มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ทุกคนตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่อาจนำไปสู่วงจรกระดูกหักที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ภาวะกระดูกหักที่เกิดขึ้นจากการหกล้มเพียงเล็กน้อยในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นสัญญาณของโรคกระดูกพรุน และเมื่อประสบกับภาวะกระดูกหักซึ่งมักเกิดขึ้นบริเวณข้อมือ กระดูกสันหลัง หรือสะโพก ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะกระดูกหักอีกภายในสองปีข้างหน้า

โรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง ผู้ป่วยจึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักที่ทำให้เจ็บปวดและอ่อนแรง ซึ่งบ่อยครั้งนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพในระยะยาวและการสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง โดยภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อยขณะยืน หรือเพียงแค่ก้มตัวยกถุงใส่ของ ทั้งนี้ ผู้หญิง 1 ใน 2 คน และผู้ชาย 1 ใน 5 คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปทั่วโลก จะได้รับผลกระทบจากภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจก่อให้เกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ความสูงที่หายไปมากกว่า 4 ซม. (ประมาณ 1.5 นิ้ว), การใช้ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ในระยะยาว (หรือ "สเตียรอยด์" เพื่อรักษาอาการอักเสบ), คนในครอบครัวมีประวัติกระดูกสะโพกหัก, การมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ประจำเดือนหมดเร็ว ฯลฯ

ดังนั้น IOF จึงรณรงค์ให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปทำแบบทดสอบความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน (รองรับ 36 ภาษา) ที่เว็บไซต์ https://riskcheck.osteoporosis.foundation และหากพบปัจจัยเสี่ยงก็ควรเข้ารับการประเมินสุขภาพกระดูก ซึ่งอาจรวมถึงการประเมินความเสี่ยงภาวะกระดูกหัก (FRAX) ในระยะ 10 ปี

ศาสตราจารย์ไซรัส คูเปอร์ ประธาน IOF กล่าวว่า

"เนื่องจากภาวะกระดูกหักมีอันตรายร้ายแรงและอาจเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยไปตลอดกาล โดยเฉพาะภาวะกระดูกหักที่สะโพกและกระดูกสันหลัง ผู้ใหญ่ทุกคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปจึงจำเป็นต้องตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน การทดสอบและการรักษาอย่างทันท่วงทีมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความเสี่ยงภาวะกระดูกหักได้ 30-70%"

การจัดการโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถป้องกันความทุกข์ทรมานและการสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองได้ ทั้งนี้ หลังจากเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยราว 40% ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ป่วย 60% ต้องการความช่วยเหลือ และ 33% อาจต้องพึ่งพาผู้อื่นเต็มตัวหรืออยู่ในสถานพยาบาลในปีถัดไปหลังจากกระดูกหัก

การพึ่งพาผู้อื่นเต็มตัวสร้างภาระหนักให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลซึ่งเป็นคนในครอบครัว โดยภาระนี้ตกอยู่กับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษาจากสเปนพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก 77% เป็นผู้หญิง โดย 55% เป็นลูกสาวของผู้ป่วย

ศาสตราจารย์คูเปอร์กล่าวเสริมว่า

"โรคกระดูกพรุนมักถูกละเลย ทั้งที่เป็นภาระหนักของผู้ป่วยและครอบครัว แต่ราว 80% ของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงสุดและมีภาวะกระดูกหักอยู่แล้วกลับไม่ได้รับการรักษา ด้วยเหตุนี้ IOF จึงดำเนินโครงการ Capture the Fracture(R) เพื่อดูแลผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกระดูกหักในโรงพยาบาลทั่วโลก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยกระดูกหักได้รับการประเมินและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักเพิ่มเติมในอนาคต ผู้สูงวัยที่ประสบภาวะกระดูกหักทุกคนควรได้รับการดูแลในลักษณะนี้ เราขอเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขให้ความสำคัญกับสุขภาพกระดูก และรับรองให้มีการดูแลหลังเกิดภาวะกระดูกหักอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้สูงวัยทุกคนที่มีภาวะกระดูกหักต่อเนื่อง นี่คือกุญแจสำคัญในการลดภาระของภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ทั้งสำหรับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมทั่วโลก"

- สามารถดูรูปภาพได้ที่ AP Images (http://www.apimages.com) -

วันสากลโรคกระดูกพรุน หรือ World Osteoporosis Day (WOD) ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี โดยมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อต่อสู้กับโรคกระดูกพรุน รวมทั้งภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนทั่วโลก
www.worldosteoporosisday.org

ผู้สนับสนุนวันสากลโรคกระดูกพรุน ได้แก่ Sunsweet, Sandoz, Amgen, UCB, GSK, Kyowa-Kirin

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ หรือ International Osteoporosis Foundation (IOF) คือองค์กรนอกภาครัฐขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่อุทิศตนเพื่อการป้องกันโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหัก
www.osteoporosis.foundation
www.capturethefracture.org

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
Laura Misteli
อีเมล: [email protected]
โทร: +41-78-857-1777


ข่าวมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ+วันสากลโรคกระดูกพรุนวันนี้

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) รณรงค์ให้ผู้ใหญ่ทุกคนตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่อาจนำไปสู่วงจรกระดูกหักที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะกระดูกหักที่เกิดขึ้นจากการหกล้มเพียงเล็กน้อยในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นสัญญาณของโรคกระดูกพรุน และเมื่อประสบกับภาวะกระดูกหักซึ่งมักเกิดขึ้นบริเวณข้อมือ กระดูกสันหลัง หรือสะโพก ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะกระดูกหักอีกภายในสองปีข้างหน้า โรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง ผู้ป่วยจึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักที่ทำให้เจ็บปวด

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติเตือนอย่าเพิกเฉยต่อสัญญาณบ่งชี้ภาวะกระดูกสันหลังหัก

โรคกระดูกพรุน ซึ่งทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง คือต้นเหตุที่ทำให้หนึ่งในสามของผู้หญิงและหนึ่งในห้าของผู้ชายอายุเกิน 50 ปีทั่วโลกเกิดภาวะกระดูกหัก (รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/767079/IOF_Infographic.jpg)...

“โภชนาการดี” เคล็ดลับเพื่อกระดูกแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์จนชั่วชีวิต

วันสากลโรคกระดูกพรุน (World Osteoporosis Day ) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม เตรียมตอกย้ำถึงความสำคัญของโภชนาการ เพื่อการมีกระดูกที่แข็งแรงตั้งแต่เด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่ วันนี้ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติเผยคนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงว่าผู้ชายก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกหักอันทุกข์ทรมาน ภาวะทุพพลภาพ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่คนทั่วไปยังคงเพิกเฉยกับโรคนี้ ส่วนแพทย์ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเมื่อตรวจสุขภาพคนไข้ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ ...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวเนื่องในโอกาส “วันสากลโรคกระดูกพรุน 20 ตุลาคม”

ด้วยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำ จัดกิจกรรม...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ จัดกิจกรรม “หยุด...ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน” เนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน

ด้วยในวันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ได้จัดให้วันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันสากลโรคกระดูกพรุน” โดยได้วางเป้าหมายวันสากล...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติแนะนำห้าขั้นตอนเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีขึ้น เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก

เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis World) 20 ตุลาคม มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ได้เรียกร้องให้ผู้คนทุกเพศทุกวัยดำเนินการเชิงรุกเพื่อ...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติเผยภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนคุกคามอิสระในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุนคือภัยเงียบสุดอันตรายที่ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง แต่จะแสดงอาการให้เห็นเมื่อกระดูกหักแล้วเท่านั้น (รูปภาพ: http://mma.prnewswire.com/media/582529/Osteoporosis.jpg ) สำหรับผู้สูงอายุ...

รายงานล่าสุดของ IOF เตือนจำนวนผู้ป่วยโรคกระดูกร้าวในเอเชียพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ พบผู้มีภาวะกระดูกร้าวอันเนื่องมาจากโรคกระดูกพรุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนพุ่งขึ้นสูงมาก กลุ่มผู้สูงอายุวัย 70 ปีขึ้นไปมีอัตราการเกิดโรคพุ่งสูงถึง 230% และวัย...

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติชี้ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน และภัยคุกคามจากอาการกระดูกร้าว

ในวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis Day) มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ได้รณรงค์ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการดู...