กว่าหนึ่งในสามของผู้ป่วยโรคลูปัสที่ตอบแบบสำรวจ ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด -19 ได้ก่อนคนทั่วไป
ผู้ป่วยโรคลูปัส (โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเอสแอลอี) มากกว่า 6,100 คนจากกว่า 85 ประเทศร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมุมมองที่มีต่อวัคซีนโควิด-19 ในการสำรวจระดับโลกล่าสุด ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่ง (50%) ของผู้เข้าร่วมการสำรวจได้รายงานการเข้าถึงการดูแลรักษาโรคลูปัสลดลงอย่างน้อยหนึ่งด้านในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยการเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางด้านโรคลูปัส/แพทย์เฉพาะทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม (36%) การตรวจทางการแพทย์ (29%) การให้ยาทางหลอดเลือดสำหรับรักษาโรคลูปัส (24%) และยารักษาโรคลูปัส (17%)
การสำรวจระหว่างประเทศที่จัดทำโดยสมาพันธ์ลูปัสโลก (World Lupus Federation) ทำให้เห็นภาพรวมเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคลูปัสได้รับผลกระทบที่แตกต่างออกไปจากคนกลุ่มอื่นๆ ในระหว่างการระบาดของโควิด -19 การสำรวจยังพบด้วยว่า 10% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทั่วโลก นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามที่รายงานการเข้าถึงการรักษาพยาบาลโรคลูปัสลดลง ยังมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส ซึ่งรวมถึงโรคกำเริบ และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
"ผู้ป่วยโรคลูปัสทั่วโลกยังคงประสบกับอุปสรรคสำคัญ และผลที่ตามมาคือผลเสียต่อสุขภาพที่ร้ายแรงอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 โดยมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดความท้าทายในการเข้าถึงการดูแลและการรักษา ซึ่งรวมถึงความกลัวที่จะไปพบแพทย์ เนื่องจากเกรงว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19" Paul Howard ซีอีโอของ LUPUS UK กล่าว "การเข้าถึงการดูแลเฉพาะทางและยาที่จำเป็นนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคลูปัส หากไม่มียาหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา ผู้ป่วยอาจได้รับผลเสียด้านสุขภาพ และอาจถึงกับต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล"
นอกจากประเด็นสำคัญในเรื่องการเข้าถึงการดูแลแล้ว การสำรวจยังพบด้วยว่าผู้ป่วยโรคลูปัสเผชิญความท้าทายที่ไม่เหมือนกับคนกลุ่มอื่นในประเด็นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่าหนึ่งในสาม (35%) ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ก่อนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ของตน ถึงแม้ว่าโรคลูปัสจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงกว่า หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากผลกระทบของการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคลูปัส
สามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถาม (75%) แสดงความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน (68%) และความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับโรคลูปัส และ/หรือยารักษาโรคลูปัส (61%)
"ขอแนะนำอย่างยิ่งให้ผู้ป่วยโรคลูปัสเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่มีข้อควรพิจารณาที่ต้องคำนึงถึง" Karen H. Costenbader, MD, MPH ผู้อำนวยการ Lupus Program โรงพยาบาล Brigham and Women's Hospital ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา กล่าว "ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลูปัสควรปรึกษาแพทย์เรื่องแผนการฉีดวัคซีน เพื่อดูว่ารูปแบบการรักษาในปัจจุบันของพวกเขาส่งผลต่อการตอบสนองของวัคซีนหรือไม่ อย่างไร และเพื่อตัดสินใจเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนพิเศษที่ผู้ป่วยโรคลูปัสต้องดำเนินการในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ เช่นเดียวกับเราทุกคนที่ต้องพยายาม 'กลับสู่สภาวะปกติ' ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้"
คลิกที่นี่ (https://worldlupusday.files.wordpress.com/2021/04/wlf-covid-survey-topline-summary_final.pdf) เพื่อดูสรุปสาระสำคัญและผลการสำรวจโดยละเอียด และร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคลูปัส เนื่องในวันลูปัสโลก (World Lupus Day) วันที่ 10 พฤษภาคม
เกี่ยวกับสมาพันธ์ลูปัสโลก
สมาพันธ์ลูปัสโลก (World Lupus Federation : WLF) เป็นการรวมตัวกันขององค์กรผู้ป่วยโรคลูปัสเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ สมาพันธ์ดำเนินงานเพื่อขยายโครงการระดับโลกที่สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลูปัสมากขึ้น ให้ความรู้และบริการต่างๆ แก่ผู้ที่เป็นโรคนี้ ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ป่วยโรคลูปัส ผ่านการประสานงานกันระหว่างองค์กรในเครือ
ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชนMike Donnelly
สมาพันธ์ลูปัสแห่งอเมริกา
อีเมล: [email protected]
โทร. (202) 349-1162
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1488983/World_Lupus_Federation_Logo.jpg
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ หรือกังวลเรื่องต่อมลูกหมากโตและนิ่วในไต นี่คือโอกาสดีที่คุณไม่ควรพลาด! โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต" วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 เวลา 12.30 16.30 น. ห้องประชุมชั้น 10 อาคาร 3 โรงพยาบาลรามคำแหง เจาะลึก 4 ประเด็นสุขภาพสำคัญ โดยแพทย์เฉพาะทางถึง 4 ท่าน กับ 4 หัวข้อสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะของตัว
รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ
—
รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...
ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน
—
นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...
5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...
รพ.บางมด ก้าวสู่ รพ.ความงามและการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร Bangmod Aesthetic Hospital ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความงามระดับเอเชีย
—
โรงพยาบาลบางมด โดย นพ.สุรสิทธ...
วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ
—
โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...
โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน
—
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...