ม.มหิดล มุ่งมั่นสานต่อยุทธศาสตร์สู่วิถีใหม่ สนองตอบนโยบายชาติ สู่ระดับนานาชาติ

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 256มหาวิทยาลัยมหิดลมี ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ เข้ารับตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล จนเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วนั้น ทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลมีภารกิจสำคัญหลายประการท่ามกลางสถานการณ์ของโลกในยุคศตวรรษที่ 2บรรจง มไหสวริยะ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ การเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา เพื่อก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลก (global citizenship)

ม.มหิดล มุ่งมั่นสานต่อยุทธศาสตร์สู่วิถีใหม่ สนองตอบนโยบายชาติ สู่ระดับนานาชาติ

โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรม Student Mobility เพื่อเตรียมพร้อมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกในทุกมิติ โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยน การศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาต่างชาติ จนนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ และทักษะเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าภายใต้บริบทของวัฒนธรรมที่แตกต่าง

และในช่วงวิกฤติ Covid-19 มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความตระหนักถึงความปลอดภัยของนักศึกษาเป็นลำดับแรก โดยได้กำหนดให้นักศึกษาและบุคลากรต่างชาติที่จะเข้ามาเรียนและทำงานในมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ไปเรียนและทำงานที่ต่างประเทศและต้องการกลับเข้ามาที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะต้องมีหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย (COE) จากสถานทูต พร้อมทั้งกำหนดให้กักโรค 14 วัน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่สู่ระบบออนไลน์ ซึ่งพยายามพัฒนาระบบให้มีคุณภาพเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยมหิดลจะจัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ซึ่งจัดการศึกษาตามความสนใจและความสะดวกของผู้เรียน โดยสนองต่อความต้องการจ้างงานในยุคศตวรรษที่ 21 นำร่องในระดับปริญญาตรีโดยวิทยาลัยนานาชาติ (MUIC) จำนวน 16 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด การเงิน เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ธุรกิจระหว่างประเทศ) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก วัฒนธรรมนานาชาติศึกษาและภาษา) นิเทศศาสตรบัณฑิต (สื่อและการสื่อสาร) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (การออกแบบนิเทศศิลป์) และการจัดการบัณฑิต (ผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อนาคตของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อจากนี้ไป ขึ้นอยู่กับชาวมหาวิทยาลัยมหิดลทุกคน แม้มหาวิทยาลัยมหิดลจะประกอบด้วย 6 วิทยาเขต ได้แก่ ศาลายา บางกอกน้อย พญาไท กาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังคงเป็น “We Mahidol” หรือ “มหิดลเดียวกัน” ด้วยความตระหนักในความเป็นหนึ่งเดียว (Unity) ซึ่งจะสามารถทำให้ผ่านพ้นวิกฤติใดๆ ที่เกิดขึ้นได้

"แม้จะต้องมีการปรับตัวสู่วิถีใหม่ (New Normal) มหาวิทยาลัยมหิดลก็ยังคงมีการจัดการทางกายภาพที่ยังคงความเป็นผู้นำด้าน "มหาวิทยาลัยสีเขียว" อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียงส่วนหนึ่งจากรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่ต้องสร้างและจัดหารายได้ขึ้นเอง จึงมีความตระหนักอย่างยิ่งถึงข้อจำกัดทางทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากภาวะวิกฤติ Covid-19 ทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีการบริหารจัดการที่เน้นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้งตามพระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก"

"เช่นเดียวกับการที่เราจะสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่าและเกิดผลกระทบ (impact) ต่อประเทศชาติ ตลอดจนสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ จำเป็นต้องมีการร่วมระดมสมอง เพื่อดึงเอาศักยภาพและร่วมใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นความหวังที่คอยเสริมพลังประเทศชาติให้สามารถกลับฟื้นคืนมาอีกครั้งหลังวิกฤติ โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นฐานแห่งองค์ความรู้ที่มั่นคงและยั่งยืน" ศาสตราจารย์นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวให้ความเชื่อมั่นทิ้งท้าย


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดลมี+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลส่งต่อแนวคิดฝึกทักษะนศ.พยาบาลจากสถานการณ์จำลอง อบรมประเทศเพื่อนบ้าน

อุปกรณ์ไม่สำคัญเท่าวิธีการใช้ ในนาทีฉุกเฉินแม้พร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัย หากขาดทักษะ อาจเป็นการสร้างวิกฤติมากกว่าโอกาส อาจารย์นัยนา แขดกิ่ง อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้บัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่น คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้น "การฝึกทักษะ" ซึ่งจำเป็นต่อทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ เนื่องจากอาจหมายถึงการต้องสูญเสียเมื่อทำด้วยความไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 นาทีแรกของการคลอด ที่ชีวิตของมารดา

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนช... ม.มหิดล ระดมทีมสหสาขาวิชา มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และบริการสุขภาพช่องปากชุมชน — มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนชุมชน ซึ่งการให้ความสำคัญแต่เพียงการจ...

จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าส... ม.มหิดล ได้อันดับ 44 ของเอเชีย จากการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2021 — จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าสุดของ QS Asia University Rankin...

การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Cla... ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก — การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Class University) ไม่ได้วัดแต่เพียงการตีพิมพ์ผลงา...

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศา... ม.มหิดล มุ่งมั่นสานต่อยุทธศาสตร์สู่วิถีใหม่ สนองตอบนโยบายชาติ สู่ระดับนานาชาติ — นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริย...

ม.มหิดล จัดงาน “51 ปีแห่งวันพระราชทานนาม 132 ปีมหาวิทยาลัยมหิดล” 2 มี.ค.63

มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 132 ปี นับเนื่องตั้งแต่ก่อกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปีพุทธศักราช 2431 และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร...

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๕ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๔...

มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน (พนักงานมหาวิทยาลัย) ในสำนักงานอธิการบดี

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ (หัวหน้างานประชาสัมพันธ์) กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี จำนวน ๑ อัตรา...

โอกาสดี ๆ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายและผู้สนใจศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีโครงการดี ๆ ในการเพิ่มพูนทักษะ (ติว) ภาษาอังกฤษ และทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ เพียงท่านมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.00 ขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่านสามารถนำผลการสอบมาใช้...

ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๙ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ...