สศก. โดยกองทุน FTA ทุ่มงบ 161.79 ล้านบาท ยกระดับผู้เลี้ยงโค ผนึกกรมปศุสัตว์ พัฒนาศักยภาพ และอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย รองรับ TAFTA

10 Jan 2020
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 ว่า คณะกรรมการบริหารกองทุน FTA ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 161.79 ล้านบาท ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อรองรับ FTA เพื่อยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ตั้งแต่การผลิตโคต้นน้ำจนถึงการตลาดเนื้อคุณภาพสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
สศก. โดยกองทุน FTA ทุ่มงบ 161.79 ล้านบาท ยกระดับผู้เลี้ยงโค ผนึกกรมปศุสัตว์ พัฒนาศักยภาพ และอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย รองรับ TAFTA

การอนุมัติเงินกองทุนครั้งนี้ สศก. เล็งเห็นถึงความสำคัญของเตรียมการรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าไทย – ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะสิ้นสุดมาตรการ SSG ภายใต้ความตกลง TAFTA ในวันที่ 1 มกราคม 2564 และคาดว่า จะมีการนำเข้าโคมีชีวิต เนื้อโคแช่แข็ง และเครื่องในโคแช่แข็งจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มากขึ้น อันเป็นผลมาจากที่ราคาถูกกว่าเนื้อโคในประเทศไทย และจะส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่สูง ประกอบกับราคาจำหน่ายโคเนื้อที่ไม่แน่นอน

การให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นการช่วยยกระดับโครงสร้างการผลิตโคเนื้อในประเทศไทยทั้งระบบ รวมถึงเป็นการสนับสนุนการบูรณาการให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในประเทศ สามารถร่วมมือกันในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยตามกรอบแนวทางยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การรักษาตลาดการบริโภคเนื้อโคไทย 2) กระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อและเนื้อโค และ 3) การบริหารจัดการพืชอาหาร และอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อ

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการร่วมกับเครือข่ายโคเนื้อไทย ในการส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกหย่านม โคก่อนขุน และโคขุนที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด โดยร่วมมือภาคเอกชน คือบริษัทพรีเมียมบีฟ จำกัด ในการพัฒนาระบบการซื้อขายโคให้มีมาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรม มีตลาดรองรับที่แน่นอนและมีการประกันราคารับซื้อไม่ต่ำกว่าท้องตลาด นอกจากนี้ ยังมีการบริหารระบบโลจิสติกส์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายการผลิตตลอดห่วงโซ่ สามารถผลิตโคขุนคุณภาพดีรองรับความต้องการของตลาด 250 ตัว/เดือน หรือ 3,000 ตัว/ปี มี Central Feedlot ที่ได้รับมาตรฐาน GAP FMD Free ซึ่งสามารถใช้เป็น ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (Learning Center) สำหรับเกษตรกรได้เข้ามาศึกษาและต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าว จะสามารถทดแทนการนำเข้าสินค้าโคได้อย่างน้อย 150 ล้านบาท/ปี

สศก. โดยกองทุน FTA ทุ่มงบ 161.79 ล้านบาท ยกระดับผู้เลี้ยงโค ผนึกกรมปศุสัตว์ พัฒนาศักยภาพ และอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย รองรับ TAFTA สศก. โดยกองทุน FTA ทุ่มงบ 161.79 ล้านบาท ยกระดับผู้เลี้ยงโค ผนึกกรมปศุสัตว์ พัฒนาศักยภาพ และอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย รองรับ TAFTA สศก. โดยกองทุน FTA ทุ่มงบ 161.79 ล้านบาท ยกระดับผู้เลี้ยงโค ผนึกกรมปศุสัตว์ พัฒนาศักยภาพ และอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย รองรับ TAFTA