การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำสำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดหรือเสียวบริเวณหัวเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย บางรายอาจมีการอักเสบ ข้อบวม ข้อเข่าโก่ง บิดเบี้ยวผิดรูป เหยียดหรืองอเข่าไม่ค่อยได้ อาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานข้อต่อเนื่องยาวนานจนทำให้กระดูกอ่อนและผิวข้อสึกหรอและเสื่อมสภาพที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้และอาจมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันและการเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมทำได้หลายวิธีโดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการและความรุนแรงของโรค หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทก เช่น การนั่งย่องๆ คุกเข่า วิ่ง การขึ้นลงบันได การยกของหนัก หรืออาจรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออกแล้วใส่ข้อใหม่ ซึ่งทำจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถอยู่ได้ 15 - 20 ปี โดยส่วนมากจะมีการใช้ซีเมนต์ยึดระหว่างกระดูกกับตัวข้อเทียม ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แต่แพทย์จะต้องปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้เข่ามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ตำแหน่งของข้อเข่าที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดี

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำร่องพิกัดการผ่า ช่วยจัดตำแหน่งองศาในการวางข้อเข่าให้พอดีกับแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่า โดยระบบคอมพิวเตอร์จะจำลองภาพ 3 มิติของข้อเข่าผู้ป่วยผ่านระบบอินฟราเรด โดยวิธีนี้ผู้ป่วยจะไม่ต้องเข้ารับ X-Ray หรือ CT Scan ภาพที่ได้จะมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าตามจริง ซึ่งช่วยให้แพทย์ได้ทราบตำแหน่งที่จะวางผิวข้อเข่าได้ถูกต้อง ลดการเกิดข้อผิดพลาดหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานข้อเข่าเทียมได้ดี ยืดอายุการใช้งานข้อเข่าเทียมได้นานขึ้น รวมทั้งแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ

นอกจากนี้ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของผู้ชำนาญการด้านกายภาพบำบัด เช่น การหัดเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดินแบบ 4 ขา หรือที่เรียกว่า Walker ฝึกการเหยียดงอข้อเข่า และปฏิบัติตนตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้เข่าของผู้ป่วยแข็งแรง เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดียิ่งขึ้น และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีเหมือนเดิม


ข่าวเปลี่ยนข้อเข่าเทียม+เปลี่ยนข้อเข่าวันนี้

"หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด" เปลี่ยนข้อเข่าเทียม เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

เมื่อข้อเข่าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะมาจากการอักเสบของข้อเข่าหรืออุบัติเหตุ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดขณะเดิน หรือขึ้น-ลงบันได และหากอาการรุนแรงขึ้น อาจปวดแม้ในขณะนั่งหรือนอน การรักษาเบื้องต้นอาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการใช้งานข้อเข่า การใช้ยาลดการอักเสบ หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้าพยุง หากวิธีเหล่านี้ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความปลอดภัย ช่วย

4 ขั้นตอน หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่... 4 ขั้นตอน หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทำงานอย่างไร? — 4 ขั้นตอน หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทำงานอย่างไร? หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข...

อาการปวดข้อสร้างความทุกข์ทรมาน และเป็นอุป... การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะแบบแผลเล็ก Robotic Assisted Total Knee Arthroplasty — อาการปวดข้อสร้างความทุกข์ทรมาน และเป็นอุปสรรคในการด...

ในยุคของ "สังคมผู้สูงวัย" ไม่เพียงแต่จำนว... "ทางเลือกใหม่ของการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วย.. เทคนิคผ่าเปลี่ยนข้อเข่าแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ" — ในยุคของ "สังคมผู้สูงวัย" ไม่เพียงแต่จำนวนผู้สูงวัยที่มากขึ้นเท...

โรงพยาบาลนครธน ย่านพระรามที่ 2 ที่มุ่งให้... โรงพยาบาลนครธน "ผ่าตัดปลอดภัย มั่นใจนครธน" แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายมอบสิทธิพิเศษ ฟรี 5 รายการ — โรงพยาบาลนครธน ย่านพระรามที่ 2 ที่มุ่งให้บริการทางการแพทย์ที่...

เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำสำคัญในการเคลื่อนไหว... การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม — เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำสำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้ป่วยด้วย...

ถ้ากล่าวถึงการผ่าเข่าในผู้สูงอายุที่พบบ่อ... การผ่าตัดข้อเข่า - Chersery Home — ถ้ากล่าวถึงการผ่าเข่าในผู้สูงอายุที่พบบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะมาจากอาการข้อเข่าเสื่อม จากสถิติของกรมการแพทย์.(2561) พบว่า...