กรมส่งเสริมการเกษตรกำชับเจ้าหน้าที่ทุกระดับเร่งติดตามแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตรอย่างเร่งด่วน พร้อมตั้ง WARROOM เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด สร้างการรับรู้ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ รวมทั้งการปฏิบัติดูแลรักษาพืช โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 พื้นที่อาจได้รับผลกระทบทวีความรุนแรงขึ้น
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ในสังกัดผ่าน VDO Conference ประกอบด้วย สำนัก/กองต่างๆ ในส่วนกลาง สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 6 เขต และสำนักงานเกษตรจังหวัด กำชับให้เร่งติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างเข้มข้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งคาดการณ์ว่าสถานการณ์อาจทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากฤดูฝนที่ผ่านมามีฝนตกน้อยกว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละ 12 จึงทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อย ประกอบกับปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มี.ค. 2563) ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีเพียงร้อยละ 55 ซึ่งเป็นน้ำใช้การได้เพียงร้อยละ 22 ทำให้พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูกไม้ผลนอกเขตชลประทานมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำใน 30 จังหวัด พื้นที่ประมาณ 3.7 แสนไร่ รวมถึงพื้นที่การเกษตรอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบให้เกิดความเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2563 จึงต้องมีการติดตามเฝ้าระวังในการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตรเห็นควรจัดตั้งศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรขึ้น ทั้งในระดับกรม เขต และจังหวัด เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง การสร้างการรับรู้ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ รวมทั้งการปฏิบัติดูแลรักษาพืชอย่างถูกวิธี การเฝ้าระวังและรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและสรุปผลการรายงาน เพื่อแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน โดยโครงสร้างของศูนย์ฯ จะมีผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เป็นที่ปรึกษา คณะทำงานศูนย์ฯ ประกอบด้วย ผู้บริหารแต่ละระดับเป็นประธานคณะทำงาน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน เป็นคณะทำงาน มีอำนาจหน้าที่ คือ 1. ติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศ สถานการณ์น้ำ ผลกระทบและความเสียหายด้านเกษตร) 2. รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปรายงานสถานการณ์การเพาะปลูก และรายงานกรมฯ รับทราบ 3. รายงานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังพื้นที่ไม้ผล 4. จัดทำคำแนะนำ และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป และ 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำชับให้ทุกจังหวัดรวบรวมและรายงานข้อมูล พร้อมแจ้งแผนการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดขึ้นให้กรมส่งเสริมการเกษตรทุกวันพฤหัสบดี ตามแบบฟอร์มที่กำหนด เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่อไป
รองอธิบดีฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมฯ ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งมาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งการติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศ น้ำ การแจ้งเตือนภัยสถานการณ์ให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมสำรองแหล่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูก การจัดทำข้อมูลสถานการณ์พื้นที่เพาะปลูก/พื้นที่เสียหายผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต.) ของกรมฯ การให้บริการปรับปรุง/ขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน การออกมาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง 8 มาตรการของกรมฯ ได้แก่ การเฝ้าระวังน้ำเค็มรุกพื้นที่สวน, รณรงค์ประชาสัมพันธ์ “เกษตรร่วมใจรับมือภัยแล้ง ปี 2563”, ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย, การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา, ส่งเสริมปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง, บูรณาการความร่วมมือในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้แก่เกษตรกร, การจัดกิจกรรมงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
นอกจากนี้ ยังได้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้โดยให้ข้อมูล/ความรู้/ข้อปฏิบัติ/คำแนะนำในการดูแลรักษาผลผลิตและชนิดพืชที่เกษตรกรเพาะปลูกตลอดช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำพืชที่เหมาะสม พร้อมขอความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่าผ่านสื่อ/ช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรผ่านกลไก CoO และ OT ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเกษตรกรกรณีประสบภัยพิบัติด้วย
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรม"เกษตร อัจฉริยะ" ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 โดยมี นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายมนัส กำเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นางสมรัก
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยนวัตกรรมการปลูกองุ่นบนพื้นที่สูงสำหรับเกษตรกรสูงอายุ
—
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยนวัตกรรมการปลูกองุ่นบนพื้นที่สูงสำหรับเกษตรกรสูงอายุ ...
รมช.เกษตรลงพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์ สั่งขยายศูนย์ เพิ่มกำลังการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
—
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษต...
กรมส่งเสริมการเกษตร ติวเข้มเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในระดับไร่นา
—
กรมส่งเสริมการเกษตร ติวเข้มเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำ...
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรเตรียมพืชและระบบน้ำรับมือฝนทิ้งช่วง
—
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรเตรียมพืชและระบบน้ำรับมือฝนทิ้งช่วง ชี้ชาวนาควรเลื่อนปลู...
'รมช.ประภัตร’ เปิดศูนย์บริการไก่ชุมชนตราด FC บ้านท่ากุ่ม ปลื้มผลิตอาหารสัตว์ลดต้นทุน 50% พร้อมแจงข้อผ่อนปรนโครงการกู้ล้านละร้อยช่วยเกษตรกร
—
นายประภัตร โพ...
“รมช.ประภัตร” ลุยเมืองจันท์ แก้ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ช่วยชาวสวน
—
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรว...
กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าพัฒนาบุคลากร ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ new normal style
—
กรมส่งเสริมการเกษตร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีประกอบการพัฒน...
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรเตรียมดินปลูก ช่วยลดปัญหาวัชพืช
—
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ก...
กรมส่งเสริมการเกษตร ประยุกต์ใช้พาราฟิลม์แทนพลาสติก เปลี่ยนยอดพันธุ์ดี “อะโวคาโด” ลดโลกร้อน
—
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่า...