กระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “บัณฑิตพันธุ์ใหม่ราชมงคลล้านนา” ย้ำต้องสร้างยอดฝีมือแรงงานที่เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่ทรงคุณค่า

          รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยมี รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานของ "หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ" ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ได้ร่วมกับ บริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพ สู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศซึ่งเป็นความร่วมมือของสถานศึกษาและสถานประกอบการโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตร ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสำคัญ
          รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า "หัวใจของการศึกษาหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คือ การเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงและได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ จากผู้ที่มีทักษะ ความชำนาญและเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ เทคโนโลยี ทักษะความชำนาญ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ไม่ได้ทำหน้าที่สอนเพียงอย่างเดียวแต่ยังทำหน้าที่ของการเป็น Coach ให้แก่นักศึกษาด้วย สำหรับหลักสูตรการเรียนจะมีการปรับปรุงร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและประสิทธิภาพของผู้เรียนอย่างสูงสุด จากความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายยังจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยอันทรงคุณค่า ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่ได้กลั่นกรองและเรียบเรียงจากการทำงานอย่างแท้จริงและจะสร้างคุณค่าให้สถานประกอบการและมหาวิทยาลัย
          รศ.ศีลศิริ กล่าวว่า โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ของมทร.ล้านนาได้ดำเนินโครงการสองรูปแบบ คือ แบบที่หนึ่ง มีปริญญา เปิดสอน 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต ร่วมกับบริษัท BDI Group หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ร่วมกับ BEtagro หลักสูตรวิศวกรรมอิเลกทรอนิกส์ ร่วมกับ Oon Valley หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ร่วม บริษัท อนัตตา กรีน จำกัด หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ร่วมกับ บริษัท ฟูจิคูระ หลักสูตรวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ร่วมกับ สตาร์โฮลดิ้งกรุ๊ป และบริษัท อาทิตย์จักรกล จำกัด และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบูรณาการ ร่วมกับบริษัท สยามมิชลิน จำกัดและบริษัทอนัตตากรีน จำกัด มีนักศึกษาร่วมโครงการทั้งสิ้น กระทรวงศึกษาธิการวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงศึกษาธิการ คน แบบที่สองโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่แบบไม่มีปริญญา ได้แก่ หลักสูตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท ธนภักดี จำกัด มีนักศึกษาจำนวน ปรีชา สุนทรานันท์วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คน หลักสูตรอิเลกทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเชีย มีนักศึกษา จำนวน ปรีชา สุนทรานันท์วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คน โดยทั้งสองหลักสูตรดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์56กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับหลักสูตรซ่อมอากาศยานและการจัดการบริการภาคพื้นธุรกิจการบิน และหลักสูตรเกษตรอุตสาหกรรม อยู่ในระหว่างดำเนินการ
          ทั้งนี้ มทร.ล้านนาสามารถตอบโจทย์ของโครงการได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชมการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างมทร.ล้านนาและบริษัท ฟูจิคูระ ที่ได้ดำเนินการร่วมกันสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่จนเกิดผลเป็นรูปธรรม รศ.นพ.ปรีชา กล่าวปิดท้าย

กระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “บัณฑิตพันธุ์ใหม่ราชมงคลล้านนา” ย้ำต้องสร้างยอดฝีมือแรงงานที่เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่ทรงคุณค่า
 

ข่าววิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์+กระทรวงศึกษาธิการวันนี้

สจล. รับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง"จากบริษัท เดลต้า ฯ เพื่อให้นักศึกษา นักวิจัยพัฒนาทักษะด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลดกระบัง (สจล.) ได้จัดกิจกรรมรับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง" (Delta Power Electronics Laboratory) จากบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย นำโดย Mr.Jackie Chang, President of Delta Electronic Thailand Public company Limited และตัวแทนจากบริษัท ทั้งนี้ รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกรียงไกร สุขสุด

สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประ... พานาโซนิคเปิดรับสมัครทุนฯ พานาโซนิค ประจำปี 2565 — สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประเทศไทย เปิดรับสมัคร "ทุนพานาโซนิค ปั้นวิศวะ สร้างอนาคต ประ...

ปัจจุบันในฟาร์มโคนมทั่วไป เกษตรกรจะใช้วิธ... นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ — ปัจจุบันในฟาร์มโคนมทั่วไป เกษตรกรจะใช้วิธีการเฝ้าสังเกตอาการเป็นสัดของโค ค...

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาช... ภาพข่าว: ITEL จัดกิจกรรม " ITEL Campus Knowledge Delivery to School " ครั้งที่ 4 — บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL จัดกิจกรรม " ITEL...

นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้... ภาพข่าว: NATEE (นาที) ผนึกกำลังทีมบริหาร เร่งพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ — นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เศรษฐี ไพร์เวท ลิมิเต็ด ...

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซี... การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีลดเวลากระบวนการผลิตในโรงงาน งานวิจัยฝีมือล้วนๆ จากรั้วพระจอมฯ — ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL ผลงา...