นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงความสำเร็จตามแผนบริหารโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาว่า ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และหน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ประสานความร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้
โดยในวันที่ 15 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ปิดระบบรับสมัครเกษตรผู้เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาแล้ว ฯ 127,316 ราย จำนวน 1,083,156 ไร่ สมัครแล้ว 96,730 ราย จำนวน 815,206 ไร่ และมีเกษตรกรแจ้งความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนแล้ว 5 หมื่นราย (ข้อมูล ณ วันที่16 มกราคม 2562)โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) จะไม่มีการนำสินเชื่อค้างชำระของเกษตรกรมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการกู้ยืมเงินกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มดำเนินการตามกระบวนการ ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรและองค์กรต่างๆ สำรวจพื้นที่ วิเคราะห์ ตรวจสอบ คัดเลือก รับสมัคร ถ่ายทอดความรู้ ทั้งด้านการแนะนำพันธุ์ปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ การหว่านไถ การบำรุงดูแลต้นพันธ์ ตั้งแต่เริ่มการเพาะปลูก ไปจนถึงวิธีการเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี ให้ได้คุณภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการปลูกที่ทันสมัย จนถึงขณะนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโครงการ อยู่ในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการจัดงานวันสาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา ขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีกำไร เฉลี่ยเมื่อหักต้นทุนแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 บาทต่อไร่ เมื่อเทียบกับการทำนาปรัง โดยหลังจากหักต้นทุนแล้วจะเหลือกำไรสูงสุดเพียง 600 – 1,000 บาทต่อไร่เท่านั้น
สำหรับการรับซื้อผลผลิตนั้น ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์และภาคเอกชน ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรโดยตรงในทุกอำเภอที่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ มีสหกรณ์การเกษตรสนับสนุนเปิดจุดรับซื้อ 292 จุด และเอกชนอีก 32 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 386 อำเภอ ใน 37 จังหวัด ขณะนี้ ราคาเฉลี่ยของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ความชื้น 14.5 % อยู่ที่ 8.29 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพึงพอใจ ลดทอนตามชั้นคุณภาพและระยะทางอย่างเป็นธรรมแก่เกษตรกร โดยกำหนดมาตรฐานในการรับซื้อเดียวกัน ซึ่งมีตารางหักความชื้นของกระทรวงพาณิชย์เป็นเกณฑ์
จากความสำเร็จในครั้งนี้ จึงถือได้ว่าโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นการปฏิรูปภาคการเกษตรโดยการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต ปรับปรุงขั้นตอนวิธีการทำงานของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผลต่อการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรได้อย่างแท้จริง ก่อให้เกิดอาชีพที่มั่นคง ส่งผลให้ผลผลิตมีความสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เกิดเสถียรภาพในการผลิตสินค้า และลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit