ดาร์วินเฮลธ์เผยแพร่ผลลัพธ์จากการศึกษาเทคโนโลยีไวรัลเช็คพอยท์ใหม่ สำหรับการพยากรณ์ยาที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 การทำงานร่วมกันระดับโลกบ่งชี้ความน่าเชื่อถือประยุกต์ใช้ได้ของแบบจำลองไวโรทรีทสำหรับการค้นพบยาต้านไวรัสที่มุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้

ดาร์วินเฮลธ์ (DarwinHealth, Inc.) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและการค้นพบยารักษามะเร็งในนิวยอร์ก ได้ประกาศการตีพิมพ์ออนไลน์เมื่อวันที่ DarwinHealth9 กรกฎาคม ดาร์วินเฮลธ์565 ในคอมมิวนิเคชันส์ ไบโอโลจี (Communications Biology) ซึ่งเป็นวารสารที่มีการพิชญพิจารณ์ (peer review) ของเนเจอร์ พอร์ทฟอลิโอ (Nature Portfolio) สำหรับบทความพื้นฐานเกี่ยวกับแนวทางใหม่ในการค้นพบยาต้านไวรัส "แบบจำลองสำหรับการระบุโดยใช้เครือข่ายและการมุ่งเป้าเชิงเภสัชวิทยาสำหรับการลอกรหัส (transcription) ผิดปกติที่เอื้อให้เกิดการเพิ่มจำนวนซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส" (https://www.nature.com/articles/s4ดาร์วินเฮลธ์เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพรักษามะเร็ง-เทคโนโลยีชีวภาพดาร์วินเฮลธ์ดาร์วินเฮลธ์-เทคโนโลยีชีวภาพรักษามะเร็ง66รักษามะเร็ง-8)

ขณะที่วิกฤตโรคระบาดโควิดยังเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศ โดยที่มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการพุ่งสูงขึ้นซ้ำใหม่ของการแพร่ระบาดที่เชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งแพร่ระบาดได้ง่าย อย่างเช่น BA.5, BA.2.75 และอื่น ๆ ทำให้ขณะนี้มีความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองสำหรับการพัฒนาและการใช้งานแบบจำลองการค้นพบยาต้านไวรัส ที่พยากรณ์ ตรวจสอบ และยกระดับแนวโน้มผลการเป็นยารักษาได้อย่างแม่นยำรวดเร็วของสารยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสทั้งที่มีอยู่แล้วและที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะสำหรับการระบุยาต้านไวรัสที่ทำให้เซลล์เจ้าบ้านที่ได้รับเชื้อสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสได้มากขึ้น ซึ่งเรียกว่า "การรักษาโดยมุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้าน" (host-directed therapy หรือ HDT) และมีศักยภาพที่จะเป็นวิธีการรักษาแบบเดี่ยวที่มีประสิทธิผลหรือเป็นวิธีการรักษาแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลเชิงคลินิกของยาที่ได้รับอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ให้เป็นไปอย่างสูงสุด ด้วยการมุ่งเป้าที่ไวรัสโดยตรงด้วยกลไกทางเลือกในการออกฤทธิ์

ในบริบทเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ของดาร์วินเฮลธ์และเพื่อนร่วมงานในระดับนานาชาติได้นำเสนอและได้ดำเนินการทดลองเพื่อทดสอบรับรองไวโรทรีท (ViroTreat) แบบจำลองการควบคุมเชิงทดลองใหม่แบบบูรณาการที่มุ่งเน้นเครือข่าย ซึ่งสามารถใช้ในการระบุอย่างรวดเร็วสำหรับยาต้านไวรัสที่มุ่งเป้าการตอบสนองของเซลล์เจ้าบ้านต่อการรุกรานเข้าควบคุมของไวรัส (viral hijack) ภายในทั้งระบบของเซลล์ แบบจำลองดังกล่าวนี้บูรณาการการทดสอบประเมินทั้งเชิงคำนวณและเชิงทดลอง เพื่อที่จะ (ก) ระบุความผิดปกติของเครือข่ายการควบคุมที่ระดับของการลอกรหัส (ไวรัล เช็คพอยท์ หรือ Viral Checkpoint) ซึ่งเกิดจากไวรัสที่ทำให้ติดเชื้อ และ (ข) พยากรณ์ยาที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและความสามารถในการทำให้ติดเชื้อ ด้วยการต่อต้านกระบวนการรุกรานเข้าควบคุมกลไกควบคุมของเซลล์เจ้าบ้านในการทำให้ติดเชื้อไวรัส

ในรายงานดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าในภาพรวมแล้ว ยา 15 จาก 18 ตัว (83%) ที่วิธีวิทยาของพวกเขาพยากรณ์ว่าจะมีประสิทธิผลได้ก่อให้เกิดการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยไม่ส่งผลกับการมีชีวิตของเซลล์ ในทางกลับกัน ไม่มียาตัวใดใน 12 ตัวที่ได้รับเลือกว่ามีแนวโน้มเป็นตัวควบคุมเชิงลบ (negative control) แสดงประสิทธิผลในการต้านไวรัสอย่างมีนัยสำคัญ ยาได้รับการจัดลำดับความสำคัญสำหรับการประเมินจากกลไกการออกฤทธิ์เฉพาะบริบทที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนในการทดลอง ซึ่งวัดจากการแทรกแซงของยาในเซลล์ไลน์ที่จับคู่กันอย่างเหมาะสม แบบจำลองสำหรับวิธีการรักษาทางเภสัชวิทยาที่มุ่งเน้นเซลล์เจ้าบ้านดังกล่าวนี้มีความน่าเชื่อถือประยุกต์ใช้ได้ (generalizable) อย่างสมบูรณ์และสามารถใช้ในการระบุยาที่มุ่งเป้าสัญญาณการทำงานของตัวควบคุมหลัก (master regulator) ในเซลล์เจ้าบ้านซึ่งเชื้อก่อโรคแทบทุกชนิดกระตุ้นให้เกิดขึ้น

การตีพิมพ์ครั้งนี้เป็นผลของความพยายามหลายสถาบันในการค้นหาระเบียบวิธีที่มีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นความแม่นยำ สำหรับการแสวงหาวิธีการรักษาทั้งสำหรับ SARS-CoV-2 และไวรัสอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิด และเป็นผลของการทำงานร่วมกันระดับนานาชาติระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาชีววิทยาระบบ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) ภาควิชาโรคติดเชื้อและไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (เยอรมนี) ศูนย์การแพทย์แม่นยำ มหาวิทยาลัยเบิร์น (สวิตเซอร์แลนด์) และบริษัทดาร์วินเฮลธ์ (สหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำโครงการระดับโลกดังกล่าวนี้

"ท่ามกลางบริบทอันท้าทายซึ่งแนวทางการคัดกรองยาแบบดั้งเดิม และ/หรือการออกแบบยาต้านไวรัสแบบจำเพาะเจาะจงในการจัดการกับวิกฤตโรคระบาดระดับโลก ต้องประสบกับข้อจำกัดจากการขาดความแม่นยำหรือระยะเวลาการพัฒนาที่ยาวนานเกินกว่าที่จะยอมรับได้ตามลำดับ แบบจำลองไวโรทรีทที่เราได้พัฒนาขึ้นนี้สามารถถือว่าเป็นวิธีการในอุดมคติ ซึ่งทำให้เราสามารถมุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้านด้วยโมเลกุลขนาดเล็กที่ทำให้เซลล์เอื้อต่อการติดเชื้อและการเพิ่มจำนวนของไวรัสน้อยลง" ดร. สตีฟ บูลันท์ (Dr. Steeve Boulant) นักไวรัสวิทยา ผู้ประพันธ์หลักและรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาอณูพันธุศาสตร์และจุลชีววิทยา วิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบาย "ที่สำคัญคือ ความก้าวหน้าล่าสุดในแบบจำลองการเพาะเลี้ยงออร์แกนอยด์ (organoid) ซึ่งเป็น 'อวัยวะขนาดจิ๋วในจาน' ที่ใช้การได้ ได้ทำให้เป็นไปได้ที่จะมีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ในเชิงสรีรวิทยาในบริบทของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ทำให้เราสามารถใช้งานไวโรทรีทได้อย่างรวดเร็วและสามารถพยากรณ์ระบุสารที่ลดความสามารถในการทำให้ติดเชื้อ ความก้าวหน้าเหล่านี้ทำให้เป็นไปได้ที่จะศึกษาไวรัสก่อโรคทั้งชนิดใหม่และชนิดเดิมที่มีอยู่ รวมถึงไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในแบบจำลองออร์แกนอยด์ที่เกี่ยวข้องภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน จึงช่วยขยายชุดเครื่องมือของเราด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญ ซึ่งจะประเมินค่ามิได้สำหรับการจัดการกับเชื้อก่อโรคชนิดใหม่ รวมถึงสำหรับโรคจากไวรัสที่มีอยู่แล้ว ซึ่งยังขาดแคลนวิธีการรักษาที่ดีและปลอดภัยมากขึ้น"

การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เซลล์แบบเดี่ยวเพื่อยกระดับความแม่นยำของการค้นพบยาต้านไวรัสเป็นมิติสำคัญของการออกแบบการทดลองแบบจำลองดังกล่าวนี้ "เพราะการวิเคราะห์ระดับโมเลกุลที่ดำเนินการในระดับเนื้อเยื่อสามารถสร้างสัญญาณที่บิดเบือน/มีความขัดแย้งในตัวจากเซลล์ทั้งที่ติดเชื้อและไม่ได้ติดเชื้อ การใช้เทคโนโลยีแบบเซลล์เดี่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานนี้" ผู้ประพันธ์หลัก ดร. ปาสเควล เลส (Dr. Pasquale Laise) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเภสัชวิทยาระบบเซลล์เดี่ยว ดาร์วินเฮลธ์ อธิบาย "ในแบบจำลองนี้ เทคโนโลยีเซลล์เดี่ยวช่วยให้เราสามารถจำแนกเซลล์ที่ติดเชื้อออกจากเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อได้อย่างชัดเจน จึงช่วยขยายผลการลอกรหัสของเชื้อ SARS-CoV-2 ต่อเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อ ทำให้ทีมงานของเราสามารถระบุตัว หรือที่จริงคือระบุจำนวนสัญญาณไวรัลเช็คพอยท์ที่จำเพาะเจาะจงซึ่งก่อให้เกิดขึ้นในเซลล์เจ้าบ้านโดยไวรัส โดยใช้ระดับกิจกรรมของโปรตีนที่ประเมินโดยอัลกอริทึมไวเปอร์ (VIPER) ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของเรา และเช่นนี้จึงสามารถพยากรณ์ยาที่จะยับยั้งการเพิ่มจำนวนระหว่างระยะการติดเชื้อที่มีการรุกรานเข้าควบคุมของไวรัสได้อย่างแม่นยำ"

ผลลัพธ์ของความพยายามระดับโลกดังกล่าวนี้ได้ระบุแนวทางใหม่ในการมุ่งเป้าที่ความเปราะบางของไวรัสที่ทำให้ติดเชื้อ ซึ่งต่างจากกลวิธีแบบดั้งเดิมในการมุ่งค้นพบยาต้านไวรัส "งานนี้แสดงให้เห็นว่าการรุกรานเข้าควบคุมเซลล์เจ้าบ้านโดยไวรัสซึ่งเอื้อต่อการเพิ่มจำนวนนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากกลไกที่ต้องใช้ในการสังเคราะห์ไรโบนิวคลีโอไทด์ (ribonucleotide) และโปรตีน หรือการแทรกแซงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต้านไวรัสที่มีอยู่โดยกำเนิดเท่านั้น แต่ลงลึกไปถึงกลไกที่ควบคุมอัตลักษณ์การลอกรหัสเซลล์เจ้าบ้าน โดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดสภาพลักษณะปรากฏ (phenotypic state) ในเซลล์เจ้าบ้านที่สอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนของไวรัส" ดร. มาเรียโน อัลวาเรซ (Dr. Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ ดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "ที่สำคัญคือ เราได้แสดงว่ากลไกควบคุมอัตลักษณ์การลอกรหัสของเซลล์ที่ถูกรุกรานควบคุมสามารถจำแนกออกมาได้อย่างแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้น การแทรกแซงทางเภสัชวิทยา ซึ่งเราพยากรณ์ว่าจะสามารถขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สามารถล็อคเซลล์ให้อยู่ในสภาพทนต่อการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิผล แนวทางดังกล่าวนี้อาจเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของการระบุยาต้านไวรัสที่มุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ"

ความสำเร็จของคณะวิจัยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและแบบจำลองที่มุ่งเน้นการค้นพบยารักษามะเร็งที่พัฒนาขึ้นในแคลิฟาโน แล็บ (Califano Lab) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย "ที่น่าทึ่งที่สุดก็คือ วิธีวิทยาที่พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาเซลล์มะเร็งและโครงการพัฒนา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลในการจัดลำดับความสำคัญของยาสำหรับโรคติดเชื้อรุนแรง" ดร. แอนเดรีย แคลิฟาโน (Dr. Andrea Califano) ผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ และอาจารย์/หัวหน้าภาควิชาชีววิทยาระบบ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวเน้นย้ำ (https://news.columbia.edu/news/deciphering-cancer-messy-and-complex-were-here-it) "ความน่าเชื่อถือประยุกต์ใช้ได้ของแนวทางนี้บ่งชี้ว่า ความสำเร็จครั้งนี้นำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญอย่างรวดเร็วของวิธีการรักษาสำหรับการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ และวิกฤตโรคระบาดอื่น ๆ ในอนาคตได้"

"จนถึงตอนนี้ การรักษาแบบมุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้าน (HDT) สำหรับการติดเชื้อไวรัสยังเกิดขึ้นได้ยาก เท่าที่เราทราบ นี่เป็นครั้งแรกที่มีการใช้แบบจำลองทางชีววิทยาเชิงทดลองและเชิงคำนวณของการติดเชื้อไวรัสสำหรับการจำแนก มุ่งเป้า และเปลี่ยนแปลงระบบควบคุมที่กระทำต่อเซลล์เจ้าบ้านโดยเชื้อก่อโรคที่ทำให้ติดเชื้อเพื่อให้เอื้อต่อการรุกรานเข้าควบคุมของไวรัส" ดร. กิเดียน บอสเกอร์ (Dr. Gideon Bosker) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ อธิบาย "ในการนี้ กระบวนการวิจัยและพัฒนาที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของเราซึ่งใช้เทคโนโลยีไวเปอร์ จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการนำไปใช้ประโยชน์โดยคู่ค้าบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์เพื่อคัดกรอง ค้นพบ และทดสอบรับรองสารทางเภสัชวิทยาชนิดใหม่และที่มีอยู่เดิม ซึ่งด้วยกลไกที่ทำให้เกิด 'การคุมกำเนิดไวรัส' ที่ระดับการลอกรหัสเซลล์เจ้าบ้าน สามารถมีประสิทธิผลในการรักษาสำหรับการติดเชื้อไวรัสที่หลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางการรักษาแบบมุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้าน อย่างเช่นวิธีการที่เรารายงานนี้ ด้วยการมุ่งเป้าที่ตัวก่อปฏิกิริยาของเซลล์เจ้าบ้านซึ่งได้รับการทดสอบแล้วหลายตัว อาจช่วยลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงจากการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งเสริมฤทธิ์การหลบหลีกภูมิคุ้มกันระหว่างการติดเชื้อ"

แบบจำลองของดาร์วินเฮลธ์ที่รายงานในคอมมิวนิเคชันส์ ไบโอโลจี สามารถใช้เป็นวิธีการที่รวดเร็วในการระบุและคัดกรองวิธีการรักษาเชิงเภสัชวิทยาที่มีความเป็นพิษต่ำโดยครอบคลุมกลไกการออกฤทธิ์และเชื้อไวรัสก่อโรคที่หลากหลาย รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรนาและไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อระบุวิธีการรักษาที่มุ่งเป้าเซลล์เจ้าบ้านซึ่งอาจจะมีประสิทธิผล ไม่ว่าจะเพื่อเป็นการแทรกแซงโดยตรงแบบเดี่ยว หรือเป็นวิธีเสริมการรักษาต้านไวรัสโดยตรง รวมถึงยายับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส (protease inhibitor) และสารอื่น ๆ

"เราเชื่อว่าแบบจำลองที่เรารายงาน ทั้งวิธีการ ผลลัพธ์ และการประยุกต์ใช้ ถือเป็นแนวทางเชิงทดลองที่น่าตื่นเต้นสำหรับการจำแนกปฏิกิริยาระหว่างไวรัสกับเซลล์เจ้าบ้านที่สามารถใช้สำหรับการมุ่งเป้าเชิงเภสัชวิทยาได้" ดร. บอสเกอร์ กล่าว "เราคาดว่าจะมีความสนใจเป็นวงกว้างในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างเซลล์เจ้าบ้านกับเชื้อจุลินทรีย์ และการค้นพบยาในบริบทของการติดเชื้อไวรัสและวิกฤตโรคระบาดใหม่ ซึ่งการเร่งกระบวนการค้นพบและการลดต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการพัฒนายาแบบดั้งเดิมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด"

เกี่ยวกับดาร์วินเฮลธ์

DarwinHealth: Precision Therapeutics for Cancer Medicine คือบริษัทเทคโนโลยีที่เป็น "แนวหน้าด้านการรักษาโรคมะเร็ง" ซึ่งร่วมก่อตั้งโดยนายแพทย์กิเดียน บอสเกอร์ (Gideon Bosker) ในฐานะซีอีโอ และศาสตราจารย์แอนเดรีย แคลิฟาโน (Andrea Califano) ผู้ดำรงตำแหน่ง Clyde and Helen Wu Professor of Chemical Systems Biology และประธานภาควิชาชีววิทยาระบบแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งนี้ เทคโนโลยีของบริษัทได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการแคลิฟาโนตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

ดาร์วินเฮลธ์ใช้อัลกอริทึมชีววิทยาระบบอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เพื่อจับคู่ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายกับยาและชุดยาที่มีแนวโน้มให้ผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด "ในทางกลับกัน อัลกอริทึมเดียวกันนี้ยังสามารถจัดลำดับความสำคัญของยาและสารประกอบที่ยังไม่ทราบประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในมนุษย์ รวมถึง NCT" นายแพทย์บอสเกอร์ กล่าว "นับเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับบริษัทยาที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพสารประกอบของตน และค้นพบ NCT ที่มีประสิทธิภาพเชิงกล รวมถึงสารประกอบสำหรับรักษาเนื้องอก"

พันธกิจของดาร์วินเฮลธ์คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่มีรากฐานมาจากชีววิทยาระบบเพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางคลินิกของการรักษาโรคมะเร็ง โดยเทคโนโลยีหลักของบริษัทอย่างอัลกอริทึมไวเปอร์ (VIPER) สามารถระบุโมดูลของโปรตีนควบคุมหลักที่ถูกถักทอไว้อย่างแน่นหนา ซึ่งเป็นการรักษารูปแบบใหม่และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของมะเร็ง ระเบียบวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในสองส่วน หนึ่งคือ เทคโนโลยีของดาร์วินเฮลธ์สนับสนุนการจำแนกอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบความถูกต้องของเป้าหมายที่สามารถรับยาได้ภายใต้ตรรกะการควบคุมของเซลล์มะเร็งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้นเราและพันธมิตรทางวิทยาศาสตร์ของเราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการรูปแบบใหม่โดยอาศัยการพึ่งพาและกลไกของเนื้องอกขั้นพื้นฐานและขั้นที่เป็นสากลมากขึ้น และสอง จากมุมมองด้านการพัฒนาและการค้นพบยาใหม่ เทคโนโลยีเดียวกันนี้สามารถระบุเป้าหมายใหม่ที่รับยาได้โดยอาศัย Master Regulator และ Upstream Modulator ของเซลล์เป้าหมายเหล่านั้น วิธีการรักษาโรคมะเร็งของดาร์วินเฮลธ์ซึ่งเน้นการระบุและกำหนด Tumor Checkpoint ได้มอบโซลูชันและโรดแมปที่สำคัญที่สุดเพื่อความก้าวหน้าในการคิดค้นยาและการรักษาโรคมะเร็งที่เน้นความแม่นยำ

แนวทางการแพทย์แม่นยำอันเป็นกรรมสิทธิ์ของดาร์วินเฮลธ์ได้รับการสนับสนุนจากบทความทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรค์โดยผู้นำทางวิทยาศาสตร์ของบริษัท ซึ่งรวมถึงดร. มาเรียโน อัลวาเรซ (Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของดาร์วินเฮลธ์ ผู้ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่สำคัญของบริษัท โดยกลยุทธ์อันเป็นกรรมสิทธิ์เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านพันธุวิศวกรรมย้อนกลับและการวิเคราะห์ตรรกะการควบคุมและการส่งสัญญาณทั่วทั้งจีโนมของเซลล์มะเร็ง ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการทดลองผ่านการจำลอง การทดลองหลอดแก้ว และการทดลองในสิ่งมีชีวิต ซึ่งมอบแพลตฟอร์มการคันพบและจำแนกลักษณะของยาแบบบูรณาการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งออกแบบมาเพื่ออธิบาย ขับเคลื่อน และตรวจสอบทิศทางการพัฒนายาอย่างแม่นยำ เพื่อบรรลุศักยภาพทางคลินิกและการค้าอย่างเต็มที่ สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.DarwinHealth.com

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/966600/DarwinHealth_Logo.jpg 


ข่าวเทคโนโลยีชีวภาพ+DarwinHealthวันนี้

ดาร์วินเฮลธ์เผยแพร่โครงการศึกษาค้นคว้ายารักษามะเร็งตั้งแต่ได้สารประกอบไปจนถึงขั้นคลินิกโดยใช้เช็คพอยท์เนื้องอก ชี้แจงแผนแม่บทเพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกแบบใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FD

ดาร์วินเฮลธ์ ( DarwinHealth, Inc.) ( www.DarwinHealth.com ) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและการค้นพบยารักษามะเร็งในนิวยอร์ก เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นคว้าและทวนสอบยารักษามะเร็งที่บริษัทกำลังพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Current Protocols (Wiley Science) ทางออนไลน์ ณ วันที่ 9 กันยายน 2565 ในหัวข้อ "A Patient-to-Model-to-Patient (PMP) cancer drug and biomarker discovery protocol for identifying and validating therapeutic agents targeting tumor regulatory architecture." (โครงการศึกษาค้นคว้ายา

DarwinHealth สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับ Bristol Myers Squibb ในโครงการ Novel Cancer Target Discovery (NCTI)

DarwinHealth บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพจากนิวยอร์ก ประกาศสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับบริษัท Bristol-Myers Squibb Company (NYSE: BMY) ในโครงการ Novel Cancer Target...

"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มม... "FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ — "FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการ...