นอนกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ทราบหรือไม่ว่าอาการนอนกรน ไม่ได้เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนข้างๆ แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับโรคหยุดหายใจขณะหลับได้
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การนอนกรน เกิดจากการที่ช่องคอแคบลงมากกว่าปกติในขณะหลับ ทำให้ลมหายใจเข้า-ออกแรงขึ้น ซึ่งเนื้อเยื่อของผนังคอ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และโคนลิ้นมีการสั่นสะเทือนจนเกิดเสียงดังขึ้น โดยคนที่มีอาการมาก จะพบว่าผนังคอยุบตัวลงจนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ชั่วขณะ หรือเรียกว่า การหยุดหายใจขณะหลับ จากสถิติพบว่า ร้อยละ 20 ของผู้ที่นอนกรนเป็นประจำมักมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก โดยอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ความจำถดถอย การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และยังอาจเกิดภาวะง่วงนอนกลางวันมากกว่าปกติ อาการหลับใน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้"
"อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับในระดับรุนแรงน้อย คือ น้อยกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตจากการหยุดหายใจขณะหลับเฉลี่ยร้อยละ 8 ซึ่งหากหยุดหายใจมากกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-16 และเมื่อเทียบกับคนปกติแล้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงกว่า 2-3 เท่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า 2 เท่า และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 เท่า ดังนั้น หากพบว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักมีอาการนอนกรนเป็นประจำ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และให้ความสำคัญในการหาวิธีป้องกันและรักษาอาการนอนกรนอย่างเหมาะสมต่อไป" ศ. นพ.ชัยรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม
อาจารย์ แพทย์หญิงสุภวรรณ เลาหศิริวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เวชศาสตร์การนอนหลับ กล่าวว่า "สำหรับผู้ที่มีอาการกรน หรือสงสัยว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แนะนำให้ไปพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะมีการซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพการนอนและมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จากนั้นอาจจะมีการให้ตรวจสุขภาพการนอนหลับ ซึ่งปัจจุบันจะมีห้องตรวจพิเศษที่เรียกว่า Sleep Lab ออกแบบเหมือนอยู่บ้านและคนไข้ต้องเข้ามานอนพักหนึ่งคืน ภายในห้องนอนจะมีกล้องวงจรปิดและเครื่องมือติดที่ตัวคนไข้เพื่อตรวจวัดค่าการหยุดหายใจ และระดับออกซิเจนขณะหลับ จากนั้นจึงนำค่าทั้งหมดที่ได้มาประมวลว่าคุณมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกแนวทางการรักษาในขั้นถัดไป"
"ซึ่งแนวทางการรักษาก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและชนิดของโรคที่ผู้ป่วยแต่ละคนเป็น โดยในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงต่ำ แพทย์จะแนะนำให้ 1) ปรับนิสัยการนอนก่อน อาทิ การนอนหลับในระยะเวลาที่เพียงพอ คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนและตื่นให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มชา กาแฟ และบุหรี่ ในรายที่มีน้ำหนักเกิน จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วย 2) เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive Airway Pressure Therapy) หรือ CPAP ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศเข้าทางช่องจมูกหรือปาก เพื่อให้ช่องคอและทางเดินหายใจส่วนต้นมีอากาศไหลเวียนได้ในขณะหลับ 3) การใช้เครื่องมือในช่องปาก 4) การผ่าตัด" อ.พญ. สุภวรรณ อธิบายเพิ่มเติม
ด้านนายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เราต้องบอกว่าการนอนถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว จากผลสำรวจด้านการนอนประจำปีของฟิลิปส์ โกลบอล "The Global Pursuit of Better Sleep Health" พบว่า ร้อยละ 44 ของประชากรในวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกยอมรับว่าตัวเองมีการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และประสบปัญหาการหลับกลางวันระหว่างสัปดาห์ ในขณะที่ประชากรส่วนมากนอนหลับเฉลี่ยเพียงแค่ 6.3 ชั่วโมงในช่วงวันทำงาน และ 6.6 ชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งต่ำกว่า 8 ชั่วโมงตามคำแนะนำ จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่เพียงพอ นอกจากนี้ 8 ใน 10 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องการพัฒนาการนอนหลับของตนให้ดีขึ้น และร้อยละ 50 ของผู้ตอบผลสำรวจพบว่าสาเหตุหลักของการนอนที่ไม่มีคุณภาพมาจากความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การง่วงในเวลากลางวัน การไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการนอนส่งผลกระทบทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ เราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมรณรงค์และส่งเสริมการให้ความรู้ประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ พร้อมนำเสนอนวัตกรรมที่ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น"
ด้านคุณมอส-ปฏิภาณ และภรรยา คุณเกม-ดวงพร ปฐวีการณ์ เกี่ยวกับการนอนหลับอย่างไรให้ร่างเป๊ะใจปิ๊ง ว่า "ด้วยความที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ก็จะทำงานค่อนข้างเยอะ ทั้งงานคอนเสิร์ต อีเว้นท์ต่างๆ ทำให้ปกติก็พักผ่อนไม่ค่อยเพียงพออยู่แล้ว พอกลับถึงบ้านมานอนหลับ ตัวผมเองไม่รู้สึก แต่คนข้าง ๆ เขาจะรู้เลยว่าผมนอนกรน ซึ่งมันก็จะไปกระทบการพักผ่อนของเขาด้วย แล้วเวลาที่ตื่นขึ้นมา ก็จะรู้สึกคอแห้ง ช่วงกลางวันก็เริ่มมีอาการง่วงเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม อาจจะส่งผลต่อการทำงาน เพราะเราจะต้องใช้สมาธิมาก เพราะจะเบลอๆ คือตอนนั้นรู้สึกเลยว่าปล่อยเอาไว้คงไม่ดีกับการทำงานแน่นอน ที่สำคัญ เรารู้เลยว่าการนอนนี่ส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพจริงๆ จึงวางแผนที่จะเข้าไปตรวจที่ Sleep Center ด้วย แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมายังไม่มีเวลา เพราะพึ่งจะกลับมาจากการพาน้องโสนและน้องสวรรค์ไปเที่ยว จึงใช้อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ เป็นแบบทดสอบ 8 ข้อ ที่ให้เราสามารถตรวจด้วยตัวเองก่อนได้ว่ามีความเสี่ยงหรืออาการมากน้อยแค่ไหน โดยถ้ามีอาการมาก เท่าที่รู้ก็อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน หรือการผ่าตัด เพื่อลดอาการนอนกรนและให้เราพักผ่อนได้อย่างเพียงพอครับ"
สำหรับผู้ที่สนใจ หรือสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ Philips.com.sg/saveoursleep.
เกี่ยวกับ รอยัล ฟิลิปส์
รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านสุขภาพของผุ้คนให้ดีขึ้น และการเสริมสร้างสุขภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่ความเป็นอยู่ที่ดี การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน ฟิลิปส์ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูง ข้อมูลเชิงลึกทางคลีนิก และความต้องการของผู้บริโภค มาพัฒนาเพื่อส่งมอบโซลูชั่นที่ครบวงจร ฟิลิปส์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยและการรักษาด้วยภาพนำวิถี เครื่องตรวจวัดชีพจรผู้ป่วย และสารสนเทศด้านสุขภาพ รวมถึงนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคและการดูแลรักษาที่บ้าน สำนักงานใหญ่ฟิลิปส์ตั้งอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2557 ฟิลิปส์มียอดขาย 16.8 พันล้านยูโร มีพนักงานประมาณ 70,000 คน และดำเนินธุรกิจในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวฟิลิปส์ได้ที่ www.ฟิลิปส์.com/newscenter
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit