ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก

การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Class University) ไม่ได้วัดแต่เพียงการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ทว่าครอบคลุมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการอ้างอิงผลงานวิจัย (Citation) ด้วย

ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเห็นความสำคัญของยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยให้เป็นยุทธศาสตร์แรก เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลมี Frontier Research ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีจุดแข็งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คอยผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งการที่จะผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการจัดหาเครื่องมือ-อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย และเชื่อถือได้ จึงได้มีการปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลางที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และยกระดับเป็น Mahidol University Frontier Research Facility (MU-FRF) ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า MU-FRF เกิดขึ้นจากแนวคิดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มุ่งผลวิจัยที่เป็นเลิศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 3 Health & Wellness เพื่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพและสวัสดิภาพที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะผลักดันงานวิจัยสู่ระดับโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก

การวิจัยจะก้าวหน้า สำเร็จตามเป้าหมาย รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ปลอดภัย จำเป็นต้องมีเทคโนโลยี หรือเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมเป็นพื้นฐาน ซึ่งหน้าที่ของ MU-FRF ก็คือ การส่งมอบเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมกับงานวิจัยที่เป็นพื้นฐานของ SDGsโดยในอนาคตอันใกล้จะมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบด้วยซอฟต์แวร์ที่มีการออกแบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการในเชิงรุก โดยทันทีที่นักวิจัยได้รับอนุมัติทุนวิจัย จะสามารถเลือกจองใช้เครื่องมือผ่านระบบได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำวิจัยได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ได้ผลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ

"เครื่องมือขั้นสูงของมหาวิทยาลัยมีความแม่นยำ และมีความละเอียดสูงมากต่างจากเครื่องมือทั่วไป ซึ่งเครื่องมือยิ่งมีเทคโนโลยีสูง ก็ยิ่งมีราคาสูงตามไปด้วย หากใช้วิจัยได้เฉพาะโครงการเดียวจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งนอกจากแนวคิดด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันแล้ว ต่อไป MU-FRF จะมุ่งมั่นเป็นศูนย์ให้บริการเครื่องมือขั้นสูงในระดับโลก เพื่อการวิจัยที่เป็นเลิศของประเทศในอนาคต" ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดลมี+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลส่งต่อแนวคิดฝึกทักษะนศ.พยาบาลจากสถานการณ์จำลอง อบรมประเทศเพื่อนบ้าน

อุปกรณ์ไม่สำคัญเท่าวิธีการใช้ ในนาทีฉุกเฉินแม้พร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัย หากขาดทักษะ อาจเป็นการสร้างวิกฤติมากกว่าโอกาส อาจารย์นัยนา แขดกิ่ง อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้บัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่น คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้น "การฝึกทักษะ" ซึ่งจำเป็นต่อทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ เนื่องจากอาจหมายถึงการต้องสูญเสียเมื่อทำด้วยความไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 นาทีแรกของการคลอด ที่ชีวิตของมารดา

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนช... ม.มหิดล ระดมทีมสหสาขาวิชา มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และบริการสุขภาพช่องปากชุมชน — มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนชุมชน ซึ่งการให้ความสำคัญแต่เพียงการจ...

จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าส... ม.มหิดล ได้อันดับ 44 ของเอเชีย จากการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2021 — จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าสุดของ QS Asia University Rankin...

การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Cla... ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก — การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Class University) ไม่ได้วัดแต่เพียงการตีพิมพ์ผลงา...

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศา... ม.มหิดล มุ่งมั่นสานต่อยุทธศาสตร์สู่วิถีใหม่ สนองตอบนโยบายชาติ สู่ระดับนานาชาติ — นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริย...

ม.มหิดล จัดงาน “51 ปีแห่งวันพระราชทานนาม 132 ปีมหาวิทยาลัยมหิดล” 2 มี.ค.63

มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 132 ปี นับเนื่องตั้งแต่ก่อกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปีพุทธศักราช 2431 และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร...

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๕ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๔...

มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน (พนักงานมหาวิทยาลัย) ในสำนักงานอธิการบดี

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ (หัวหน้างานประชาสัมพันธ์) กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี จำนวน ๑ อัตรา...

โอกาสดี ๆ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายและผู้สนใจศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีโครงการดี ๆ ในการเพิ่มพูนทักษะ (ติว) ภาษาอังกฤษ และทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ เพียงท่านมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.00 ขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่านสามารถนำผลการสอบมาใช้...

ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๙ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ...