ศจย. ร่วมกับ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่าย- แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และ สสส. เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชีย แปซิฟิก ครั้งที่ 13 หวังสร้างความตระหนักถึงพิษภัยยาสูบร้ายแรงกว่าโควิด 19 ระบุคนตายจากบุหรี่ ต่อปีมากกว่าโควิด 3-4 เท่า พร้อมออกปฏิญญาทั้งระดับปฏิบัติงานและกลุ่มเยาวชน เพื่อเสริมความ แข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับนานาชาติ ด้านนักวิชาการไทยและต่างประเทศตบเท้าเข้าร่วม กว่า 2,700 คน พร้อมงานวิจัยเกี่ยวกับยาสูบและสุขภาพอัพเดตล่าสุด กว่า 300 ผลงาน
ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าวถึงที่มา และความน่าสนใจของงานประชุมด้านยาสูบระดับนานาชาติในครั้งนี้ว่า งานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 หรือ 13th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13th APACT 2021 Bangkok) ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดงานเป็นครั้งที่ 3 ตลอดระยะเวลาการจัดประชุมที่ APACT ที่ยาวนานกว่า 26 ปี นั้น ในปีนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่าง ศจย. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีก 12 องค์กรพันธมิตร ตกลงจัดงานประชุม ในลักษณะลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมแบบ Live Stream ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 หวังสร้างสังคมปลอดบุหรี่ รวมถึงสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาสูบที่ร้ายแรงกว่าโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 เพราะจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั่วโลกจากยาสูบต่อปีมากกว่าโควิด 19 ถึง 3-4 เท่า และบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ในประเทศไทยเองบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุด้านขภาพ
ศ.นพ.รณชัย กล่าวต่ออีกว่า ภายในงาน 13th APACT 2021 Bangkok ยังมีงานประชุมวิชาการที่น่าสนใจอีก 2 งาน คือ การประชุมวิชาการ 100 ปี แพทยสมาคม หรือ Medical Association of Thailand 1921 - 2021 โดย แพทยสมาคม-แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 19 หรือ TRC INTERNATIONAL CONFERENCE 2021 "Empowering Policy Implementation on Tobacco Control" โดย ศจย. ที่จะดำเนินไปพร้อมกัน นับเป็นการเสริมพลังวิชาการด้านงานควบคุมยาสูบ ที่จะแปรเป็นโยบายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ให้เข้มแข็งทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปยังอนาคต โดยประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถรับทราบข่าวสารงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ www.apact2021.com
"ขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ในฐานะภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบจาก ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ราว 2,700 คน จาก 40 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนให้สังคมปลอดบุหรี่ โดยเป็นคนไทยประมาณ 2,200 คน ต่างชาติ 500 กว่าคน มากที่สุดตั้งแต่จัด APACT มา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักวิชาการ ด้านยาสูบโดยเฉพาะกว่า 120 คน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและผลงานวิชาการเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ และสุขภาพด้านต่างๆ อีก 300 กว่าชิ้น จาก 36 ประเทศ ที่จะมาอัพเดตให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้ากับโควิด 19 ที่มีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกัน นโยบายเพื่อหยุดการใช้ยาสูบ ผลกระทบการเก็บ ภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบและ นิโคติน อนาคตการควบคุมยาสูบ รวมถึงกรณีเยาวชนในเอเชีย - แปซิฟิกจับมือออกปฏิญญา รณรงค์ต้านยาสูบ ซึ่งนับเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนวัยใสหันมาสนใจเรื่องยาสูบและสุขภาพมากขึ้น" ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าว
ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021 กล่าวว่า ภายในงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok ได้ให้ความสำคัญ กับกลุ่มเยาวชนที่กำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า โดยจะมีการประชุมกลุ่ม Youth ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ประกอบด้วยเยาวชนไทย 100 คน เยาวชนจากเอเชีย-แปซิฟิก 73 คน ซึ่งเยาวชนแต่ละคน มีแผนงานรณรงค์ต้านยาสูบของตนเอง วงประชุมที่จัดแยกออกมานี้ก็เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหา ข้อสรุปในการออกปฏิญญาต้านยาสูบสำหรับเยาวชนเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี จะมีการติดตามปฏิญญาหลัง ประชุมเสร็จด้วยว่ามีความคืบหน้าหรือผลสำเร็จอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยปฏิญญา Youth จะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของปฏิญญา APACT 2021 ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับภาคส่วนอื่นๆ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับ นานาชาติได้อย่างแท้จริง
"การออกปฏิญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบ ข้อควรปฏิบัติ และความร่วมมือระดับนานาชาติ ในงาน APACT 2021 จะมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฉบับ คือ ปฎิญญาเยาวชน ปฏิญญาเครือข่ายทำงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และปฏิญญาของกลุ่มผู้ทำงานด้านยาสูบระดับชาติกว่า 900 องค์กรที่ทำงานร่วมกัน โดยทั้ง 3 ปฏิญญาจะกลายเป็นปฏิญญา ใหญ่ของ APACT 2021" เลขาธิการการประชุม APACT 2021 ระบุ
ด้าน นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ที่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ หน่วยงานแพทย์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งใน เจ้าภาพจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน เนื่องจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินงานด้านยาสูบมาตลอด โดยเป็นผู้แต่งตั้งสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ที่ทำงานด้านยาสูบ จนได้รับรางวัลจากสมาพันธ์เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพแห่งโลก (WHPA) เมื่อปี 2558 และยังเป็นผู้ผลักดันกฎหมาย ต้านบุหรี่ฉบับแรก พ.ศ. 2517 จนถึงกฎหมายต้านบุหรี่ฉบับปัจจุบัน นับรวมเป็นระยะเวลา 40-50 ปี ที่สำคัญคือในปีนี้ เป็นการครบรอบ 100 ปี แพทยสมาคม- แห่งประเทศไทยฯ จึงมีแนวคิดจัดงานประชุมวิชาการร่วมกับ APACT
"สิ่งที่เราคาดหวังจากการเข้าร่วม APACT 2021 ในครั้งนี้ คือการสร้างเครือข่ายแพทยสมาคมที่มีอยู่ใน แต่ละประเทศเอเชีย-แปซิฟิกให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และร่วมดำเนินงานขยายเครือข่ายสมาชิกแพทยสมาคมในแต่ละประเทศ ให้กลายเป็นกำลังช่วยขับเลื่อนการกระตุ้นให้ประชาชน ลด งด และเลิกสูบบุหรี่ โดยมีแพทยสมาคมของประเทศนั้นๆ เป็น โหนดนำ และส่งไม้ต่องานต้านบุหรี่ให้กลุ่มเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของเรื่องนี้ต่อไป รวมถึงการนำองค์ความรู้ถึงพิษภัยบุหรี่ที่ได้ แลกเปลี่ยนกันภายในงานประชุมไปปฏิบัติในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยของหลายๆ ประเทศ ที่ว่าด้วยผลร้ายของนิโคตินในบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า สามารถทำลายเนื้ อเยื่อปอด ซึ่งเกี่ยวพันกับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ที่จะทำให้อาการป่วยทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถเพิ่มปริมาณและความเข้มข้นของนิโคติน ได้ไม่จำกัด" อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ระบุ
ขณะที่ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ รองเลขาธิการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือระดับอาเซียนในการรณรงค์ต้านยาสูบที่จะเกิดขึ้นในการประชุม 13th APACT 2021 Bangkok ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา คือการจับมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 30 สถาบัน ซึ่งเป็นเครือข่าย ASEAN University Network - Health Promotion Network ที่สร้างกรอบในการพัฒนามหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ และยกประเด็นบุหรี่เป็นเรื่องสำคัญในลักษณะ Zero Tolerance คือไม่ให้มีบุหรี่ทั้งการสูบ การขาย ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัย ทั้งหมดในทุกระดับ ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ พนักงาน มหาวิทยาลัย และนิสิตนักศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาสามารถขยายผลการ ดำเนินงานดังกล่าวสู่นโยบายระดับชาติ เช่น พื้นที่ปลอดบุหรี่ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดิล ได้ขยายผลไปสู่ทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย และไปสู่พื้นที่สาธารณทั่วประเทศ นอกจากนี้จะมีการจัดเรตติงของมหาวิทยาลัย ว่าพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ โดยมีบุหรี่เป็นปัจจัยในการจัดอันดับด้วย พร้อมกับทำข้อตกลงไม่รับ ทุนวิจัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจากบริษัทผู้ผลิตยาสูบ หรือบริษัทที่แฝงมากับบริษัทยาสูบในทุกกรณี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit