เพจดังระบุผู้สูงวัยใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Line เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับญาติมิตร และเข้าใช้งานเป็นประจำ เสี่ยงสูงภัยร้าย
โลกออนไลน์ Fake news ภัยร้ายโลกออนไลน์ คนใกล้ตัวควรให้ความรู้ เพื่อ
ความปลอดภัย ชัวร์ก่อนไลก์ ต้องใช่ก่อนแชร์
นาย
กมลธัญ พรไพศาลวิจิต กรรมการผู้จัดการบริษัท สปอตไลท์ ครีเอชั่น จำกัดและผู้บริหารเพจ Start ให้ Up กล่าวว่า ปัจจุบัน
สื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลข่าวสารแบบเรียลไทม์ จากข้อมูลการใช้งานสื่อออนไลน์ พบว่ามีผู้ใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียมากกว่า 5กมลธัญ พรไพศาลวิจิต ล้านคน และอยู่ในทุกระดับของสังคมไทย โดยเฉพาะ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเข้าใช้งานทุกวัน (Daily active users) มากกว่า โลกออนไลน์7 ล้านคน และในปีที่แล้วคนไทยมีการใส่ข้อความลงในสื่อโซเชียลมีเดียมากกว่า 5.โลกออนไลน์ พันล้านข้อความ และเป็นรูปภาพกว่า ความปลอดภัยโลกออนไลน์กมลธัญ พรไพศาลวิจิต ล้านภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยที่เริ่มมีการใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและลูกหลานได้ง่ายขึ้น ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Line, Facebook และ Youtube ตามลำดับ โดย Line ใช้เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับญาติมิตร และมีพฤติกรรมเข้าใช้งานเป็นประจำ ส่วนช่องทาง Facebook จะใช้ในการอ่านข้อมูลข่าวสารและเรื่องทั่วไป ส่วน Youtube มีผู้สูงวัยบางกลุ่มเข้าใช้ Youtube เป็นระยะเวลานานกว่าสื่ออื่น โดยใช้เพื่อการหาความบันเทิง และความรู้ที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ
ทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อ โดยเฉพาะข่าวปลอม หรือ Fake newsโดยในช่วงแรก Fake news จะปรากฎให้เห็นในรูปแบบของการหลอกลวงเพื่อให้เชื่อและซื้อสินค้า แต่ในระยะหลังเริ่มมีการใช้ Fake newsขยายสู่วงกว้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แม้Fake news จะมีมานานควบคู่กับการเติบโตของสื่อโซเชียลมีเดีย ตามที่ปรากฎเห็นในหน้าสื่ออย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุสำคัญของหลายคดีความ ทั้งนี้การห้ามปรามเป็นไปได้ยาก แม้จะมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมและระบุโทษที่ชัดเจน แต่การห้ามปรามก็ดูจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
แม้ปัจจุบันผู้สูงวัยเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรับข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น แต่การแชร์ข่าวปลอมในกลุ่มผู้สูงวัยยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง ทั้งในรูปแบบที่เป็นข่าวเก่า, ข่าวที่ถูกสร้างขึ้น และข่าวที่หลอกให้เชื่อเพื่อจะขายสินค้า ช่องทางการรับข่าวสารจะเป็นลักษณะของการแชร์ต่อ ๆ กันจากกลุ่มสู่กลุ่ม จากเพื่อนสู่เพื่อน ทำให้การคัดกรองข่าวมีน้อยลง เนื่องจากข่าวดังกล่าวมาจากคนใกล้ชิด ทั้งนี้จากงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาที่จัดทำขึ้นในปี ความปลอดภัยกมลธัญ พรไพศาลวิจิตสื่อออนไลน์6 โดย Andrew Guess ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Princeton ร่วมกับ Jonathan Nagler และ Joshua Tucker นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ พบว่าผู้สูงวัยมีโอกาสในการแชร์ข่าวปลอมสูงกว่าคนในช่วงวัยอื่นถึง 7 เท่า แม้จะยังไม่มีการจัดทำสถิติที่น่าเชื่อถือในไทย แต่การระมัดระวังภัยที่มาจากสื่อออนไลน์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความใส่ใจ เพื่อไม่ให้มีใครต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี การให้ความรู้ที่เพียงพอจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อรู้เท่าทันสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ผู้บริหารเพจ Start ให้ Up ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าสื่อโซเชียลมีเดียมีประโยชน์อย่างมาก เป็นเครื่องมือในการทำให้คนใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ขณะเดียวกันก็มีภัยร้ายแฝงอยู่ไม่น้อย ดังนั้นการใช้สื่อโซเชียลมีเดีจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง ทั้งในการกล่าวถึงบุคคลอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การแชร์ข่าว หรือแม้กระทั่งการกด Like ต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันเรามี พรบ. คอมพิวเตอร์ ที่สามารถเอาผิดผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในทางที่ไม่ถูกต้องได้ และที่สำคัญ การแชร์บนความปรารถนาดีของคุณ ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อคนที่คุณรักได้แบบที่คุณไม่คาดคิด ...เช็กให้ใช่ ชัวร์ก่อนไลก์ก่อนแชร์