโลยีค้นคว้ายา ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และเป้าหมายมะเร็งของดาร์วินเฮลธ์ ช่วยแก้ไขจุดอ่อนที่กำลังเผชิญอยู่ในการพัฒนายารักษามะเร็ง เช่น การที่ไม่สามารถหาความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบสำคัญทั้งสามอย่างถูกต้องแม่นยำและใช้ทำนายได้ ซึ่งจำเป็นในการค้นคว้ายาและทวนสอบในการทดลองกับมนุษย์ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งรวมถึง (เอ) ระบุปัจจัยขับเคลื่อนทางชีววิทยา-กลไกและตัวกำหนดสภาพเซลล์มะเร็ง (บี) แสดงลักษณะและพุ่งเป้าไปยังเป้าหมายระดับโมเลกุลที่มีศักยภาพในการรักษาซึ่งมีบทบาทควบคุมสถานะการลอกรหัสของเซลล์มะเร็ง และ (ซี) สร้างตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ตรวจสอบแล้วและทำนายการตอบสนองในการทดลองได้อย่างแม่นยำ

อุปสรรคที่เป็นตัวกีดกันการพัฒนาเทคนิคและยารักษามะเร็งอย่างแม่นยำนี้ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกจากการที่มะเร็งมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นปัญหาท้าทายที่ดาร์วินเฮลธ์จัดการด้วยการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยว ผสานเข้ากับเครื่องมืออัลกอริทึมอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ทำให้จำแนกชนิดย่อยของเนื้องอกได้ตามอัตลักษณ์การถอดรหัส

แนวทางแบบ PMP ของดาร์วินเฮลธ์งัดใช้กรอบการทำงานแบบ oncotecture เพื่อศึกษาชีววิทยามะเร็ง โดยใช้อัลกอริทึมเชิงคำนวณและระเบียบวิธีเชิงทดลอง เพื่อสร้างและตรวจสอบระบบควบคุมเซลล์มะเร็งมนุษย์สำหรับใช้ระบุและพุ่งเป้า "เช็คพอยท์เนื้องอก" (tumor checkpoint) ด้วยสารที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั้งที่มีอยู่เดิมและแบบใหม่ และที่สำคัญ โครงการแบบ PMP นี้ช่วยระบุโปรตีน Master Regulator หรือ MR ที่ประกอบด้วยเช็คพอยท์เนื้องอกได้อย่างเป็นระบบจากตัวอย่างเนื้องอกของผู้ป่วย จากนั้นจะใช้ลักษณะการแสดงออกของยีน (การหาลำดับ RNA) เพื่อหาแบบจำลอง in vitro และ in vivo ที่สร้างแบบจำลองเซลล์ไลน์และสัตว์ตัวแบบได้อย่างเหมาะสมจากการจำลองเช็คพอยท์เนื้องอกของผู้ป่วย เพื่อหากลไกออกฤทธิ์ของยาที่เจาะจงตามลักษณะเนื้องอก

การใช้แบบจำลองเช่นนี้ทำให้ทวนสอบประสิทธิภาพของยาโดยใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้อย่างแม่นยำ ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปรองรับการใช้ในการทวนสอบ PDX และการทดลองกับมนุษย์ในขั้นสูงขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีนี้ การผสานรวมกลไกออกฤทธิ์ตามลักษณะของยาและการระบุเช็คพอยท์เนื้องอกของผู้ป่วยอย่างแม่นยำนั้น ทำให้ได้ตัวชี้วัดทางชีวภาพตามกลไกและมีลักษณะเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มตอบสนองกับเทคนิครักษาทางเภสัชวิทยาที่กำลังศึกษาอยู่ได้มากที่สุด

ดร. ฟอเรสต์ เรย์ ( Forest Ray) นักข่าวสายวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานและเทคโนโลยีดังกล่าวในบทความที่เผยแพร่ออนไลน์บน genomeweb โดยอธิบายถึงนัยทางวิทยาศาสตร์และการค้าของแพลตฟอร์มค้นคว้าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและยาแบบ PMP ของดาร์วินเฮลธ์ ตามลิงก์ด้านล่างนี้ว่า

https://www.genomeweb.com/biomarker-discovery-validation/darwinhealth-applies-systems-bio-workflow-improve-clinical-trial#.Yx2tXi8RpB0

"PMP เป็นโครงการที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมีชีววิทยาระบบเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งผสานรวมกรรมวิธีเชิงคำนวณที่มีความซับซ้อนเข้ากับแนวทางด้านการทดลอง โดยผสานความแม่นยำของการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเร่งการค้นคว้ายา" ดร.ปาสเควล เลส (Pasquale Laise) ผู้นิพนธ์หลัก และผู้อำนวยการอาวุโสประจำแผนกชีววิทยาเชิงคำนวณของดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "แม้โครงการดังกล่าวมีลักษณะกว้าง ๆ และนำไปประยุกต์ใช้กับมะเร็งประเภทหลักหรือประเภทย่อยใด ๆ ก็ได้ แต่การค้นคว้าแบบ PMP แต่ละขั้นตอนนั้นได้รับการออกแบบให้สอดรับกับลักษณะทางโมเลกุลของเนื้องอกจากตัวอย่างของผู้ป่วยแต่ละคน ทำให้ระบุกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะทางเภสัชวิทยาที่มีความเชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพแบบกลไกได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทดลองทางคลินิกที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเป็นปัจจัยหลัก"

การระบุและใช้ยาพุ่งเป้าเช็คพอยท์เนื้องอกสะท้อนถึงระเบียบวิธีอันเป็นเอกลักษณ์ของดาร์วินเฮลธ์ ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญกับการค้นคว้ายารักษามะเร็ง "โครงการแบบ PMP นับเป็นแนวทางอันเป็นระบบที่ใช้ระบุและพุ่งเป้าชุดโปรตีนควบคุม (หรือตัวควบคุมหลัก) ที่มีบทบาทควบคุมอัตลักษณ์การถอดรหัส (สภาพฟีโนไทป์) ของเซลล์มะเร็งได้ ทั้งยังทำให้แผนแม่บทการพัฒนาแบบ Compound-2-Clinic (C2C) นี้โดดเด่นออกมาจากกลยุทธ์อื่น ๆ" ดร.มาเรียโน อัลวาเรซ (Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ ดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "และที่สำคัญ สิ่งนี้ยังขยายคอนเซปต์เกี่ยวกับภาวะการพึ่งพาของยีนก่อมะเร็ง (oncogene addiction) ให้ครอบคลุมตัวควบคุมสภาวะเซลล์มะเร็งแบบถอดรหัส ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างแพร่หลาย ทำให้ตัดแยกออกจากเนื้องอกได้ทุกประเภท โครงการดังกล่าวช่วยปิดวงจรด้วยการตัดแยกตัวควบคุมหลักออกจากเนื้อเยื่อในเนื้องอกของผู้ป่วยโดยตรง จากนั้นใช้กลไกออกฤทธิ์เจาะจงตามลักษณะยา ซึ่งทำให้ได้แบบจำลอง in vitro ที่เกี่ยวเนื่องกัน ส่งผลให้กระบวนการดังกล่าวทำนายการตอบสนองทางการรักษาต่อยาที่อยู่ระหว่างการประเมินประสิทธิภาพในสภาวะแวดล้อมที่สำคัญที่สุดได้ นั่นคือการทดลองทางคลินิก"

โครงการ PMP นี้ออกแบบมาเพื่อรับมือกับความขาดแคลนและข้อจำกัดต่าง ๆ ในแนวทางที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อพัฒนาเทคนิครักษามะเร็งและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ "ในทำนองเดียวกับอาคารที่ตั้งอยู่บนเสาหลายตัว ซึ่งถ้าเสาเดียวมีปัญหาก็ทำให้ทั้งอาคารล่มลงได้ แนวทางคิดค้นเทคนิครักษามะเร็งที่เหมาะสมและอยู่รอดได้นั้นจำเป็นต้องพุ่งเป้าปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็งหลายตัวพร้อมกัน" ดร.แอนเดรีย แคลิฟาโน (Andrea Califano) อาจารย์และหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาระบบ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ( https://news.columbia.edu/news/deciphering-cancer-messy-and-complex-were-here-it ) และผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "เทคโนโลยีและแนวทางในการค้นคว้ายารักษามะเร็งที่ปรากฏให้เห็นในรายงานนี้ ช่วยส่งเสริมเทคนิครักษายีนก่อมะเร็ง ด้วยการพุ่งเป้าไปที่จุดอ่อนที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งหมด ดังที่สะท้อนให้เห็นจากโปรตีนตัวควบคุมหลักที่อยู่เบื้องหลังความผิดปกติและแผนควบคุมของเซลล์เนื้องอก"

แพลตฟอร์ม PMP และกระบวนการค้นคว้ายาของดาร์วินเฮลธ์เป็นรากฐานสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทางบริษัทนำมาใช้ในความร่วมมือและการทำงานร่วมกันทางวิทยาศาสตร์มาแล้วหลายโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการหาเป้าหมายมะเร็งแบบใหม่ การสร้างตัวบ่งชี้ทางชีวภาพแบบใหม่ และการพัฒนายา "โครงการแบบ Patient-to-Model-to-Patient protocol (PMP) อย่างที่เราทำนี้ เป็นกระบวนการค้นคว้ายารักษามะเร็งที่ใช้ตัวอย่างเนื้องอกจากผู้ป่วยและชีววิทยาระบบ รองรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในการรักษามะเร็งแบบแม่นยำและการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด" ดร.กิเดียน บอสเกอร์ (Gideon Bosker) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาและทวนสอบยาแบบ compound-to-clinic อย่างที่รายงานใน Current Protocols นั้นเป็นผลจากการผสานรวมอัลกอริทึมเชิงคำนวณและข้อมูลจากการทดลอง เพื่อทำให้แน่ใจว่า โครงสร้างการควบคุมแบบพุ่งเป้าอย่าง 'เช็คพอยท์เนื้องอก' และกลไกการออกฤทธิ์ (MOA) ของยาที่กำลังประเมินนั้น มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและดำเนินการต่อได้ เมื่อโครงการดังกล่าวก้าวหน้าจากเซลล์ไลน์ไปเป็นสัตว์ตัวแบบ และท้ายที่สุดก็ถึงตัวผู้ป่วยเพื่อวิจัยต่อยอดทางคลินิก ความหลากหลายในแง่ของชีววิทยามะเร็งนั้นทำให้แบบจำลอง PMP รองรับการนำไปใช้กับเนื้องอกในกระแสเลือดและเนื้องอกชนิดเป็นก้อนได้หลากหลายประเภท ซึ่งกำลังมีการทดลองทางคลินิกโดยใช้เทคโนโลยีค้นคว้ายานี้อยู่หลายโครงการ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี PMP เพื่อปรับปรุงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและลดฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันในเซลล์ประเภทย่อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Tregs ไฟโบรบลาสต์ แมคโครฟาจ ในสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็งนั้น เป็นหนทางที่ดูจะมีศักยภาพเป็นอันดับต้น ๆ ในการพัฒนายาที่ช่วยเหลือการตอบสนองของยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยท์ได้ ด้วยการโปรแกรมสถานะฟีโนไทป์ของเซลล์กดภูมิคุ้มกันเสียใหม่"

เมื่อนำมาใช้อย่างเป็นระบบ อย่างที่ดาร์วินเฮลธ์ทำอยู่โดยที่ปรับปรุงและขยับขยายโครงการ PMP ในเชิงการค้าอย่างต่อเนื่องแล้ว กระบวนการค้นคว้ายา ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และเป้าหมายมะเร็งที่ใช้ PMP นั้น ก่อให้เกิดแผนแม่บทที่ทำให้ระบุสารที่ใช้ในการรักษาที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FDA ซึ่งพุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกและโครงสร้างควบคุมของเซลล์พุ่งเป้าอิมมูนได้อย่างแม่นยำและใช้กลไกการออกฤทธิ์

เกี่ยวกับดาร์วินเฮลธ์

DarwinHealth: Precision Therapeutics for Cancer Medicine  คือบริษัทชีวเทคโนโลยีที่เป็น "แนวหน้าด้านการรักษาโรคมะเร็ง" ซึ่งร่วมก่อตั้งโดยนายแพทย์กิเดียน บอสเกอร์ (Gideon Bosker) ในฐานะซีอีโอ และศาสตราจารย์แอนเดรีย แคลิฟาโน (Andrea Califano) ผู้ดำรงตำแหน่ง Clyde and Helen Wu Professor of Chemical Systems Biology และประธานภาควิชาชีววิทยาระบบแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งนี้ เทคโนโลยีของบริษัทได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการแคลิฟาโนตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

ดาร์วินเฮลธ์ใช้อัลกอริทึมชีววิทยาระบบอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เพื่อจับคู่ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายกับยาและชุดยาที่มีแนวโน้มให้ผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด "ในทางกลับกัน อัลกอริทึมเดียวกันนี้ยังสามารถจัดลำดับความสำคัญของยาและสารประกอบที่ยังไม่ทราบประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในมนุษย์ รวมถึง NCT" นายแพทย์บอสเกอร์ กล่าว "นับเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับบริษัทยาที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพสารประกอบของตน และค้นพบ NCT ที่มีประสิทธิภาพเชิงกล รวมถึงสารประกอบสำหรับรักษาเนื้องอก"

พันธกิจของดาร์วินเฮลธ์คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่มีรากฐานมาจากชีววิทยาระบบเพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางคลินิกของการรักษาโรคมะเร็ง โดยเทคโนโลยีหลักของบริษัทอย่างอัลกอริทึมไวเปอร์ ( VIPER) สามารถระบุโมดูลของโปรตีนควบคุมหลักที่ถูกถักทอไว้อย่างแน่นหนา ซึ่งเป็นการรักษารูปแบบใหม่และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของมะเร็ง ระเบียบวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในสองส่วน หนึ่งคือ เทคโนโลยีของดาร์วินเฮลธ์สนับสนุนการจำแนกอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบความถูกต้องของเป้าหมายที่สามารถรับยาได้ภายใต้ตรรกะการควบคุมของเซลล์มะเร็งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้นเราและพันธมิตรทางวิทยาศาสตร์ของเราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการรูปแบบใหม่โดยอาศัยการพึ่งพาและกลไกของเนื้องอกขั้นพื้นฐานและขั้นที่เป็นสากลมากขึ้น และสอง จากมุมมองด้านการพัฒนาและการค้นพบยาใหม่ เทคโนโลยีเดียวกันนี้สามารถระบุเป้าหมายใหม่ที่รับยาได้โดยอาศัย Master Regulator และ Upstream Modulator ของเซลล์เป้าหมายเหล่านั้น วิธีการรักษาโรคมะเร็งของดาร์วินเฮลธ์ซึ่งเน้นการระบุและกำหนด Tumor Checkpoint ได้มอบโซลูชันและโรดแมปที่สำคัญที่สุดเพื่อความก้าวหน้าในการคิดค้นยาและการรักษาโรคมะเร็งที่เน้นความแม่นยำ

แนวทางการแพทย์แม่นยำอันเป็นกรรมสิทธิ์ของดาร์วินเฮลธ์ได้รับการสนับสนุนจากบทความทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรค์โดยผู้นำทางวิทยาศาสตร์ของบริษัท ซึ่งรวมถึงดร. มาเรียโน อัลวาเรซ ( Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของดาร์วินเฮลธ์ ผู้ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่สำคัญของบริษัท โดยกลยุทธ์อันเป็นกรรมสิทธิ์เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านพันธุวิศวกรรมย้อนกลับและการวิเคราะห์ตรรกะการควบคุมและการส่งสัญญาณทั่วทั้งจีโนมของเซลล์มะเร็ง ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการทดลองผ่านการจำลอง การทดลองหลอดแก้ว และการทดลองในสิ่งมีชีวิต ซึ่งมอบแพลตฟอร์มการคันพบและจำแนกลักษณะของยาแบบบูรณาการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งออกแบบมาเพื่ออธิบาย ขับเคลื่อน และตรวจสอบทิศทางการพัฒนายาอย่างแม่นยำ เพื่อบรรลุศักยภาพทางคลินิกและการค้าอย่างเต็มที่ สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.DarwinHealth.com

โลโก้ -  https://mma.prnewswire.com/media/966600/DarwinHealth_Logo.jpg


ข่าวเทคโนโลยีชีวภาพ+DarwinHealthวันนี้

ดาร์วินเฮลธ์เผยแพร่โครงการศึกษาค้นคว้ายารักษามะเร็งตั้งแต่ได้สารประกอบไปจนถึงขั้นคลินิกโดยใช้เช็คพอยท์เนื้องอก ชี้แจงแผนแม่บทเพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกแบบใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FD

ดาร์วินเฮลธ์ ( DarwinHealth, Inc.) ( www.DarwinHealth.com ) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและการค้นพบยารักษามะเร็งในนิวยอร์ก เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นคว้าและทวนสอบยารักษามะเร็งที่บริษัทกำลังพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Current Protocols (Wiley Science) ทางออนไลน์ ณ วันที่ 9 กันยายน 2565 ในหัวข้อ "A Patient-to-Model-to-Patient (PMP) cancer drug and biomarker discovery protocol for identifying and validating therapeutic agents targeting tumor regulatory architecture." (โครงการศึกษาค้นคว้ายา

DarwinHealth สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับ Bristol Myers Squibb ในโครงการ Novel Cancer Target Discovery (NCTI)

DarwinHealth บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพจากนิวยอร์ก ประกาศสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับบริษัท Bristol-Myers Squibb Company (NYSE: BMY) ในโครงการ Novel Cancer Target...

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้า... MEDEZE ต้อนรับคณะผู้บริหาร ABRM ร่วมหารือความร่วมมือยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ — นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำก...

"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มม... "FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ — "FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการ...