มหาวิทยาลัยโตเกียว ใช้ Fugaku ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของฟูจิตสึ ช่วยวิจัยคิดค้นยารักษาโควิด-19

ฟูจิตสึประเทศญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือครั้งใหม่กับทีมวิจัยที่นำโดยทาเคฟูมิ ยามาชิตะ รองศาสตราจารย์ประจำโครงการศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นสูง (Research Center for Advanced Science and Technology : RCAST) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกชื่อว่า Fugaku ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยริเก้น และฟูจิตสึ ในการระบุสารประกอบยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็ก ที่สามารถใช้เป็นยาที่มีศักยภาพในการรักษาโรคโควิด-19 รวมถึงไขความลับของกลไกระดับโมเลกุลที่ช่วยยับยั้งการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ การวิจัยอย่างเต็มรูปแบบได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2564 และจะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมีนาคม 2565

มหาวิทยาลัยโตเกียว ใช้ Fugaku ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของฟูจิตสึ ช่วยวิจัยคิดค้นยารักษาโควิด-19

ในงานวิจัยร่วม ฟูจิตสึ และ RCAST จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคิดค้นสูตรยา โดยมุ่งเน้นที่เทคโนโลยีการสร้างสารประกอบยับยั้ง และเทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุลที่แสดงสถานะของโมเลกุลอย่างแม่นยำ ซึ่งจะมีการคำนวณบนเครื่อง Fugaku เพื่อระบุสารประกอบยับยั้งโดยสังเกตพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของโปรตีนจากไวรัส และทำนายคุณสมบัติของการกลายพันธุ์ในอนาคต ด้วยพลังของ Fugaku การจำลองระดับโมเลกุลของโปรตีนจากไวรัส และการคำนวณหาสูตรของสารยับยั้งจะสามารถเร่งให้เร็วขึ้น ซึ่งจะไขความกระจ่างของกระบวนสร้างพันธะ และปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนจากไวรัสกับสารยับยั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการระบุสารประกอบยับยั้ง ที่นำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคในระยะแรกได้ มหาวิทยาลัยโตเกียว ใช้ Fugaku ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของฟูจิตสึ ช่วยวิจัยคิดค้นยารักษาโควิด-19

ในอนาคต ฟูจิตสึจะยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการจำลองในระดับโมเลกุลต่อไป พร้อมมุ่งมั่นที่จะเร่งพัฒนารูปแบบการรักษาโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวิจัยร่วมกับรองศาสตราจารย์ยามาชิตะแห่ง RCAST ที่ตระหนักถึงสังคมที่ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างผาสุกดังเดิม

ความเป็นมา

ตั้งแต่ปี 2554 ฟูจิตสึได้มีส่วนร่วมในการวิจัยกับ RCAST เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคิดค้นสูตรยา เพื่อสร้างสารประกอบโมเลกุลขนาดเล็กที่เป็นตัวเลือกสำหรับยาต้านมะเร็งและโรคอื่นๆ ซึ่งขณะที่วัคซีนประสิทธิภาพสูงจำนวนหนึ่งได้รับการพัฒนาจนประสบผลสำเร็จ เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่การพัฒนายารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพนั้น ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ฟูจิตสึและ RCAST จึงตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการวิจัยร่วมครั้งใหม่ ในการระบุหาสารประกอบยับยั้งที่จะนำไปสู่การพัฒนายาต้านโคโรน่าไวรัส โดยใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลอันไร้เทียมทานของ Fugaku เพื่อสนับสนุนเป้าหมายนี้

ภาพรวมของการวิจัย

แรกเริ่มเดิมที ฟูจิตสึและ RCAST ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับยาโมเลกุลขนาดเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะนำมารับประทานได้ สังเคราะห์ได้ทางเคมี และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เมื่อเทียบกับยาชนิดเปปไทด์ แอนติบอดี้ กรดนิวคลีอิก และเซลล์ ด้วยเป้าหมายในการระบุสารยับยั้งที่นำไปสู่การพัฒนายาต้านโคโรน่าไวรัสตัวใหม่อันทรงประสิทธิภาพ ในปริมาณโดซที่น้อยและผลข้างเคียงต่ำ เทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการวิจัยร่วมกันจะถูกปรับใช้ เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถจับกับโปรตีนไวรัส และควบคุมการทำงานของมันได้ เทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุล และ Fugaku จะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายสำหรับงานต่างๆ รวมถึงการสร้างแบบจำลองโครงสร้างสามมิติ การอธิบายกลไกยับยั้งการติดเชื้อในระดับโมเลกุล ที่นำไปสู่การพัฒนายารักษาโรค และจำลองสถานการณ์ เพื่อทำนายพฤติกรรมและคุณสมบัติของสายพันธุ์กลายพันธุ์ เพื่อให้การรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสกลายพันธุ์มีประสิทธิผลดีขึ้น

ที่มา : บทความ Fujitsu Japan Embarks on Joint Research for COVID-19 Therapies Using World's Fastest Supercomputer with Researchers of Research Center for Advanced Science and Technology, The University of Tokyo

 


ข่าวมหาวิทยาลัยโตเกียว+ประเทศญี่ปุ่นวันนี้

5 องค์กรภาคีผนึกกำลังเปิดหลักสูตร "โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง" รุ่นที่ 5

ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตร " WELLNESS & HEALTHCARE BUSINESS OPPORTUNITY PROGRAM FOR EXECUTIV (WHB)" กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด, ภาควิชานโยบายด้านสุขภาพของโลก บัณทิตวิทยลัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท ไทยพัฒนาสุขภาพ จำกัด โดย International Wellness & Healthcare Academy ได้ร่วมมือกันจัดการเรียนหลักสูตร WHB รุ่นที่ 5 เพื่อตอบสนองน

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เ... ฟูจิตสึ ประยุกต์ใช้ AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการพยากรณ์สึนามิ แบบเรียลไทม์ — โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยา...

โทคิวะ ไฟโตเคมิคอล ประกาศผลการศึกษาก้าวล้ำครั้งใหม่ สนับสนุนประโยชน์ของ SIRTMAX (R) ในการส่งเสริมชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้น

บริษัท โทคิวะ ไฟโตเคมิคอล จำกัด (Tokiwa Phytochemical Co., Ltd.) (หลังจากนี้เรียกว่า "โทคิวะ") จากประเทศญี่ปุ่น มีความยินดีที่ได้เผยแพร่รายงานจาก...

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Manag... ภาพข่าว: ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation — ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM ...

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Manag... ภาพข่าว: ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation — ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM ...

ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM สำหรับคนยุคใหม่ "( TQM Total Quality Management หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไร...

Ajinomoto Co., Inc. ("บริษัท Ajinomoto") ... ผงชูรสได้รับการปฏิบัติ อย่างเป็นธรรมหรือไม่? — Ajinomoto Co., Inc. ("บริษัท Ajinomoto") ดำเนินธุรกิจมายาวนาน กว่า ศตวรรษ ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2451...

หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะชื่อเสียง ค่... สร้างประชาธิปไตยทางการศึกษา เริ่มที่ระบบโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ — หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะชื่อเสียง ค่าเทอมแพง หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะ...