ส่อง 3 เมกะเทรนด์โลก กับ ความเคลื่อนไหวอุตฯ การพิมพ์ที่ยังไม่ตายแต่ปรับตัวรับดีมานด์ตลาด “แพคเกจจิ้ง”

05 Jun 2019
- สมาคมการพิมพ์ไทยสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ร่วมกับ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เตรียมจัด "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" มหกรรมรวมเทคโนโลยีจากทั่วโลก หวังช่วยยกระดับสินค้าอุตสาหกรรม "ปริ้นติ้ง – แพคเกจจิ้ง" ไทย แข่งขันได้ในตลาดโลก
ส่อง 3 เมกะเทรนด์โลก กับ ความเคลื่อนไหวอุตฯ การพิมพ์ที่ยังไม่ตายแต่ปรับตัวรับดีมานด์ตลาด “แพคเกจจิ้ง”

จริงหรือ อุตสาหกรรมการพิมพ์กำลังจะตาย...?

ขณะที่ยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน พร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามามีบทบาทต่อไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้นั่นคือ การชะลอตัวของสิ่งพิมพ์ แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ทั่วโลก แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมการพิมพ์ มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้งานเทคโนโลยีการพิมพ์ จากการผลิตหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และยังมองเห็นการปรับตัวเชิงบวกสำหรับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่วงการอุตสาหกรรมจากทั่วโลก

นางสาวเบียทริซ เจ โฮ ผู้อำนวยการโครงการ "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" โดย เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย (เอ็มดีเอ) กล่าวว่า อุตสาหกรรมการพิมพ์ยังไม่ตาย และยังคงสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล แม้จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจสิ่งพิมพ์อย่างหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร แต่เมื่อพิจารณาห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมแล้ว กลับเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักอย่าง บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องตลอดวงจรการผลิต ซึ่งในระดับมหภาคทั่วโลกแล้ว ยังพบ 3 ปัจจัยสนับสนุน ที่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการพิมพ์เองยังคงสดใส และสนับสนุนให้มีการเติบโตในระยะยาว ได้แก่

1. ดิจิทัลแพคเกจจิ้ง กับโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ดิจิทัลดิสรัปชั่น มีอิทธิพลต่อทุกอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันกระแสดิจิทัลแพคเกจจิ้ง เป็นที่ต้องการใช้งานในตลาดบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก การจะได้มาซึ่งการผลิตดังกล่าว เทคโนโลยีการพิมพ์ที่มีศักยภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญ โดยจากรายงานบทวิเคราะห์แนวโน้มการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับบรรจุภัณฑ์ ของสมิธเธอร์ส ไพร่า (Smithers Pira) พบว่าตลาดบรรจุภัณฑ์ดิจิทัล กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 13% ต่อปี หรือจะมีมูลค่าสูงราว 7.01 แสนล้านบาทไทย (2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในปี 2565 โดยกลุ่มวัสดุที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ กระดาษลูกฟูก บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบไดเรค ทู เชป (Direct-to-shape) และโลหะ สะท้อนโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมต้นน้ำอย่างอุตฯ การพิมพ์ ผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

2. การลงทุนเทคโนโลยีการพิมพ์เพื่อการผลิตรายงานสถานการณ์การลงทุนเทคโนโลยีการพิมพ์ จากงานดรูป้า (Drupa) มหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ด้านโรงงานผู้ผลิตทั่วโลก ให้ความสำคัญกับการลงทุนเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดีมานด์ของตลาดการใช้งาน และเพื่อสร้างศํกยภาพในการผลิตรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2562 อาทิ บรรจุภัณฑ์ (เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทชนิดป้อนแผ่น 27% และเครื่องพิมพ์เฟล็กโซ 25%) โฆษณา (เครื่องพิมพ์พร้อมตัดดิจิทัลโทนเนอร์ 29% และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทหน้ากว้างชนิดพร้อมตัวตัดและม้วน 19%) และการพิมพ์เฉพาะทาง (เครื่องพิมพ์พร้อมตัดดิจิทัลโทนเนอร์ 27% และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทหน้ากว้างชนิดพร้อมตัวตัดและม้วน 23%) ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณการลงทุนในอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่ยังคงสดใส และไม่หยุดนิ่ง

3. เทรนด์สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ หรือฉลากที่สวยงาม แปลกใหม่ ใช้งานง่าย ทนทาน ฯลฯ นวัตกรรม และโซลูชันในการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่โรงงานผู้ประกอบการยังคงให้ความสำคัญ เพื่อตอบโจทย์ตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งระยะเวลาการผลิตไวขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงกระบวนการผลิตแบบใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ โดยช่วงที่ผ่านมาพบว่า การพิมพ์นูนแบบดิจิทัล ได้รับการประยุกต์ใช้ในการพิมพ์ตราฉลากมากขึ้นถึงร้อยละ 11.9 ในปี 2560 ตลอดจนการพิมพ์รูปแบบอื่นๆ ที่ได้รับการนำเข้ามาใช้เพื่อการผลิตยุคใหม่พฤติกรรมการใช้จ่ายออนไลน์ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ยังคงเติบโต โดยไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่ผู้บริโภคต้องได้รับการส่งถึงหน้าประตูบ้านนั้น ล้วนต้องการใช้แพคเกจจิ้งทั้งสิ้น ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน นับว่าเป็นตลาดการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้สูงถึง 42% และคาดว่าจะมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สูงถึง 40% ในปี 2565 ขณะที่ข้อมูลล่าสุด จากสมาคมการพิมพ์ไทย และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ พบว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ไทย ปี 2561 มีมูลค่าร่วม 3 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์ 1.2 แสนล้านบาท การบรรจุภัณฑ์ 1.8 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในตลาดการพิมพ์ และร้อยละ 10 – 20 ในตลาดบรรจุภัณฑ์

อย่างไรก็ดี นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะเป็นข้อท้าทายหนึ่งที่สร้างการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จึงร่วมมือกับสมาคมการพิมพ์ไทย และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย เตรียมจัดงาน "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" มหกรรมจัดแสดงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่รวบรวมมาจากกว่า 300 องค์กร 25 ประเทศชั้นนำทั่วโลก เพื่อเร่งการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ประเทศไทยกำลังมองหา พร้อมจุดเด่นของงานอย่าง บริการจับคู่ และให้คำปรึกษา ระหว่างคู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และอุตสาหกรรมไทยให้เท่าทันโลก สร้างผลลัพธ์การผลิตที่น่าดึงดูด ประหยัดต้นทุน สร้างความยั่งยืนในตลาดโลก ที่มีการแข่งขันในระดับสูงยิ่งขึ้น เบียทริซ กล่าวสรุป

"แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" มีกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 18 – 21 กันยายน 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pack-print.de หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ PackPrintInternational

เกี่ยวกับ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย

บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จำกัด เป็นบริษัทผู้จัดงานแสดงสินค้าภาคธุรกิจอุตสากรรมชั้นนำของโลก เริ่มก่อตั้งศูนย์กลางดำเนินงานในประเทศสิงค์โปรขึ้นในปี 2538 และนับว่าเป็น 1 ในบริษัทผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับชั้นนำ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบริษัทมุ่งเน้นที่จะส่งมอบแพลตฟอร์มงานจัดแสดงสินค้าที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนความรู้ และโอกาสในการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ด้วยความเชี่ยวชาญและกระบวนการที่สร้างสรรค์ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จำกัด สามารถพัฒนาและสร้างธีมเพื่อนำทางสู่โอกาสทางการค้าและการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เกี่ยวกับ "แพ็ค พริ้นอินเตอร์เนชั่นแนล 2562" งาน "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" หรืองานแสดงเทคโนโลยีด้านการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 เกิดจากความร่วมมือของ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย สมาคมการพิมพ์ไทย และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Shaping the future of packaging and printing in Asia" โดยกลุ่มผู้ขับเคลื่อนมหกรรมสินค้าชื่อดังอย่างดรูป้า และอินเตอร์แพค โดยกลุ่มเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ผู้ร่วมงานจะได้พบกับเทคโนโลยี และนวัตกรรม การพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ จากผู้ออกแสดงสินค้าชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 300 แห่ง 25 ประเทศ ในกลุ่มประเทศจากประเทศเยอรมัน ไต้หวัน สิงคโปร์ ไทย จีน รวมถึงแบรนด์ชั้นนำต่างๆ อาทิ HP Heidelberg Konica Minolta Riso Fujifilm Ricoh Bobst KURZ Zund Duplo Sansin Selic Corp PMC เป็นต้น

เพื่อสะท้อนเทรนด์และความเคลื่อนไหวในวงการ แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 แบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ โซนพาวิเลี่ยนครบวงจร โซนการพิมพ์ฉลาก โซนการขนถ่ายวัสดุและระบบอัตโนมัติ และโซนจัดแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งวงเสวนาแลกเปลี่ยนทิศทางความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอด 4 วันของการจัดแสดง ผู้เข้าชมจะได้ติดตามข้อมูลที่น่าสนในวงการการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ อาทิ การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ การพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก การพิมพ์ดิจิทัล การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ การพิมพ์ขนาดใหญ่ บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว และระบบโรโบติกส์ ฯลฯ งานดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 21 กันยายน 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC Bangna) กรุงเทพฯ

HTML::image( HTML::image(