กรมสุขภาพจิต แนะ 10 เคล็ดลับ ช่วยนอนหลับได้ดี

05 Mar 2018
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องในวันนอนหลับโลก (World Sleep Day 2018) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม จากการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านการหลับ จากทั่วโลก เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสาคัญและปัญหาของการหลับ ว่า ประเทศไทย กำหนดจัดงาน ขึ้นระหว่างวันที่ 3 -10 มีนาคม 2561 ภายใต้คำขวัญ "Join the Sleep World, Preserve Your Rhythms to Enjoy Life : หลับเป็นเวลา ตามนาฬิกาชีวิต พิชิตโรคร้าย ร่างกายแข็งแรง" ด้วยความร่วมมือกัน ระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า 45 % ของประชากรโลก เคยมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนอน โดยที่ 35 % จะเป็นอาการนอนไม่หลับ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ จะมีปัญหาขาดงานหรือทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ลดลงในสัดส่วน ที่มากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาถึง 3 เท่า และการนอนไม่เพียงพอยังทำให้ การเรียนรู้ ความจำ และสมาธิในการทำงานต่างๆ ลดลง เมื่อ เทียบกับผู้ที่ไม่มีปัญหาการนอน นอกจากนี้ หากนอนหลับไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลทำให้การทำงานของระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะโรคอ้วน รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า
กรมสุขภาพจิต แนะ 10 เคล็ดลับ ช่วยนอนหลับได้ดี

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะนำ 10 เคล็ดลับช่วยให้นอนหลับ ได้ดี ได้แก่ 1.เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน 2. ถ้านอนกลางวันเป็นประจา ไม่ควรงีบกลางวันเกิน 45 นาที 3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมงก่อนนอนและงดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้าอัดลมประเภทต่างๆ และช็อกโกแลต 6 ชั่วโมงก่อนนอน 5.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก อาหารเผ็ด หรืออาหารหวาน เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมงก่อนนอน ของว่างเบาๆ สามารถรับประทานก่อนนอนได้ 6. ออกกาลังกายสม่ำเสมอ แต่ หลีกเลี่ยงการออกกาลังกายก่อนนอน 7. ใช้เครื่องนอนที่ทำให้หลับสบาย 8.ห้องนอนควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและถ่ายเทอากาศ ได้สะดวก 9. หลีกเลี่ยงเสียงรบกวนทั้งหมดและหลีกเลี่ยงแสงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และ 10.ใช้ห้องนอนเพื่อการนอนและ กิจกรรมทางเพศเท่านั้น อย่าใช้เตียงนอนเป็นที่ทำงานหรือการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งนี้ ประชาชนผู้สนใจ สามารถร่วมเข้าชม นิทรรศการวันนอนหลับโลกได้ที่ อาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 5-9 มี.ค. นี้

ด้าน นพ.วิญญู ชะนะกุล รอง ผอ.กลุ่มภารกิจบริการจิตเวชและสุขภาพจิต สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวเพิ่มเติมว่าการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ไม่เฉพาะในโรคต่างๆ แม้ในคนปกติที่ไม่ได้มีโรคประจาตัวก็สามารถมีอาการนอนไม่หลับได้ อาการ คือ นอนหลับได้ยาก หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ คุณภาพการนอนไม่ค่อยดี ตื่นนอนตอนเช้าไวกว่าปกติ ซึ่งคนปกติทั่วไป สามารถเกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นได้ ประมาณ 1-2 คืนต่อสัปดาห์ เกิดขึ้นได้ในทุก ช่วงอายุ พบมากขึ้นในผู้หญิง และ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สาเหตุหนึ่ง ที่พบได้บ่อย คือ ความวิตกกังวล หรือ ความเครียด และหากมีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่หลับนานกว่า 3 เดือน อาจสัมพันธ์กับสภาวะทางจิตใจ หรือโรคทางจิตเวช จึงควรรีบปรึกษาแพทย์ สาหรับการรักษา มีทั้ง การรักษาสาเหตุที่เกี่ยวข้องโรคทางกาย หรือ โรคทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีอาการ นอนไม่หลับ เช่น การรักษาโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล การรักษาโดยการปรับความคิดและ พฤติกรรม และ การรักษาโดยการใช้ยา เช่น การใช้ยาคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า และยาแก้แพ้

กรมสุขภาพจิต แนะ 10 เคล็ดลับ ช่วยนอนหลับได้ดี
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit