'สงขลาเฮอริเทจ’ รูปแบบใหม่ของบริษัทพัฒนาเมืองเก่า

19 Dec 2019
สถาบันอาศรมศิลป์ เปิดตัวบริษัท สงขลาเฮอริเทจ บริษัทพัฒนาเมืองในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม ที่นอกจากจะหน้าที่ซ่อมแซมและบูรณาอาคารเก่าแล้ว ยังมีรูปแบบการบริหารจัดการที่ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ของเมืองเก่าสงขลา ให้คงอยู่ต่อไป
'สงขลาเฮอริเทจ’ รูปแบบใหม่ของบริษัทพัฒนาเมืองเก่า

เมืองเก่าสงขลา เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในฐานะเมืองท่าและศูนย์กลางการเดินทางทางทะเล โดยการอยู่ร่วมกันของคนหลายชาติพันธุ์หลากหลายของวัฒนธรรม ได้สร้างวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่มีเอกลักษณ์ คือ "สามหลักผสานเกลียวเป็นหนึ่งเดียวในบ่อยาง" (ย่านเมืองเก่าสงขลาอยู่ใน ต.บ่อยาง) เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน แต่การจะรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมคงอยู่ต่อไปนั้น จะต้องมีกลไกที่ช่วยสร้างความเจ้าของกับคนเมืองเก่าสงขลา ซี่งหนึ่งในนั้นคือ ซึ่งหนึ่งในกลไกที่ได้จากงานวิจัยเชิงพื้นที่ของสถาบันอาศรมศิลป์ก็คือ บริษัท "สงขลาเฮอริเทจ"

"สงขลาเฮอริเทจ เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัย 'โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างพลังของท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสริมสร้างคุณค่า "เมืองเก่าสงขลา" ให้เข้มแข็งสู่การเป็นมรดกโลก' ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560-5261) และระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-ปัจจุบัน) ของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่ต้องการยกระดับจากการมีคณะกรรมการชุมชนเก้าห้อง-หนองจิก ที่เกิดขึ้นในการดำเนินโคงการระยะที่ 1 สู่ธุรกิจที่มุ่งสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ที่ดำเนินการในลักษณะของผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprise - SE)" อาจารย์ภัทร ยืนยง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยด้านศิลปศาสตร์ สถาบันอาศรมศิปล์ให้ข้อมูลถึงจุดเริ่มต้นของบริษัทแห่งนี้

สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับตัวบริษัทนั้น อาจารย์ภัทร ให้ข้อมูลว่า เราไม่เน้นคววามเป็นเจ้าของในตัวบริษัท แต่เน้นความเป็นเจ้าของในกิจกรรมที่บริษัทเข้าไปดำเนินการในเมืองเก่าสงชลา จึงกำหนดให้คนในชุมชนสามารถเข้ามาร่วมลงทุนหรือถือหุ้นใน "แผนธุรกิจ"

"การที่งานของบริษัทจะดำเนินการในพื้นที่เมืองเก่า การให้เขามามีส่วนลงทุนร่วมในแผนธุรกิจต่างๆ จะทำให้เกิดการกระจายหุ้นไปสู่คนในชุมชนได้มากกว่าการเป็นหุ้นส่วนในบริษัท เช่น ภายใต้แผนธุรกิจเพื่อการซ่อมแซมอาคารที่เก่าที่บริษัทจะร่วมลงทุนในการซ่อมแซมก่อนเข้าไปดำเนินการสร้างรายได้จากการให้เช่าหรือทำธุรกิจที่เหมาะสม นอกจากเราจะให้เจ้าของอาคารมาถือหุ้นแล้วเรายังเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมาลงทุนเป็นผู้ร่วมถือหุ้นในแผนแหล่านี้ได้อีกด้วย เพราะเราเชื่อว่าการระดมทุนกันคนละเล็กละน้อย คือการแสดงความมีส่วนร่วม แสดงการรับผิดชอบร่วมกันของคนในชุมชน ที่ช่วยกันรักษาคุณค่าของชุมชนตนเองไว้" อาจารย์ภัทร ยืนยง กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ด้วยรูปแบบที่ชัดเจน ทั้งเรื่องการบริหารจัดการ และแนวทางการดำเนินงานที่จะสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ผ่านการลงทุนในแผนธุรกิจที่น่าสนใจ ทำให้หนึ่งในนักวิจัยภายใต้ชุดโครงการวิจัยนี้ มองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการตั้งบริษัทนี้ให้เกิดขึ้น

"การได้มาร่วมทำงานวิจัย ทำให้ตนเองมีความเข้าใจและมั่นใจในรูปแบบและแนวทางดำเนินการของบริษัทที่วางไว้ เพราะนอกจากความเป็นไปได้แล้วในเชิงธุรกิจแล้ว ยังสร้างประโยชน์กับชุมชนได้จริง ซึ่งหลังจากนำความคิดนี้ไปปรึกษากับผู้ใหญ่หลายท่าน ทั้งอาจารย์และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ จึงดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นบริษัทเมื่อเดือนที่ผ่านมา" นส.ดวงใจ นันทวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ ที่ปัจจุบันเป็นผู้จัดการบริษัท สงขลาเฮอริเทจ กล่าวถึงที่มาของบริษัท

สำหรับการทำงานของบริษัทนั้น นอกจากงานด้านการซ่อมแซมอาคารของประชาชนทั่วไปแล้ว บริษัทยังมองถึงการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดเป็นรายได้ ทั้งการพัฒนาผลิตใหม่ๆ การเชื่อมโยงกับโรงเรียนเพื่อสร้างงกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวที่ให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วม รวมถึงอาคารที่เป็นคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชนอีกด้วย

"ตอนนี้เราได้เข้าไปพูดคุยกับทางสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา เกี่ยวกับการการบูรณะและซ่อมแซมศาลปุณเถ้ากงในชุมชนหนองจิก ซึ่งเป็นศาลเจ้าเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ที่คนไทยเชื้อสายจีนในสงขลาเชื่อถือและกราบไหว้ อีกงานหนึ่งคือการเข้าไปช่วยออกแบบพิพิธภัณฑ์ให้กับชุมชนบ้านบน ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา"

สำหรับมุมมองของคนในชุมชนต่อการเกิดขึ้นของบริษัทนั้น ดร.ชำนาญ พูลสวัสด์ ในฐานะคนในชุมชนที่ร่วมในกระบวนการวิจัยมาตั้งแต่ต้น กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเองและคนในชุมชนโดยเฉพาะคนรุ่นเก่าๆ ก็มีการร่วมมือเก็บรักษาและสืบทอดมรดกทางสถาปัตยกรรมรวมถึงวัฒนธรรมประเพณีอยู่แล้ว เพียงแต่ทำได้ไม่เต็มที่เพราะภาระรับผิดชอบของแต่ละคน ดังนั้น รูปแบบบริษัท Social Enterprise ที่กำหนดให้ชุมชนร่วมลงทุนผ่านแผนธุรกิจ จึงได้รับเสียงตอบรับจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี

"รูปแบบนี้ทำให้เราสามารถเลือกลงทุนได้ในเวลาที่เราพร้อม และตัวหุ้นในแต่ละแผนก็แตกต่างกันทั้งหุ้นหลักร้อย และหลักพัน แถมยังมีการแนวทางให้มีคนเข้ามาร่วมถือหุ้นให้มาก ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและทำให้บริษัทแห่งนี้ เป็นบริษัทของคนเมืองเก่าสงขลาทุกคนได้จริง"

ด้านนายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ที่ให้เกียรติมาร่วมในงานเปิดตัวบริษัทฯ กล่าวว่า สิ่งที่คนในชุมชนได้แสดงให้เห็นในวันนี้คือ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนด้วยความสมัครใจและพร้อมเพรียง เพื่อทำให้ให้บ้านและชุมชนของตนเองดีขึ้น

"นี่คือการระเบิดจากข้างในของคนเมืองเก่าสงขลา ที่แสดงว่าวันนี้ทุกคนสามารถยืนบนขาตนเองได้ โดยไม่หวังพึ่งภาครัฐ ซึ่งบริษัท ฯ แห่งนี้จะเป็นอีกหน่วยหนึ่ง ที่เข้ามาเติมเต็มตรงนี้ให้ชุมชนได้ เพราะเป็น Social Enterprise ที่มีการคืนกำไรสู่สังคม โดยทางจังหวัดและเทศบาล ก็พร้อมให้การสนับสนุน"

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ในฐานะอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกสว. กล่าวว่า การเกิดขึ้นของบริษัท สงขลาเฮอริเทจ คือสิ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมางานวิจัยเชิงพื้นที่ มักจะขาดกลไกเข้าทำให้เกิดการการขับเคลื่อนต่อในระยะยาว ทำให้พลังในการทำงานจะลดงลงเมื่อสิ้นสุดงานวิจัย แต่การที่โครงการวิจัยนี้สามารถสร้างความร่วมมือในระดับพื้นที่ผ่ากการ 'สร้างคุณค่า' 'สร้างมูลค่า' และ 'สร้างแรงบันดาลใจ จนเกิดสร้างแนวทางที่ชัดเจน และสามารถต่อยอดเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ

HTML::image( HTML::image( HTML::image(