ม.มหิดล จัดตั้ง MaSHARES Co-working Space@MB ใช้พื้นที่ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างครบวงจร

"พันธมิตร" หรือ "เครือข่าย" เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากแนวคิดที่ว่า "นวัตกรรมไม่สามารถเกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียว" สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จึงได้ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้ง MaSHARES Co-working Space@MB เพื่อใช้พื้นที่ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยได้มีการเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้

ม.มหิดล จัดตั้ง MaSHARES Co-working Space@MB ใช้พื้นที่ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างครบวงจร

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความสำคัญของการมีเครือข่ายว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงานใหญ่ "รู้อะไรไม่สู้รู้จักกัน" การที่มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายที่รู้จักกันจะทำให้งานใหญ่สำเร็จได้ เหมือนกับการที่มหาวิทยาลัยจะทำงานวิจัยออกสู่ภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัยจำเป็นที่จะต้องเข้าใจภาคธุรกิจ และมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นภาคธุรกิจเข้ามาช่วย จึงจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้นวัตกรรมมากที่สุด ซึ่ง MaSHARES Co-working Space จัดตั้งขึ้นตามนโยบาย Entrepreneurial University หรือ มหาวิทยาลัยนวัตกรรม เพื่อส่งเสริม Entrepreneurial Mindset โดยเป็นการ "ร่วม คิดทั้งระบบของการเป็นผู้ประกอบการ" เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่จุดเป้าหมาย ม.มหิดล จัดตั้ง MaSHARES Co-working Space@MB ใช้พื้นที่ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างครบวงจร

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (MB) ถือเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดลในเรื่องของการอ้างอิงผลงานตีพิมพ์ (citation) ของส่วนงานกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีงานวิจัยซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ เช่น การผลิตลูกกุ้งก้ามกราม โดยมีจุดแข็งทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (basic science) และประยุกต์ (applied science) มีงานวิจัยส่วนใหญ่ที่เป็น Deep Tech ซึ่งพร้อมต่อการพัฒนาประเทศในระดับอุตสาหกรรมภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (MB) ผู้มีวิสัยทัศน์และบทบาทสำคัญในส่งเสริมบุคลากรของสถาบันฯ ให้ทำงานวิจัยที่สามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่มี impact ต่อมวลมนุษยชาติ และเศรษฐกิจมากมาย ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (MB) มีผลงานนวัตกรรมสร้างชื่อในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบเจอี และวิจัยใช้สารชีวโมเลกุลเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้งโดยไม่ต้องทรมานสัตว์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฯลฯ ม.มหิดล จัดตั้ง MaSHARES Co-working Space@MB ใช้พื้นที่ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างครบวงจร

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ กล่าวว่า MaSHARES Co-working Space@MB ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์ต่อยอดนวัตกรรม ล้อมรอบด้วยพันธมิตรที่ครบวงจร ตั้งแต่ผู้สร้างองค์ความรู้ เช่น สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) โรงงานผลิตยา หน่วยบริการเครื่องมือกลาง (Mahidol University–Frontier Research Facility หรือ MU–FRF) และผู้เชื่อมต่อภาคธุรกิจอันเป็นบทบาทสำคัญของ MaSHARES Co-working Space@MB ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ท่ามกลางระบบนิเวศและบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) กล่าวว่า MaSHARES Co-working Space ถือเป็นหนึ่งในกลไกเชิงโครงสร้างที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลในการส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดเป็นรูปธรรม และเป็นการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมจากการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา โดยเปิดกว้างเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสได้ใช้จินตนาการ ได้ฝึกทักษะต่างๆ ทั้งมิติทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และธุรกิจ นำไปสู่การร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชน เพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้จริง ซึ่ง MaSHARES Co-working Space@MB ไม่ได้เป็นแค่ "Co-working Space" แต่เป็น "Co-maker Space" ที่พร้อมสรรพด้วยเครื่องที่มีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม อาทิ เครื่อง 3D Printer และเครื่อง CNC Laser Cutting เพื่อใช้สำหรับการทำต้นแบบนวัตกรรม ฯลฯ ซึ่ง MaSHARES Co-working Space@MB ถือเป็นสาขาหลัก (headquarter) ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ประกอบด้วยพื้นที่กิจกรรมรวม และห้องประชุมย่อยที่มีหลากหลายขนาด ซึ่งต่อไปทาง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จะขยายโครงการไปร่วมจัดสร้าง MaSHARES Co-working Space ตามวิทยาเขตอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ กาญจนบุรี และนครสวรรค์ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันนวัตกรรมไทยให้สามารถก้าวสู่เวทีโลกได้อย่างภาคภูมิต่อไป

ติดตามข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ FB: iNT.mahidol.ac.th


ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell"

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 (เวลา 09.00-12.00 น.)ณ MaSHARES Co-Working Space สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลหรือทาง FB LIVE ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Highlight Topic - นโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์- การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวปะการัง- นวัตกรรม 'เพอรอฟสไกต์'

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...