สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกันดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) รุ่นที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 12 สิงหาคม 2565 รูปแบบ Online ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ และรองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งทำหน้าที่ในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมผ่านโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" หรือ "ลูกไก่" มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้มากขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถตอบโจทย์ของประเทศในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศโดยการขับเคลื่อนไปสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัยในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ซึ่งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนางานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนา
นอกจากนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ยังได้กล่าวถึง ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดโครงการฝึกอบรม "วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย" (Training for the trainers) (แม่ไก่) รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้สร้างวิทยากร (แม่ไก่) มากว่า 30 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 -2564 จัดโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่"(ลูกไก่) จำนวน 8 รุ่น ได้นักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) มากกว่า 500 คน และใน ปี พ.ศ. 2565 นี้ เป็นรุ่นที่ 9 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมในวันนี้ จำนวน 65 คน ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรม มาจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ โรงเรียนสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานราชการ โรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุข และภาคเอกชน เป็นต้น พร้อมทั้งได้กล่าวขอบคุณผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินโครงการ "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" ที่ดีเสมอมา รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ได้ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะต่าง ๆ กับวิทยากร (แม่ไก่) และผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านที่ให้ความสำคัญและความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมโครงการ "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) ในครั้งนี้
มหาวิทยาลัยพะเยา สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ในกิจกรรม Research Networking & Paper Camp ซึ่งจัดอยู่ในโปรแกรมที่ 2 ในกิจกรรม "เรียนรู้จากพี่เลี้ยงเดอะ ซีรีย์" ปีที่ 4 ระหว่างวันที่ 24 25 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม M2 Hotel Watersideโดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงกรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร และ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับผู้
วช. และมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมขับเคลื่อนการ "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่)
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกันดำเนินการ...
วว.จับมือ มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนาความรู้/งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
—
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเท...
ภาพข่าว: วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาคประจำปี 2560”
—
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่ว...
CIBA DPU ลงนามความร่วมมือกับ ฟอร์ท คอร์ปฯ เจ้าของแบรนด์ดัง "เต่าบิน" เปิดประตูสู่การฝึกงานด้านนวัตกรรม พร้อมโอกาสร่วมงานในอนาคต
—
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก"
—
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...
วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาส...
ม.พะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๔ บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนานักจัดการเชิงพื้นที่
—
มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ...