โดยสาเหตุที่ทำให้วงการอุตสาหกรรมการพิมพ์บรรจุภัณฑ์และฉลากจะต้องพึ่งพาการพิมพ์แบบดิจิทัลมากขึ้น เป็นเพราะว่าปัจจุปันเรามีกลุ่มลูกค้า SME มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ SME ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงการเติบโตของดิจิทัลแพลตฟอร์มและระบบ E-commerce ที่ส่งผลทำให้ธุรกิจ SME และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้การพิมพ์แบบอนาล็อกอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้
จุดประสงค์ที่ โคนิก้า มินอลต้า จัดการสัมมนา " Packaging on Demand" ครั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจการพิมพ์ โดยมีเป้าหมาย คือการเป็นพันธมิตรในการส่งเสริมธุรกิจผ่านการนำเสนอเทคโนโลยี อย่างผลิตภัณฑ์ Intelligent Quality Optimizer IQ-501 ที่สามารถปรับความหนาแน่นของสี และตั้งค่าการพิมพ์หน้า – หลังโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถลดความยุ่งยาก ลดข้อจำกัดของการพิมพ์ ลดการสูญเสียกระดาษและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนการทำงานและเพิ่มผลกำไร
นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวในหัวข้อ "Smart Printing Transformation" ว่า ในอดีตอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย เติบโตจากธุรกิจครอบครัว มาเป็น Small and medium Enterprise แต่ด้วยเทรนด์ "Smart Printing Transformation" ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่ Smart and Medium Enterprise จากการดิสรัปชั่น (Disruption) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี อันส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์แทบจะตั้งรับไม่ทัน จากเดิมสื่อสิ่งพิมพ์ กระดาษ ที่เคยจับต้องได้ เปลี่ยนมาอยู่ในรูปของแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ทุกอย่าง จึงส่งผลต่อไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้มองว่าการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่ยุค "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" แต่เป็น "ปลาเร็ว กินปลาช้า"
ดังนั้นการที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมการพิมพ์จะเดินต่อไปได้ ต้อง Transforms ให้ไปในทิศทางเดียวกัน คือ ธุรกิจต้องมียุทธศาสตร์ มีความ Smart มีแผนธุรกิจและการตลาดชัดเจน โดยเฉพาะกลยุทธ์เพื่อรองรับตลาดในยุค "แพจเกจจิ้ง 4.0" ในทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ตามที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองธุรกิจนี้ว่ามีการเติบโตเฉลี่ย 3-5 % จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ในปี 2561 มีประมาณ 4.63 ล้านตัน เติบโตขึ้นกว่า 3.9 % โดยบรรจุภัณฑ์ที่เติบโตมากที่สุดคือ กระดาษ มีประมาณกว่า 48 % บรรจุภัณฑ์พลาสติกประมาณ 23.5 % บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วประมาณ 20 % และโลหะประมาณ 15 % ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยที่ให้อุตสาหกรรมการพิมพ์ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามการปรับตัวของผู้ประกอบการอาจจะต้องมีการลงทุนเรื่องเทคโนโลยี เครื่องจักร แท่นพิมพ์ดิจิทัล เพื่อตอบสนองเรื่อง " Packaging 4.0" เพราะการพิมพ์ดิจิทัลในอนาคตไม่ใช่เพียงแค่ Mass Production แต่จะเป็น Customize Production มีเรื่องของ Packaging และ การตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นว่าในปัจจุบันมีหลายโรงงานนำแผนธุรกิจไปขอการสนับสนุนจาก SME Bank เพื่อ Transforms ธุรกิจใหม่
ผศ.ดร.นุชจรินทร์ เหลืองสะอาด ผู้ดูแลและกำกับ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวในหัวข้อ "Packaging 4.0" ว่า เทรนด์งานพิมพ์ดิจิทัล มาแน่นอน เพราะมีความต้องการ จากการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce จะเห็นว่า ปัจจุบันมีแบรนด์เล็ก ๆ เข้ามาแทรกในตลาด ซึ่งเป็นโอกาสให้เกิดนักธุรกิจหน้าใหม่ เช่นเดียวกัน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ถ้าไปถาม หลายคนบอกว่า อยากขายสินค้าออนไลน์ ขณะที่บางคนบอกว่า อยากเป็น บิวตี้ บล็อกเกอร์ หรือไม่ก็ยึดอาชีพอิสระกันมากขึ้น นักศึกษาบางคนเมื่อจบไปแล้วไปทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง อาทิ ไปทำแบรนด์ทุเรียนทอดขายทางออนไลน์ โดยใช้ความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ที่เรียนมา
ธุรกิจเกิดใหม่เหล่านี้ต้องมีเครื่องพิมพ์ดิจิทัล ในการพิมพ์ฉลากสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเทรนด์บรรจุภัณฑ์จะมองเรื่องวัสดุที่นำมาใช้ สามารถย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาไม่แพง ใช้งานได้สะดวก ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเน้นที่การออกแบบแพจเกจจิ้งดูให้มีคุณค่า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคจะเห็นว่า สินค้าบางแบรนด์ ไม่ได้เป็นแบรนด์ที่โด่งดัง แต่มีการออกแบบฉลากที่ดี มีการนำประวัติศาสตร์มาเล่าเรื่อง ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจ และขายได้
นายบุญรัตน์ เรืองขำ Production Print Business Development บริษัท โคนิก้า มินอลต้า บิสสิเนส โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในหัวข้อ "Packaging on Demand" ว่า ในยุคปัจจุปันที่ผู้ประกอบการแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง จากการลดลงของปริมาณการผลิตสิ่งพิมพ์ และระบบการพิมพ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของ โคนิก้า มิตอลต้า ในการตอบโจทย์ตลาดดิจิทัล ปริ้นติ้ง ทำให้ในปัจจุบัน โคนิก้า มินอลต้า ยังสามารถครองอันดับ 1 และ 2 ของตลาดทั่วโลกได้ ด้วยคุณภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เทคโนโลยีของ IQ-501 ซึ่งสามารถตรวจสอบค่าสีระหว่างการพิมพ์ แบบ real-time ทุก ๆ แผ่น เพื่อช่วยให้งานพิมพ์ของเรามีคุณภาพใกล้เคียงและสม่ำเสมอกัน โดยระบบการทำงานจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการเตรียมงานก่อนการพิมพ์ และส่วนการตรวจสอบการทำงานระหว่างการพิมพ์ ซึ่งปกติต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ แต่ด้วยเทคโนโลยี IQ-501 ที่ภายในประกอบ scanner 2 ชุด และ เครื่อง Spectrophotometer ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Hybrid โดยจะทำงานทั้ง 2 ระบบไปพร้อมกัน ในการทำงานของ IQ-501 นี้ สามารถลดระยะเวลาในการเตรียมเครื่องเพียงกดปุ่ม "Start" จากนั้นเครื่องจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของกระดาษ ค่าสี และปรับแต่งให้เป็นไปตามการตั้งค่าตลอดเวลา ฟังก์ชั่นการใช้งานง่าย ช่วยลดความผิดพลาดในการพิมพ์
นายอุทัย พิริยะเกียรติสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สแควร์ ปริ้นซ์ 93 จำกัด กล่าวในหัวข้อ "ฝ่าวิกฤติธุรกิจพิมพ์ดิจิทัลด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม" ว่า จากประสบการณ์ลงทุนในธุรกิจดิจิทัลปริ้นครั้งแรก เริ่มลงทุนด้วยตัวเล็ก ๆ ก่อน และเริ่มเรียนรู้ทักษะในงานพิมพ์ดิจิทัล สร้างมูลค่างานพิมพ์ ด้วยการทำแพคเกจจิ้ง ออนดีมาน ไม่ว่าจะเป็นถุงช้อปปิ้ง งานที่ยาก ๆ อะไรที่ลูกค้าอยากได้ ต้องทำให้ได้หมด และไม่เคยปฏิเสธงาน ทำให้ลูกค้าบอกต่อ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีพนักงานขาย ขณะเดียวกันเราต้องผลักดันพนักงานของบริษัทให้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพราะธุรกิจสิ่งพิมพ์มีการแข่งขันสูงมาก อย่างไรก็ตาม เมื่องานเราดีแล้ว เราต้องบอกต่อ โดยอาศัย Social Media อาทิ เฟสบุ๊ค อินสตราแกรม ในการนำเสนอผลงานออกไป เพื่อให้โลกรู้ว่าเรามีอะไรดี ถือเป็นการ Transforms ธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจการพิมพ์ของเราอยู่รอดได้ไม่ยาก
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit